แก้ปัญหา "น้ำท่วม-ฝนแล้ง" ในระยะยาว...ได้หรือไม่ ?
โดย นิพนธ์ กลิ่นวิชิต
เรามี >>> ภูมิปัญญา >>> ในการแก้ปัญหาระยะยาว...หรือไม่ ?...
....ทุกครั้งที่ประชุมกันเรื่อง "การแก้ปัญหาน้ำท่วม" ยังไม่เคยมีการแก้ไขที่ "ครอบคลุมทุกมิติ"...
....ทีี่ผ่านมาแก้ปัญหาแบบ !!!
...."ไวไว ควิ๊ก + มาม่า บิ๊กแพ็ค + ยำยำ จัมโบ้"...!!! (มากันยกห้างเลย)
โดยคิดกันอยู่แค่ว่า...
1. เมื่อ "น้ำท่วม" ก็เสนอสูตรสำเร็จ...สร้างเขื่อนชะลอน้ำ
2. เมื่อ "แห้งแล้ง" ก็เสนอสูตรสำเร็จ...สร้างเขื่อนเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง
3. เมื่อต้องการ "ปั่นไฟแบบประหยัด" ไม่ใช้น้ำมัน ก็เสนอสูตรสำเร็จ....สร้างเขื่อนใช้น้ำปั่นไฟฟ้า
4. เมื่อต้องการปลูกข้าว / ปลูกพืชในที่ดอน / ที่ไม่เคยทำนา / ที่ทำนามาแล้ว 1-2 ครั้งต่อปี...ก็สร้างเขื่อนจัดสรรน้ำให้ทำนาได้ 4 ครั้งต่อปี จะได้มีข้าวขาย เพราะผลิตข้าวพันธุ์เบาใช้เวลาน้อย
5. เมื่อไม่มีน้ำบริโภค / น้ำปะปาสำหรับคนเมือง...ก็สร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ป่า เพื่อใช้ทำน้ำปะปาบริโภคของคนเมือง เมื่อไม่มีน้ำเพียงพอในลุ่มน้ำที่เมืองตั้งอยู่ ก็สร้างคลองส่งน้ำมาจากอีกลุ่มน้ำหนึ่ง
6. เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลงทุน ก็ไปตั้งนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้โรงงานไปอยู่รวมกัน เป็นการอ้างเหตุผลว่าให้โรงงานไปอยู่รวมกันนอกเมือง เมื่อเกิดนิคมอุตสาหกรรมขึ้น ความจำเป็นต้องใช้น้ำก็มากขึ้น ทางการปะปาภูมิภาคไม่สามารถจัดหาน้ำได้ทันใจ ก็ตั้งบริษัทจัดการต่อ โดยให้รัฐลงทุนสร้างอ่างเก็บน้ำให้...เมื่อโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น การแก้สารพิษในน้ำในอากาศที่เสีย ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้สิ่งแวดล้อมพังพินาศ ทั้งทางอากาศและทางน้ำกินน้ำใช้ของประชาชน
7. เมื่อมีการบุกรุกป่ามากขึ้น ก็ทำให้ป่าเสื่อมโทรมมากขึ้น นายทุนก็มากว้านซื้อภายหลัง เพื่อทำสนามกอล์ฟ รีสอร์ท บ้านพักตากอากาศ เป็นการแยกพื้นที่ป่า / แยกพื้นที่ชุ่มน้ำ-ซับน้ำ / แยกเส้นทางไหลของน้ำ "จำนวนมหาศาลต่อปี" ลดลง ทำให้พื้นที่สำหรับน้ำน้อยลงเรื่อยๆ พื้นที่พัฒนาไม่ต้องการให้น้ำท่วม ไม่ให้น้ำไหลผ่าน เมื่อมีน้ำท่วม ก็สูบออกจากที่ดิน ปล่อยให้ไหลไปตาม "ยถากรรม"
̣8. การสร้างเมือง / การขยายเมือง / การก่อสร้างต่างๆ ไม่เคยคำนึงถึงภูมิประเทศ ทิศทางการไหลของน้ำ เมื่อพื้นที่ต่ำก็ถมให้สูง ใครมีเงินก็ถมสูงกว่าคนอื่นตามใจชอบ ทำให้พื้นที่เดิมเปลี่ยนแปลงมาก
.....เส้นทางน้ำบนดินเมื่อมีน้ำมากก็ถูกสิ่งก่อสร้างกีดขวางทำให้น้ำไหลช้า
.....เมื่อมีปริมาณน้ำฝนสูงน้ำก็ท่วม
.....แก้ปัญหาน้ำท่วมในเมมือง โดยอ้างจะสูญเสียทางเศรษฐกิจสูง ก็ใช้เครื่องสูบน้ำสูบออกจากเมือง
......เมืองใครเมืองมัน บ้านใครบ้านมัน
......ส่วนน้ำจะไปทางไหนไม่มีใครใส่ใจ "ขอแต่อย่ามาท่วมบ้านฉันก็แล้วกัน"
9. เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม-ฝนแล้ง ได้มีการตั้งหน่วยงานต่างๆ ขึ้นมากมาย ทำวิจัยกันอย่างมหาศาล มีความรู้กันมากมาย มีโครงการเกี่ยวกับน้ำจำนวนมาก เช่น
.......ฝายแม้ว
.......สร้างเขื่อนเกือบทุกลุ่มน้ำ
.......คลองชลประทาน / ฝายกั้นน้ำ เพื่อบังคับน้ำอย่างมีระบบที่เชื่อถือได้
......มีหน่วยงานพยากรณ์อากาศ "อุตุนิยมวิทยา"
......มีเครื่องมือทันสมัยทัดเทียมกับต่างประเทศ
......มีคณะกรรมการลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ
......มีคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมทั้งของรัฐ / NGO / ชาวบ้าน
......และอื่นๆอีกมากมาย.....
แต่ทำไมปัญหาน้ำท่วมและฝนแล้ง "ไม่ได้รับการแก้ปัญหาระยะยาว"...???
หรือทำให้มีผลกระทบน้อยที่สุด....???
เรามีทุนทางสังคมเกือบทุกด้าน แต่เหตุใดจึงยังแก้ปัญหาภาพรวมไม่ได้...???
มีแต่ทำโครงการที่ไม่สามารถแก้ปัญหาครบวงจรได้แต่อย่างใด...!!!
10. ทุกครั้งที่เกิดอุทกภัย / วิบัติภัยจากน้ำท่วม จะระดมความช่วยเหลือทั้งรัฐ - เอกชน - สื่อมวลชน - NGO - ชาวบ้านด้วยกันเองอย่างมากมาย
......"น้ำใจคนไทยไม่ทิ้งกัน" เป็นจุดแข็งของสังคมไทยที่รับรู้ทั่วโลก เป็นที่พออกพอใจของผู้พบเห็น
......แต่ผู้ที่ได้รับความสูญเสีย "สามารถฟื้น" จากความสูญเสีย และกลับมายืนได้สักเท่าใด...???
......ยกตัวอย่าง "สึนามิ" จากปี 2547 ปัจจุบันประชาชนต้องผจญความสูญเสีย ยังไม่ฟื้นกลับคืนสู่สภาพที่ดีเลย ยังต้องช่วยเหลือกันอยู่ต่อไป...อีกนานเท่าไร...???....ไม่ว่าจะเป็น....
....อาหาร....
....ที่อยู่อาศัย....
....ยารักษาโรค....
....อาชีพการงาน....
....หนี้สินที่ยิ่งกว่าล้มละลาย....
....ครอบครัวที่ต้องสูญเสีย....
....สภาพจิตใจที่ได้รับการกระทบกระเทือนจากการสูญเสีย....
....เราจะทำอย่างไรกับเรื่องเหล่านี้...???
....ซึ่งพวกเขาเป็นคนไทย เป็น "พี่น้องของเรา"....
....และอุทกภัย / อุบัติภัย ก็เกิดขึ้น "ทุกปี" อยางซ้ำซาก....
....ระบบการช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยาก การฟื้นฟูให้อยู่ในสภาพเดิมควรจะเป็นอย่างไร...???
....หรือช่วยกันไป "ตามมีตามเกิด" เช่นปัจจุบันนี้....
11. ทุกครั้งที่เกิดอุทกภัย "จะโทษกันไปมา" เช่น
....ชาวบ้านว่าราชการละเลย ปล่อยให้เกิดเหตุซ้ำสอง....
....ส่วนราชการก็กล่าวว่าชาวบ้านไม่เชื่อคำประกาศเตือนของทางการ ทั้งๆ ที่มีระบบป้องกันอุบัติภัย มีการวางแผน มีการเตรียมการกันอย่างดี มีการป้องกันเตือนภัยอย่างเชื่อมั่นว่าแก้ปัญหาได้ "รับประกันได้"
....แต่ทำไมทุกครั้งที่เกิดปัญหาอุบัติภัย กลับไม่มีอะไรพร้อมสักอย่าง...!!!
....หรือว่าอุบัติภัย "มันยิ่งใหญ่" เกินกว่าจะ...เตือนภัย-ป้องกัน...ได้...!!!
....ต้องปล่อยไป "ตามยถากรรม"
....ให้ประชาชนต้อง "รับผลและสูญเสีย" อย่างไม่ "อาจเรียกคืน" หรือมีสิ่งอื่นใดมาทดแทนได้...!!!
12 เป็นไปได้ไหม...???
......ที่แล้วมาการแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องมองไปที่ประเด็นว่า
“น้ำ" ถูกทำให้เป็น "เรื่องส่วนตัว" ไปเสียทั้งหมด....
"น้ำ" ถูกทำให้มี "เจ้าของ" คือจะใช้ต้องจ่ายเงิน....
"น้ำ" แท้ที่จริงนั้น...เป็นของ "ส่วนรวม" / ของประเทศ / ของสาธารณะ...ใครๆ ก็ใช้ได้
....ยากดีมีจน ก็ "พึ่งพิงน้ำ" ได้...จากแม่น้ำลำคลอง
....การใช้ "น้ำ" เพื่อดำรงชีวิต...สำหรับคนยากคนจน คือ
....ได้ตกปลา....
....ทอดแห.....
....เก็บผัก....
....เก็บหอยเก็บปู...ริมน้ำ
ดำรงชีวิต...ได้เลี้ยงครอบครัว...เพื่ออยู่ในสังคมได้
....เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีวันหมด
....คนจน / ชุมชน ได้พึ่งพิงน้ำเลี้ยงชีพเลี้ยงชีวิตตั้งแต่บรรพบุรุษสืบต่อกันมา
....ดั่งคำที่กล่าวว่า "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว"
....แต่ปัจจุบัน ในน้ำไม่มีปลา...มีแต่ "สารพิษ"
....ในนามีแต่ "สารเคมี"
....ปลาเล็กปลาน้อบ กุ้งหอยปูปลา ถ้าจะเอามากิน
.....ก็ต้องเสี่ยงกันเอาเอง.....
.....ไปซื้อซื้อตามศูนย์การค้า....
....ปัจจุบัน "น้ำสาธารณะ" คือน้ำที่ไม่สะอาดบริสุทธิ์ / บริโภคไม่ได้ / น้ำเสียมีสารพิษ
.....สมัยโบราณ "คนเดินทาง" ขอน้ำดื่มกันได้ ไม่เสียสตางค์ ใจเมตตาเกื้อกูล
.....แต่ปัจจุบัน ต้อง "พกขวดน้ำ" ไปด้วย เมื่อต้องเดินทางไกล
.....คนจนไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากไม่มีที่ดิน / ที่ทำเกษตรกรรม "ของตัวเอง" แล้ว ยัง "ไม่มีน้ำ" ให้บริโภคหรืออุปโภคอีกด้วย ถ้าต่อไป "น้ำทุกหยดต้องใช้เงินซื้อ"
.....จะไม่มีกุ้งหอยปูปลาในแม่น้ำลำคลอง....
.....ไม่มีสิ่งมีชีวิตในห้วยหนองคลองบึง...ที่ใช้เป็นอาหารได้อีกต่อไป
.....ทุกแห่งที่มีกุ้งหอยปูปลา "มีเจ้าของไ จับจองไว้หมดแล้ว
.....ถ้าอยากได้ก็ต้อง "หาเงินซื้อ"
.....เมื่อพื้นดินถูกแย่งชิง / ถูกครอบครอง จากกลุ่ม "คนมั่งมี" ในเมือง และ "ไม้ได้ใช้" ประโยชน์
.....พื้นน้ำสาธารณะถูกทำให้ตื้นเขิน "ใช้ประโยชน์ไม่ได้"
.....ไม่มีทรัพยากรสัตว์น้ำให้บรรเทาความหิวอีกต่อไป
.....คนจนที่ "ใช้ที่ดิน"..."ใช้ผืนน้ำ" จะหาทางออกอย่างไร...???
.....ถ้าคนเหล่านี้มีจำนวน "มากขึ้น" การแย่งชิงอาหาร / ทรัพย์สินต่างๆ ต้อง "เพิ่มขึ้น"
.....ความอดอยากยากแค้น จะเพิ่มจำนวนหลายเท่าทวีคูณ
.....ความรุนแรงในสังคมจะเกิดความขัดแย้ง "มากยิ่งขึ้น"
.....ถ้าเป็นเช่นนี้สังคมที่เคยสงบสุข / เอื้อเฟื้อ / เผื่อแผ่ / ยอมกันได้ จะยังคงอยู่อีกหรือ...???
.....ความรุนแรง "กลียุค" จะปรากฎขึ้น...สังคมต้องการอย่างนั้นหรือ...???
13. เป็นไปได้ไหม...??? ปัญหาต่างๆ ดังที่กล่าวมานี้
.....จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขให้หมดไป หรืเบาบางลงให้ได้
.....จะต้องระดมสรรพกำลังความรู้ / ความสามารถ
.....และให้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้ "ครอบคลุม...ครบถ้วน"
14. ใครจะเป็น "เจ้าภาพ" ในการแก้ปัญหา...??? (นายกฯ หรือเปล่า...!!!)
.....ใครจะ "รับประกันผล" ของการแก้ปัญหา
.....ว่าวิธีการที่ใช้จะ "ไม่สร้างปัญหา" ให้กับคนอีกจำนวนหนึ่ง
.....เหมือนกับการแก้ปัญหาที่แล้วมา
......เลิกคิดวิธีป้องกันน้ำโดย "กันกำแพง"
......และ "สูบน้ำออก" ไม่ให้เข้าเมือง
......และ "ระบายน้ำ" ไปสู่พื้นที่ที่ไม่ใช่พวกของตัวเอง....เช่นที่แล้วมา
.....เลิกมองปัญหาอุทกภัยว่าเป็น "สิ่งชั่วร้าย" ไม่มีใครต้องการ...ได้ไหม...???
.....ให้มองในทางบวก / มองให้เห็น "คุณค่าของน้ำท่วม"
......โดยจัดระบบให้น้ำท่วมใน "บริเวณที่ต้องการ"
......และ "ไม่ให้น้ำท่วม" ในบริเวณที่...ไม่อยากให้ท่วม
.....เปิดโอกาส "ระดม" สรรพกำลัง / ภูมิปัญญา / เทคโนโลยี่ในโลก ที่มีการนำมาใช้แก้ปัญหา
15. ถึงเวลาหรือยัง...??? ที่จะต้องวางแผนประเทศทั้งประเทศ
.....จัดโซนต่างๆ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ / สภาพภูมิอากาศ และสภาพพืชพรรณธัญญาหาร
.....โดยยึดเอาจุดเด่นของของพื้นที่ ที่เหมาะสมทั้งดินฟ้าอากาศและภูมิประเทศ ตัวอย่างเช่น
....บริเวณภาคกลาง...เป็นเขตพันธุ์ปลาน้ำจืดที่มีมากที่สุดในโลก
(ลุ่มเจ้าพระยา-แม่น้ำท่าจีน-ชัยนาถ-อ่างทอง-สิงห์บุรี-สระบุรี-สุพรรณบุรี)
....ทุ่งกุลาร้องไห้...เป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก
....ปราจีนบุรี-จันทบุรี-ระยอง-ชลบุรี...เป็นแหล่งปลูกผลไม้หลากหลายชนิด
....ภาคใต้....ปลูกกาแฟ ยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน
....คงจะมีจุดเด่นเช่นนี้อีกมากมาย
....ควรเอาจุดเด่นเหล่านี้กลับมาดูเพื่อจัดวางโซนต่างๆ
ในปีหนึ่ง....พื้นที่ประเทศไทย ตั้งแต่ต้นปี..ไหลเรื่อยมาทุกเดือน จนถึงสิ้นปี สามารถที่ประเมินจำนวนน้ำฝนได้โดยดูจาดสถิติแต่ละเดือน ว่าจะมีฝนตกเท่าไร....??? นอกจากพายุ...แล้ว ก็สามารถประเมินได้ การเตรียมการเป็นช่วงๆ ทุกเดือน น่าจะมีแผนการในการดำเนินการได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น...ควรจะดูเป็นภาค / โซนภาค และ...ให้พร้อมเพรียง สอดคล้องกับสภาพโซนของ...น้ำฝนที่มีข้อมูลอยู่แล้ว
16 จะเป็นไปได้ไหม...??? แทนที่จะทำแต่ "แก้มลิง" ในพื้นที่อย่างเดียว
.....สมมุติว่าน้ำท่วมเต็มแก้มลิง แล้วจะทำอย่างไร...???
.....ต้องเตรียมการแก้ไขด้วย
.....มิใช่ให้ความมั่นใจว่า "ถ้าไม่ฝนตกสักวันสองวัน น้ำที่ท่วมคงลดลงได้"
.....ถ้าฝนตกลงมา สิ่งต่างๆ ที่เตรียมไว้ก็ฉิบหายเช่นเดิม ดังที่เป็นมาแล้ว
17 มีทางเป็นไปได้ไหม...??? ให้มีการขุดคลองให้เป็นระบบ...เชื่อมโยงกันทุกลุ่มน้ำ
.....เมื่อน้ำท่วมลุ่มน้ำใดลุ่มน้ำหนึ่งจะสามารถระบายไปอีกลุ่มหนึ่ง
....เช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
....ทรงแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ
....และพัฒนาที่ดินแห้งแล้งบริเวณรังสิต
....ให้เป็นนาข้าวที่อุดมสมบูรณ์
.....เมื่อขุดคลองเชื่อมโยงแล้ว "สองข้างคลอง" ให้ปลูกต้นไม้ให้สอดคล้องกับพื้นที่
....เพื่อให้ทุกพื้นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้ต่างๆ
....และช่วยเก็บความชื้นอย่างเหมาะสมกับพื้นที่
.....ทั้งนี้เพื่อปรับสภาพธรรมชาติให้ฟื้นคืนกลับ
.....และไม่จำเป็นต้องทำฝนเทียม
.....การ "ขุดคลอง" นั้น ไม่ใช่ขุดคลองชลประทาน...ไม่มีประโยชน์
....เพราะเล็กและเป็นเส้นตรง ทำให้น้ำไหลเร็วเกินไป และไม่พอใช้
....ไม่สร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่เลย
.....ควรขุดคลองให้เหมือนแม่น้ำลำคลอง "ธรรมชาติ"
....ลดเลี้ยวไปตามสภาพของความสูงต่ำของพื้นที่
....บางช่วงอาจทำเป็น "วังน้ำ" โดยไม่ต้องดาด
....คลองดาดตลิ่ง เพราะจะทำให้คลองมีปัญหากับการไหลของน้ำ
....แล้วปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่กำลังจะสูญพันธุ์ ให้ขยายพันธุ์ในธรรมชาติ
....พันธุ์ไม้น้ำและไม้ชายน้ำ ช่วยให้ลำคลองที่ขุดเหมาะสมกับสัตว์น้ำ
....และคืนความอุดมสมบูรณ์ให้ธรรมชาติ
....เป็นการประสานการระบายน้ำให้กับ เขื่อน / แก้มลิง อย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุด
18. ส่วนเมืองต่างๆ ให้มีการจัดโซน "การขยายตัว" ในที่สูง จัดโครงสร้างสาธารณูปโภคใหม่ ไม่ให้ "กีดขวาง" การไหลของทางน้ำบนผิวดิน และจัดทำระบบบำบัดน้ำเสียอย่างจริงจัง
19. ระบบ "กำจัดขยะ" ต้องแยบยลกว่านี้ ถ้า "ฝังกลบ" เมื่อน้ำท่วม "เชื้อโรค" จะ "ระบาด" อีกครั้ง
20. เราต้องกลับมา " ตั้งสติใหม่" ให้ดี และ "ตั้งความคาดหวัง" ว่าเราจะมี....!!!
.....1. ระบบธรรมชาติที่ดี
....รู้จักธรรมชาติอย่างดี
....และ ปฏิรูป ปรับแปลี่ยน ให้สอดคล้องเข้าใจกับธรรมชาติ
....เช่นเดียวกับภูมิปัญญาไทยโบราณ
....ไม่ทำลายซึ่งกันและกัน
.....2. ระบบการวางผังประเทศ
....ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศ / ภูมิอากาศ / ภูมิปัญญษท้องถิ่น / วัฒนธรรมท้องถิ่น
....ผสมผสานกับเทคโนโลยี่สมัยใหม่
....บมพื้นฐานที่ไม่เบียดเบียนกัน / ไม่ทับถม / ไม่ซับซ้อน
....ไม่ทำให้ระบบธรรมชาติเสียสมดุลย์
.....3. ระบบป้องกัน / ระบบสนับสนุนช่วยเหลืออุทกภัย - อุบัติภัย - วาตภัยต่างๆ
....มีระบบเตือนภัยเตรียมพร้อม
....สามารถช่วยเหลือแบ่งเบาความสูญเสีย ได้อย่างรวดเร็วและทันการณ์
....4. ระบบฟื้นฟู เมื่อเกิดปัญหาความสูญเสีย
....จะมีระบบพื้นฐานระยะสั้น
....จะมีระบบแก้ปัญหาระยะยาว หรือให้ผู้สูญเสียได้ลืมตาอ้าปาก กลับยืนได้ดังเดิม
ทั้งหมดนี้...คนไทยสามารถทำได้ไหม...???
เรามาร่วมกันทั้งประเทศ...จะได้ไหมครับ "ประชาชน...คนไทย"...???
ถ้ายังทำไม่ได้....ก็รับผลกรรมซ้ำซากต่อไปอีก เป็น "ร้อยๆ ปี" ดังที่ประสบมา
และจะหนักขึ้น....ตื่นเถิดชาวไทย !!!