ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
A De-Palletizer Robot with Image Recognition
 
โลจิสติกส์ คือภาคอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดไปทั่วโลก อันเป็นผลมาจากการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงห่วงโซ่อุปทานที่คาดว่าจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ฉลาดขึ้น และยั่งยืนมากขึ้นในการรองรับการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกระแสเงินทุนและข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก และเพื่อตอบโจทย์การขยายตัวที่เกิดขึ้นนี้ บริษัทและองค์กรทั้งหลายจึงต้องมองหาหนทางรับมือกับความท้าทายด้านโลจิสติกส์และการขนส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งนี่คือจุดที่เทคโนโลยีของโตชิบาสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้
 
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
 
โตชิบาได้พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ โดยเฉพาะการปฏิบัติงานในคลังสินค้า เช่น การขนถ่ายสินค้า การยกของ และการโหลดสินค้า ด้วยการใช้ประโยชน์จากระบบเซนเซอร์ขั้นสูงสำหรับการรับรู้ภาพ (Image Recognition) แบบจำลองเสมือนจริงสำหรับจำลองสภาวการณ์ที่มีเงื่อนไขซับซ้อน และฟังก์ชันหุ่นยนต์เคลื่อนย้ายของอัตโนมัติ เครือข่ายการบริการของโตชิบาจึงเป็นโซลูชันที่ช่วยลดขั้นตอนที่ต้องใช้แรงงานคนจำนวนมาก และส่งผลให้การทำงานของระบบโลจิสติกส์รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย  
 
หนึ่งในเทคโนโลยีที่โตชิบาพัฒนาขึ้นก็คือ De-Palletizer Robot หรือ หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยจัดการคลังสินค้าตามไซต์งานโลจิสติกส์
 
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
หุ่นยนต์ De-Palletizer
(https://youtu.be/W5wyqakI27U - คลิปนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2562)

เทคโนโลยี Image recognition และหุ่นยนต์อัจฉริยะที่ไม่ต้องป้อนคำสั่งล่วงหน้า
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
นายฮิเดโตะ ยูอิ หัวหน้าหน่วย Business Unit Robotics, Logistics System Solutions, แผนก Security & Automation Systems, Toshiba Infrastructure Systems & Solutions Corporation (ตำแหน่ง ณ วันที่สัมภาษณ์)
 
“ไซต์งานโลจิสติกส์ส่วนใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นมักตั้งอยู่ใกล้กับทางแยกต่างระดับเพื่อความสะดวกในการขนส่งสินค้า ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ไม่ค่อยมีระบบขนส่งสาธารณะเข้าถึงจึงทำให้เกิดปัญหาด้านกำลังคน นอกจากนี้ ตัวงานเองก็เป็นงานที่ใช้แรงงานหนัก เนื่องจากสินค้าที่เดินทางมาถึงไซต์งานจากบรรดาโรงงานและคลังสินค้ามักจะมีน้ำหนักมาก การคัดแยกสินค้าและจัดเรียงตามจุดหมายปลายทางจึงเป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก จากความท้าทายทั้งหมดที่กล่าวมานี้ โตชิบาจึงได้ริเริ่มพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยขนถ่ายสินค้าตั้งแต่เมื่อ 3 ปีที่แล้ว” นายฮิเดโตะ ยูอิ หัวหน้าหน่วย Business Unit Robotics, Logistics System Solutions, แผนก Security & Automation Systems, Toshiba Infrastructure Systems & Solutions Corporation (ตำแหน่ง ณ วันที่สัมภาษณ์) กล่าว

นายยูอิ เผยว่า “หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้าของโตชิบาสามารถจัดการสินค้าน้ำหนักสูงสุดถึง 30 กิโลกรัมได้อย่างไร้ข้อบกพร่อง ตัวหุ่นยนต์มีขนาดเล็กกะทัดรัด กว้าง 2.2 เมตร ยาว 3.4 เมตร และสูงเพียง 2.7 เมตร จึงสามารถนำไปติดตั้งกับอุปกรณ์อื่นได้อย่างง่ายดาย และหนึ่งในคุณสมบัติที่เยี่ยมยอดที่สุดของหุ่นยนต์ตัวนี้ก็คือ มันไม่จำเป็นต้องได้รับการสอน*1 เพราะมันสามารถเรียนรู้สภาพกล่องสินค้าและตัดสินใจดำเนินงานได้เองโดยอัตโนมัติ หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถขนถ่ายสินค้าได้มากกว่า 8 กล่องต่อนาที และในทางทฤษฎีก็สามารถทำงานต่อเนื่องได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเราก็ได้ทำการรวบรวมองค์ความรู้และจุดแข็งในด้านเทคโนโลยี Image Recognition เข้ามาใช้ประโยชน์ในไซต์งานโลจิสติกส์อีกด้วย” 

*1: ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเรียนรู้ของเครื่องยนต์ (Machine Learning) หุ่นยนต์จึงสามารถจัดการพัสดุหลากหลายขนาดได้อย่างง่ายดาย
 
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
องค์ประกอบโดยรวมของผลิตภัณฑ์

กล่องที่ถูกจัดเรียงอยู่บนแท่นวางสินค้า หรือพาเลท มักไม่ได้จัดเรียงในแพทเทิร์นเดียวกันเสมอไป แม้ว่าจริง ๆ แล้วคงจะทำงานสะดวกกว่ามากหากเป็นเช่นนั้น ทำให้เมื่อก่อนพนักงานจะต้องลงบันทึกแพทเทิร์นการเรียงของกล่องในแต่ละชั้นเพื่อให้เครื่องรู้ว่าจะต้องทำงานอย่างไร แต่หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้าตัวใหม่ของ โตชิบามีเทคโนโลยีกล้องและเซนเซอร์ที่ทำให้มันสามารถรับรู้ถึงปัจจัยต่าง ๆ และยังสามารถประเมินระยะทางถึงตัวกล่องด้วยการวัดความเร็วในการสะท้อนของเรดาร์ มันจึงรู้ถึงสภาพเงื่อนไขของกล่องเหล่านั้นได้โดยอัตโนมัติ และสามารถดำเนินการจัดการขนย้ายได้เอง 
 
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
หุ่นยนต์สามารถรับรู้สภาพกล่องที่ถูกจัดเรียงในหลากหลายรูปแบบ
 
“หุ่นยนต์สามารถตรวจจับและวัดระยะห่างระหว่างกล่องแต่ละกล่อง สามารถระบุได้ว่าด้านบนของกล่องวางติดกันในรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร และยังสามารถรับรู้ได้อย่างอัตโนมัติว่ากล่องวางซ้อนกันแบบไหน แม้ว่ากล่องสินค้าเหล่านั้นจะไม่ได้วางเรียงตามรูปแบบใดชัดเจน หรือแม้ว่ากล่องแต่ละชั้นจะถูกจัดเรียงในแพทเทิร์นที่ต่างกันก็ตาม” นายยูอิ กล่าวเสริม
 
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
สามารถรับรู้ถึงกล่องแต่ละใบ แม้จะวางอยู่ติดกัน

ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในไซต์งานโลจิสติกส์
อีกหนึ่งคุณสมบัติที่โดดเด่นของหุ่นยนต์ตัวนี้คือวิธีที่มันขนย้ายกล่องมาวางบนสายพาน โดยตัวหุ่นยนต์จะมีฟังก์ชันมือจับสองด้าน (กลไกมุมฉาก)*2 อันประกอบด้วยมือจับ และตัวดูด ซึ่งจะทำหน้าที่ดูดติดด้านบนและด้านข้างของกล่อง ฝั่งที่ใกล้ตัวหุ่นยนต์ขณะที่มันทำการเคลื่อนย้ายสิ่งของ

*2: มือจับเป็นประเภทกริปเปอร์สองด้าน (ด้านบนและด้านข้าง)

ด้วยการกระจายน้ำหนักสองด้าน – ทั้งด้านบนและด้านข้าง – หุ่นยนต์จึงสามารถเคลื่อนย้ายได้ แม้กระทั่งกล่องที่ทำจากวัสดุเปราะบาง เช่น กล่องที่มีช่องปรุด้านบน ได้อย่างมั่นคงและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ 
 
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
การทำงานของหุ่นยนต์

“หุ่นยนต์ต้นแบบรุ่นแรก ๆ ที่เราพัฒนาจะหยิบกล่องจากด้านบนเพียงด้านเดียว แต่ว่ากล่องสินค้าก็มีที่มาจากผู้ผลิตหลากหลายแห่งแตกต่างกันไป บางกล่องจึงไม่ได้แข็งแรงเท่าใบอื่น ทำให้เกิดการฉีกขาดหรือจับได้ไม่มั่นคง จนหุ่นยนต์อาจทำหลุดร่วง เมื่อเราศึกษาดูก็พบว่าด้านนอกของกล่องพวกนี้จะถูกเคลือบด้วยน้ำยา  กันลื่นเพื่อทำให้กล่องแต่ละใบติดกันแน่นขึ้น ซึ่งเป็นวิธีการที่ผู้ผลิตใช้ป้องกันไม่ให้กล่องฉีกขาดหรือร่วงหล่นเวลาที่ขนย้ายพาเลทด้วยรถยก
 
ในฤดูร้อนที่อากาศร้อนชื้น โรงงานผลิตก็จะทำให้น้ำยาเคลือบบางลง ส่วนในฤดูหนาวที่อากาศแห้งก็จะทำให้น้ำยาเข้มข้นขึ้น แน่นอนว่ากล่องที่ถูกเคลือบไว้หนาก็จะทำให้ยกยากขึ้น แม้จะให้คนยกก็ตาม เพราะอาจจะทำให้กล่องขาดและเปิดออกได้ การใช้เครื่องช่วยยกจึงยิ่งยากขึ้นไปอีก เราจึงได้ตัดสินใจพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีมือจับสองด้าน ทั้งด้านบนและด้านข้าง เพื่อช่วยให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายกล่องต่าง ๆ ลงวางบนสายพาน และยังทำให้หุ่นยนต์สามารถผลักและดึงกล่องเพียงเล็กน้อยให้แยกออกจากกัน”
 
นายเคนจิ ฟุรุตะ ผู้จัดการกลุ่ม Robotics แผนก Logistics System Solutions Sales & Marketing (ตำแหน่ง ณ วันที่สัมภาษณ์) อธิบาย
 
หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
นายเคนจิ ฟุรุตะ ผู้จัดการกลุ่ม Robotics แผนก Logistics System Solutions Sales & Marketing, Toshiba Infrastructure Systems & Solutions Corporation (ตำแหน่ง ณ วันที่สัมภาษณ์)
 
“หุ่นยนต์ผู้ช่วยของโตชิบาตัวนี้สามารถจัดการขนย้ายกล่องบรรจุขวดน้ำขนาด 2 ลิตร 6 ขวด ซึ่งมีน้ำหนักรวมต่อกล่องมากถึง 12 กิโลกรัมได้สูงสุด 500-600 กล่องต่อชั่วโมงได้โดยไม่มีการหยุดพัก ขึ้นอยู่กับว่าตัวกล่องถูกจัดเรียงไว้แบบใด จึงช่วยลดการใช้แรงงานมนุษย์และทำให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น การใช้หุ่นยนต์ยังเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถไปทำหน้าที่ในส่วนอื่นที่สำคัญกว่าได้ ส่งผลให้การปฏิบัติงานโดยรวมของทั้งไซต์งานมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
 
โดยคุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมที่สุดของหุ่นยนต์ตัวนี้ก็คือ การที่มันไม่จำเป็นต้องถูกสอนงานใดๆ แม้ว่ามันอาจจะต้องจัดการสินค้าที่มีความหลากหลายและซับซ้อนยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะมันมีเทคโนโลยีการรับรู้ภาพขั้นสูง เห็นได้ว่าระบบอัตโนมัติ (Automation) ไม่ว่าจะเป็น AI หรือ Machine Learning กำลังเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปัจจุบัน”        นายฟุรุตะ กล่าว 

หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า ตัวช่วยอัจฉริยะตอบโจทย์อุตสาหกรรมโลจิสติกส์
หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคนงาน (หุ่นยนต์จัดการกล่องขนาดใหญ่ ส่วนคนจัดการกล่องขนาดเล็กที่ไม่ได้เรียงตามแพทเทิร์น)

หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้า หรือ De-Palletizer Robot จากโตชิบาเริ่มถูกนำมาใช้งานตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีมาก โดยมีรายงานว่าการใช้ระบบอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จริง “ผู้ใช้งานหลายคนบอกว่า พวกเขาอยากให้หุ่นยนต์สามารถจัดการงานขนถ่ายสินค้าได้หลากหลายยิ่งกว่านี้ ต่อไปในอนาคตเราจึงอยากจะพัฒนาเทคโนโลยีให้หุ่นยนต์สามารถโหลดสินค้าได้ด้วย” นายฟุรุตะ เผย
 
ในอนาคตข้างหน้า โตชิบามีแผนการที่จะรวมเอาเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาให้มันสามารถรับรู้กล่องหลากหลายประเภทมากขึ้น หรือการเพิ่มความแม่นยำในการเคลื่อนย้าย ไปจนถึงระดับที่สูงยิ่งขึ้นอย่างการเพิ่มฟังก์ชันโหลดสินค้า หรือการจัดจำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศ 
 
“ที่แผนก Security & Automation Systems เทคโนโลยีส่วนใหญ่ของเราจะมีพื้นฐานอยู่ที่ 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ เทคโนโลยี Image Recognition ที่นำมาใช้ในการพัฒนาประตูตรวจตั๋วอัตโนมัติ เครื่องคัดแยกเงินสด เครื่องคัดแยกจดหมาย ฯลฯ กลไกที่ใช้ในการจัดการวัตถุต่างๆ และการวางแผน/การควบคุมกลไกเหล่านั้น ซึ่งองค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้ เป็นสิ่งที่เรามีความเชี่ยวชาญมากที่สุดด้วย ในอนาคตเมื่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์เติบโตมากยิ่งขึ้น เราก็จะทำหน้าที่สนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ด้วยวิถีทางของเรา เพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และการดำเนินการในส่วนอื่น ๆ” นายยูอิ กล่าวสรุป
 
ความนิยมที่เพิ่มสูงขึ้นของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-commerce) ทำให้อุปสงค์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์เพิ่มขึ้นตามมา ซึ่งแม้จะเป็นเทรนด์ที่สร้างความสะดวกสบาย แต่ก็ทำให้เห็นได้ชัดถึงความจำเป็นของบรรดาไซต์งานโลจิสติกส์ ในการหาโซลูชันเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม หุ่นยนต์ขนถ่ายสินค้าจากโตชิบา จึงเป็นตัวช่วยที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์ความท้าทายนี้ได้โดยตรง
 
 
 
 
 
 
 


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




อยู่ดี / Lifestyle

อีวี มี ส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าให้ผู้ประกอบการแท็กซี่ ตั้งเป้าเพิ่มจำนวน EV ในระบบขนส่งสาธารณะไทย หนุนสังคมคาร์บอนต่ำยั่งยืน
เอช เซม มอเตอร์ เปิดเกมรุกปี มังกร รับผู้ร่วมลงทุน เปิดสถานีเปลี่ยนแบตฯ ในกรุงเทพและปริมณฑล
“ICONSIAM VINTAGE CAR SHOW” เชิญชมรถโบราณ รถคลาสสิค เรือ
เปิดจองพื้นที่ MOTOR EXPO 2023 สุดคึกคัก
เปิดจองพื้นที่ MOTOR EXPO 2023 สุดคึกคัก
กลุ่มบริษัทบีทีเอส เดินหน้าส่งเสริมความเท่าเทียม และการยอมรับความหลากหลายภายในองค์กร เนื่องในวันสตรีสากล 2566 (International Women's Day 2023)
“Satin Plus x หมอช้าง : Lucky Me Lucky Life 2023” ตั้งเป้ายอดขายโต 40%
ซูเปอร์สปอร์ตร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีและสุขภาพแข็งแรง สนับสนุนงานวิ่ง TAB RUN เพื่อคนตาบอด 2023
"เอ็นโซ่ ธารวณิชกุล" แชมป์โลกโกคาร์ทชาวไทย ฉายแววระดับโลก "เรดบูล" เซ็นร่วมทีมปูเส้นทางสู่ "ฟอร์มูล่าวัน"
IWG จับมือ BDO รับเทรนด์การทำงานแบบไฮบริด
รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า เอช เซม ได้รับ ใบรับรองมาตรฐานระดับสากล
เอคเซนเชอร์ เปิด “ศูนย์ปฏิบัติการอัจฉริยะเพื่อธุรกิจ” สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
เบนท์ลีย์ มอเตอร์ส เปิดตัว Continental GT และ GTC S นิยามใหม่แห่งความโฉบเฉี่ยว
โตชิบาผลิตอุปกรณ์ LiDAR ขนาดเล็กที่สุดในโลก - พัฒนาศักยภาพ “ดวงตา” เพื่อยานยนต์ไร้คนขับ
เอช เซม ขานรับ ตลาดเช่ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้น ส่งอีก 2 รุ่น ลงตลาด เริ่มต้นเบาๆ แค่ 95 บาทต่อวัน
เมอร์เซเดส-เบนซ์ ส่งมอบ “The new EQS” ให้ผู้จำหน่ายอย่างเป็นทางการ 4 แห่ง ตอบรับกระแสความสนใจในยานยนต์ไฟฟ้าระดับลักชัวรีรุ่นใหม่ พร้อมย้ำความมุ่งมั่นสู่อนาคต
โครงการปลอดภัยและยุติธรรม UN WOMEN กระตุ้นเอกชนออกนโยบายต่อต้านความรุนแรง
ธปท. สมาคมธนาคารไทย และสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ร่วมเปิดตัวการให้บริการ dStatement
บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 43 ประกาศความพร้อม ยกขบวนกองทัพรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 20 รุ่นร่วมจัดแสดง-คาดเงินหมุนเวียน 3 หมื่นล้านบาท
“กรุงไทย-สจล.”เปิดตัว KMITL UApp ยกระดับสู่มหาวิทยาลัยอัจฉริยะผ่าน Krungthai Digital Platform
“เรียล สมาร์ท” Real Smart สยายปีกเสริมแกร่ง
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เผยผลประกอบการปี 64 ย้ำดีมานด์ยังแข็งแกร่ง จากยอดขายรถยนต์ไฮเอนด์และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เติบโตขึ้น
เบนท์ลีย์ มอเตอร์ส เร่งขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์ ‘Beyond100’ เตรียมเปิดตัวอัครยนตรกรรมไฟฟ้า 5 รุ่นใหม่ ปี 2025
ทีมแข่ง Dynavolt Triumph ต้อนรับนักบิดหนุ่ม Hannes Soomer เพื่อเตรียมลุยรายการ World Supersport Championship ปี 2022
“SKILL DRIVING JUNIOR” ร่วมมือ “THE MALL” จัดการเรียนรู้ ฝึกวินัยจราจรให้เด็ก และเยาวชน
“กรุงไทย” ปิดบิ๊กดีล! ผนึก“เอคเซนเชอร์” ตั้งบริษัทร่วมทุน สร้าง“Digital Talents” รองรับธุรกิจดิจิทัลทั่วโลก
EMV Contactless (Europay Mastercard and Visa) เปิดใช้แล้ว
เบนท์ลีย์ มอเตอรส์เผย ครบ 1 ศตวรรษ แห่งการส่งมอบยนตรกรรมคันแรกแก่ลูกค้าคนพิเศษ
Empowering Tech Tourism
เบนท์ลีย์ มอเตอร์สฉลองยอดการผลิตอัครยนตรกรรมหรูคันที่ 200,000
เมอร์เซเดส-เบนซ์ จัดโปรแรงฉลองตรุษจีนด้วยข้อเสนอสุดเร้าใจ
เอช เซม “Flash Sale”
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ฉลองครบรอบ 60 ปี เพื่อสังคมไทย
Mercedes-Benz GLS 350 d 4MATIC AMG Premium
“อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง” แชร์กลยุทธ์ปี 64 มุ่งช่วยผู้ประกอบการไทย
เนทติเซนท์ จับมือ “หัวเว่ย คลาวด์” ผนึก 2 ผู้นำเทคโนโลยีครั้งสำคัญ
ดาต้าเซ็นเตอร์เทรนด์ใหม่ในไทย
เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นพลังงาน กับ “โรงแรมไฮโดรเจน” แห่งแรกของโลก
ใช้ประโยชน์จากคลังข้อมูลการค้า-ระบบให้คำปรึกษาออนไลน์
ปลดล็อคการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนสอดรับวิถี “New Normal”
แม็คโครจับมือผู้ผลิตถุงขยะแชมเปี้ยน จุดพลุแคมเปญ “แยกขยะ” ครั้งใหญ่
GS Battery เปิดตัวคอลเซ็นเตอร์ GS PROMPT (พร้อม) 1380
"ลมหายใจไร้มลทิน" มอบรางวัลเยาวชน ชนะการประกวดปี 2562
GPI โชว์ความพร้อมจัดงาน The 2nd Yangon International Motor Show 2020
HSEM ก้าวสู่การตลาดแบบดิจิตอล
ของถูกและดีมีอยู่จริง!
เพชรบุรีกับพลังงานสะอาด จากเอช เซม มอเตอร์
โครงการ “ยิ่งให้...ยิ่งได้” ปีที่ 2
Jikkiburn คว้าแชมป์อย่างสมศักดิ์ศรี นัดปิดฤดูกาล GPeRacing2019
GP eRacing ส่งนักแข่งสู้ศึก FIA MOTORSPORT GAMES ที่อิตาลี
กรุงไทยโชว์เทคโนโลยีล้ำสมัย ในงาน Digital Thailand Big Bang 2019
DigitalThailandBigBang2019-Lazada
SACICT สานต่องาน “SACICT Mobile Gallery 2019” ครั้งที่ 3
Häfele Kitchen Design Award 2019
MQDC อวดโฉมหุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย
GP eRACING ระเบิดความมันส์ สนาม 2 กลางเมืองขอนแก่น
แม็คโคร เปิด “แม็คโคร ดิจิทัล สโตร์” แห่งแรก
Creator Space (NEXT)
Zero Accident Campaign 2019
RISC ประสบความสำเร็จปลุกกระแส Well-being เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน
WATS FORUM 2019
B-Quik Expo 2019 สุดมันส์ดึง GP eRacing ร่วม
“สำนักงาน กปร.” เชื่อมั่น “SPIRIT 4x4”
TOYOTA HILUX REVO 10 เซียนประจัญบาน 2019
GPX ‘Demon’ ซีรีส์เรือธง กับ 5 ปีแห่งความสำเร็จ
'เอช เซม มอเตอร์' บุกเมืองมรกตแห่งอันดามัน
dtac x Free Fire ปลุกพลังสร้างตำนานเกมเมอร์
กลยุทธ์พัฒนานวัตกรรมธุรกิจด้วยแนวคิดเชิงออกแบบ
“รถโบราณ” ร่วมฉลองฤดูเก็บองุ่นไร่กราน-มอนเต
'IAM BANGKOK 2019' เริ่มแล้ว
'IAM BANGKOK 2019' โชว์รถแต่งหลากสไตล์แน่น
“รถโบราณ” ยกขบวนพาเหรดร่วมงาน “เขาวัง”
BEM แนะนำวิธีปฏิบัติ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินบนทางด่วน
เอช เซม มอเตอร์ มั่นใจขึ้นแท่นผู้นำ รับปีหมูทอง
มิชลินเปิดตัวสุดยอดยางบิ๊กไบค์ สปอร์ตทัวริ่ง โฉมใหม่
“โตไป…ขับเป็น” ปลูกฝังวินัยจราจรให้เยาวชน
“ไทรอัมพ์ มอเตอร์ไซเคิลส์” พาตะลุยเมืองฟาโร โปรตุเกส
ภูมิทัศน์อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ปี 2561
เทเลนอร์เผย 7 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงปี 2562
วสท. แนะวิธีปฏิบัติเมื่อ "รถเสียบนทางด่วน" หรือ "ทางหลวง"
พีไอเอ็ม ทุ่ม 50 ล้าน เปิดศูนย์นวัตกรรมหุ่นยนต์ฯ
เมื่อทุกสิ่งเชื่อมต่อด้วยอินเทอร์เน็ต
Honda คาดวางขายรถยนต์ไฟฟ้า 2 รุ่น ภายในปี 2018
กูเกิลโฉมใหม่..ท่องโลกได้เสมือนจริง
แอร์ประหยัดไฟลดโลกร้อน
Smart Jacket
หูฟังแปลภาษา...งานนี้ล่ามตกงานแน่
รถยนต์ไร้คนขับ
เตาย่างบาบีคิวกระเป๋าหิ้วพลังแสงอาทิตย์
มาวาดรูปกันเถอะ...ด้วยจอคอมพิวเตอร์นะ
รถบินได้..ไม่นานเกินรอ
รถบินได้ไร้คนขับ...ยามฉุกเฉิน article



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM