ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
Safety in Built Environments
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น คืออาคารและเมืองเป็นสิ่งสำคัญอาจจะนับได้ว่าสูงสุดในอารยะธรรมของมนุษย์ ตั้งแต่ 1750 ปีก่อนคริสตกาลกษัตริย์ฮัมมูราบีได้ตรากฎหมายเพื่ออำนวยให้ผู้คนสามารถอยู่อาศัยร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุขปลอดภัยและได้รับความยุติธรรมอย่างเท่าเทียมเสมอหน้ากัน มีหลายบทที่กล่าวถึงโทษของผู้สร้างอาคารที่ไม่แข็งแรงจนเป็นเหตุต่อความเสียหาย

ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
เท่าที่สืบค้นมาได้กฎหมายฉบับแรกในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคาร คือพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 (ค.ศ.1936) ที่มีการปรับปรุงแก้ไขจนมาถึงฉบับปัจจุบันใน พ.ศ.2522  ซึ่งก็ไม่ได้มีระยะเวลาห่างมากนักจากกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เริ่มมีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1915 ในด้านของสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นนั้นก็มีกระบวนการและกฎหมายเกี่ยวกับด้านการผังเมืองในอังกฤษรวมทั้งในยุโรปและอเมริกาที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1898  สามทศวรรษต่อมาในปี 1927งานด้านผังเมืองในประเทศไทยก็เริ่มขึ้น
 
ประเทศอเมริกามีอาณาเขตกว้างใหญ่และมีระบบการปกครองที่ค่อนข้างแยกกันเป็นอิสระเอกเทศในแต่ละรัฐจึงมีกฎหมายที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาแบ่งได้เป็น 3 ฉบับคือ 

1. BOCA National Building Code ใช้ในรัฐแถบตะวันออกเฉียงเหนือและแถบเหนือตอนกลางของประเทศตั้งแต่ New York (Northeast), Pennsylvania (Eastern), Illinois, Ohio (Midwest), Oklahoma, (Southwest)

2. Standard Building Code (SBC)  ใช้ในรัฐแถบตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศในรัฐ Louisiana และหลายเมืองในรัฐ Texas

3. Uniform Building Code (UBC)  ใช้ในรัฐแถบตะวันตกแถบเหนือตอนกลางของประเทศ ได้แก่ California, Washington (Northwest Region), Indiana (Northeast Region), Missouri (Central Region), ไปจนถึงบางรัฐทางใต้เช่น New Mexico และหลายเมืองในรัฐ Texas

กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารเหล่านี้มีหลักการทั่วไปคล้ายกัน แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไป และในแต่ละเมือง (City ซึ่งอาจเปรียบได้กับเทศบาลหรือ อบต.ในบ้านเรา) ก็ยังมีข้อบัญญัติเฉพาะของเมือง Zoning Ordinances ไปจนถึง City Plan, General Plan ที่ระบุรายละเอียดควบคุมการพัฒนาพื้นที่และก่อสร้างอาคารแยกย่อยแตกต่างกันออกไป รวมทั้งกฎควบคุมพื้นที่โดยรวมที่ระบุไว้ใน County Plan และจากหน่วยงานอื่นที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว ลมพายุ 
 
เมื่อผมเริ่มไปทำงานในแคลิฟอร์เนียในปี 1977 เรื่องแรกๆที่ต้องรีบทำความเข้าใจเพื่อสามารถอยู่รอดได้ในวิชาชีพ นอกเหนือจากเรื่องมาตราส่วน Imperial scale เรื่องวัสดุเทคนิคการก่อสร้างและการเขียนแบบ คือข้อบัญญัติการก่อสร้างที่ขณะนั้นคือ UBC 1976 และ Zoning Ordinances ของเมือง Redlands อันเป็นที่ตั้งของสำนักงาน Leon Hines Armantrout และเมืองใกล้เคียงอย่าง Loma Linda, Colton, San Bernardino, Yucaipa และ Highland และยังต้องทำความรู้จักกับข้อบัญญัติสำหรับงานส่วนของวิชาชีพอื่นอย่าง UPC Uniform Plumbing Code, UMC Uniform Mechanical Code, NEC National Electrical Code เพื่อให้สามารถพอฟังพอคุยรู้เรื่องกับวิศวกรสาขาต่างๆที่ร่วมทำงานด้วยกัน

อเมริกามีการจำแนกลำดับความสำคัญของอาคารที่จะต้องมีความแข็งแรงเป็นพิเศษสามารถดำรงอยู่รองรับการใช้งานได้ภายหลังการเกิดหายนะภัย เพื่อเป็นที่รวบรวมผู้อพยพหนีภัย เช่น อาคารเรียน สนามกีฬา และที่สำคัญสูงสุดคือโรงพยาบาลที่ต้องสามารถให้การรักษาดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บจากสถานการณ์ต่างๆภายหลังจากการเกิดอุบัติภัย การออกแบบก่อสร้างโรงพยาบาลในแคลิฟอร์เนียที่ผมเคยไปร่วมทำงานที่บริษัท Harhish Morgan & Causey Architects ในช่วงระหว่างปี 1984-1990 จะต้องผ่านกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัดมากขึ้นในด้านความปลอดภัยของอาคารที่ควบคุมโดย Office of Statewide Planning and Development และ State Fire Marshall

ในแต่ละรัฐของประเทศอเมริกามี Building Officials Association ที่จัดการประชุมประจำปีขึ้นทั้งภายในรัฐและภูมิภาคหรือระดับประเทศ โดยมีการนำเอาข้อมูลจากการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติภัยต่างๆที่เกิดขึ้นในอาคารโดยเฉพาะอัคคีภัยมาถอดบทเรียนใช้เป็นฐานเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการก่อสร้างให้ทันสมัยสามารถอำนวยความปลอดภัยสูงสุดต่อผู้ใช้และอาศัยอยู่ในอาคาร ในปี 1994 ได้มีการ ก่อตั้ง International Code Council (ICC) เพื่อประมวลข้อบัญญัติการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศโดยจัดพิมพ์เป็น International Building Code (IBC) ฉบับแรกในปี 2000 โดยมีเป้าหมายให้มาแทนที่ UBC ฉบับสุดท้ายที่พิมพ์ออกมาในปี 1997 และ BOCA กับ SBC ที่หยุดพิมพ์ไปในปี 1999  IBC ยังมีการใช้ในประเทศที่รับอิทธิพลการออกแบบก่อสร้างของอเมริกาไปโดยตรง เช่น Abu Dhabi, the Caribbean Community, Colombia, Georgia, Honduras, Afghanistan และ Saudi Arabia แต่ในแคลิฟอร์เนียที่ถือว่ามีมวลเศรษฐกิจสูงและมีเงื่อนไขภัยธรรมชาติค่อนข้างร้ายแรงกว่ารัฐอื่นๆ ในปี 2011ก็มีการออก California Building Code (CBC 2010) มาเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการก่อสร้างเฉพาะในรัฐแคลิฟอร์เนีย

BUILDING AND FIRE HAZARDS
อันตรายร้ายแรงที่สุดที่สามารถเกิดขึ้นในอาคารสิ่งปิดล้อมที่มนุษย์ก่อสร้างขึ้นคือไฟไหม้ จากสถิติของประเทศอเมริกาความเสียหายสูงที่สุดเกิดขึ้นกับอาคารประเภทที่อยู่อาศัยชนิดต่างๆ โดยสูงสุดคือบ้านพักอาศัยที่เป็นอาคารแยกเดี่ยว รองลงมาคืออาคารอยู่อาศัยรวมทั้งแบบอพาร์ทเมนท์ หอพักและโรงแรม การเสียชีวิตของเหยื่ออัคคีภัยส่วนมากเกิดจากการสำลักควันไฟและก๊าซพิษจากการเผาไหม้ โดยเพียงประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ตายจากการถูกไฟคลอกและสาเหตุอื่นๆ เหยื่ออัคคีภัยส่วนใหญ่คือเด็กและผู้สูงอายุคนชรา

TYPES OF OCCUPANCY AND BUILDING ELEMENTS: FIRE BARRIERS
กฎข้อบังคับการก่อสร้าง IBC แบ่งออกเป็น 35 บทคล้ายกับของ UBC ที่ผมเคยต้องลูบคลำมาตลอดชีวิตการทำงาน 20 กว่าปีในอเมริกา บทที่ 3 ถึง 9 เน้นความสำคัญของการออกแบบอาคารตามลักษณะกิจกรรมการใช้และวัสดุก่อสร้างที่ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยโดยเฉพาะจากอัคคีภัยเป็นหลัก บทที่ 10 กล่าวถึงองค์ประกอบที่น่าจะสำคัญที่สุดคือเส้นทางการสัญจรภายในอาคารที่เชื่อมต่อมาสู่ตำแหน่งจุดเข้าออกจากอาคาร EGRESS & EXIT บทที่ 11 ให้ความสำคัญกับความสามารถเข้าถึงและออกจากอาคารสำหรับผู้ทุพพลภาพ บทที่ 12 ถึง 15 กล่าวถึงเปลือกภายนอกของอาคาร Building Envelope บทที่ 16 ถึง 31 เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้างและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆที่ใช้ในอาคาร บท 32-35 กล่าวถึงพื้นที่รอบอาคาร ตามมาด้วยภาคผนวก A ถึง L ซึ่งมีการเพิ่มเติมเนื้อหาน่าสนใจเข้ามาอีกหลายอย่าง บรรจุอยู่ในเอกสาร 679 หน้า ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดมาอ่านศึกษาได้จาก http://bechtel.colorado.edu/~willam/4830%202006%20IBC.pdf  และถ้านึกสนุกอาจลองเอามาเปรียบเทียบกับ พรบ.การก่อสร้างอาคารของเราดูบ้าง

หลังจากทำงานอยู่ในอเมริกาจนพอคุ้นเคยกับระบบการออกแบบอาคารที่เน้นถึงความปลอดภัย เมื่อกลับมาอยู่ประเทศไทยปีแรกๆก็ออกรู้สึกหวั่นไหวกับวิธีการก่อสร้างที่คล้ายเน้นหนักไปทางสร้างรูปลักษณ์สวยงาม ปี 1997 ที่ผมยังพอมีกำลังทรัพย์สามารถทำตัวเป็น Expat ได้ไปเช่าห้องพักอยู่แถวซอยหลังสวน วันหนึ่งมองออกหน้าต่างไปก็ได้เห็นเหตุไฟไหม้ President Tower เห็นคนหนีตายตะกายขึ้นไปอยู่บนหลังคาตึกรอการช่วยเหลือจากเฮลิคอปเตอร์ที่ไม่อาจลงจอดบน Helipad เนื่องจากความผันผวนของกระแสลมในภาวะไฟไหม้ 

ถึงแม้อัคคีภัยในตึกสูงและอาคารสาธารณะจะเกิดขึ้นน้อยครั้งกว่าอาคารที่พักอาศัยที่เป็นอาคารเดี่ยวและ Low rise แต่ด้วยขนาดและความสูงของอาคารทำให้เป็นอุบัติภัยที่ร้ายแรงน่ากลัวได้มากกว่า เมื่อปี 1974 เคยมีภาพยนตร์ The Towering Inferno ออกมาฉายให้นักศึกษาสถาปัตย์อย่างผมพอได้รู้สึกผยองว่าสถาปนิกก็อาจได้บทเป็นพระเอกบ้างเหมือนกัน (ที่จริงผมก็ยังข้องใจอยู่ในเรื่องการปล่อยน้ำจากถังเก็บบนหลังคาพรวดเดียวลงมาดับไฟได้ทั้งตึก..???) แต่กรุงเทพประเทศไทยตอนนั้นก็มีแค่อาคารโชคชัยอินเตอร์เนชั่นแนลที่เป็นแท่งสูงที่สุดบนถนนสุขุมวิท ใครจะไปคิดว่าใน พ.ศ.ปัจจุบันกรุงเทพเมือง Bang Cock ของเราจะมากลายเป็นมหานครแห่งตึกรกฟ้า...เอ๊ย..ระฟ้า 

คงไม่มีใครอยากได้รับเกียรติจากการถูกกล่าวถึงในแง่บทเรียนจากอุบัติภัยที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอย่างกรณีอาคาร President Tower ที่ถูกนำมาเป็นตัวอย่างในบทบรรยาย Fire Cavity Barriers for Curtain Wall Facades https://www.youtube.com/watch?v=p5_B3fIUJOM แต่หลายปีต่อมาในประเทศสเปนก็มีกรณีอุบัติภัยอย่างเดียวกันที่ร้ายแรงยิ่งกว่า
 
กรณีไฟไหม้ที่ Santika Club https://www.youtube.com/watch?v=sLw4xds3M_Q  ก็เป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลก และแน่นอนกรณีไฟนรกบนถนนเพชรบุรีในปี 2533 https://www.youtube.com/watch?v=fAJp5j6DHJs เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความไม่ปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น จะว่าไปเหตุการณ์อย่างนี้อาจเกิดขึ้นได้ทุกที่ในโลกเมื่อมนุษย์มีความประมาทเลินเล่อหรือเห็นแก่ประโยชน์โดยไม่คิดให้รอบคอบถึงความเสียหายวินาศสันตะโรต่อผู้อื่นในโลกและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดตามมาจากการกระทำของตนเอง

เหตุการณ์ที่เห็นจาก President Tower คราวนั้นทำให้เป็นคนออกจะติดกลัวขี้ขึ้นสมองเมื่อต้องขึ้นไปบนตึกสูงๆหรืออาคารใหญ่โตในเมืองกรุงเทพแห่งนี้ ถ้ามีธุระจำเป็นต้องเข้าไปก็ต้องคอยมองหาทางหนีทีไล่เอาไว้เสมอหรือคอยอยู่ใกล้ทางหนีออกจากอาคาร ยิ่งในการทำงานต่อมาได้ไปพบเจอสภาพแทบไม่น่าเชื่ออย่างเช่นการใช้ประตูไม้ไร้ขอบยางกันควันในห้อง Fireman Lift ในอาคารสูงแห่งหนึ่ง อยู่มาอีกสิบกว่าปีพอชักจะคุ้นชินก็มีโอกาสไปได้ยินผู้บริหารระดับสูงของ กทม.ท่านหนึ่งกล่าวว่า 70% ของอาคารในกรุงเทพมหานครนี้หากเกิดอัคคีภัยขึ้นน่าจะมีคนตายกันเป็นเบือ และเมื่อได้ไปร่วมทำงานการตรวจอาคารบางแห่งก็พบสภาพที่ทำให้ไม่ค่อยสบายใจอย่างเช่น การเอาสิ่งของไปวางขัดประตูหนีไฟให้เปิดค้างไว้ บางแห่งคุณภาพต่ำของการก่อสร้างทำให้ประตูหนีไฟเปิดได้ไม่เต็มที่ ก็ได้แต่เขียนรายงานกันไปส่วนจะมีการเอาไปแก้ไขกันอย่างไรหรือไม่นั้นก็คงต้องแล้วแต่บุญกรรม 

ที่จริงการตรวจสภาพอาคารควรเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานดับเพลิงในแต่ละท้องถิ่นอย่างเช่นในอเมริกาที่ผมเคยเห็นออกมาเยี่ยมตรวจอาคารสาธารณะในเขตพื้นที่รับผิดชอบอยู่เสมอ ตรวจการทำงานของเครื่องดับเพลิง อุปกรณ์สัญญาณและทางหนีไฟในอาคารให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน และแน่นอนว่าหากเกิดกรณีอุบัติภัยขึ้นเจ้าพนักงานดับเพลิงนั้นก็จะต้องเป็นคนที่สามารถเข้าไปในอาคารและรอดชีวิตออกมาได้พร้อมกับผู้ที่เกือบจะกลายเป็นเหยื่ออยู่ในอาคารนั้น 

หลังเหตุการณ์ 7/11 กันยายน อเมริกาถึงกับมีการตั้งกระทรวง Homeland Security และนำระบบ GIS มาใช้บันทึกข้อมูลผังเส้นทางของอาคารและข้อมูลสภาพสถานะของผู้ใช้อาศัยอยู่ในอาคารโดยเฉพาะอาคารสูง เพื่อให้การกู้ภัยสามารถทำได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพสูงสุด แต่สถานะปัจจุบันจะเป็นอย่างไรผมก็ไม่ได้ติดตามศึกษา ของบ้านเราก็เคยได้ยินแว่วๆว่าจะทำกันอยู่ แต่ระบบเก็บข้อมูลดิจิตัลจีไอเอสที่เที่ยงตรงแม่นยำเกินไปก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้แบบกระดาษบันทึกข้อมูลในวงการก่อสร้างอันเต็มไปด้วยเสน่ห์และเล่ห์กลของสยามเมืองยิ้ม

เพื่อควบคุมการลุกลามของไฟและควันที่แพร่กระจาย พื้นที่ในอาคารขนาดใหญ่และอาคารสูงต้องสามารถแบ่งแยกออกจากกันเป็นส่วนๆทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง VERTICAL & HORIZONTAL COMPARTMENTATION ประมาณปี1990 ก่อนที่ผมจะย้ายจาก HMC Architects กลับไปอยู่กับเทคโนโลยี GIS ที่ ESRI การออกแบบโรงพยาบาลก็เริ่มมีข้อบังคับให้แยก Elevator Lobby ออกจากทางเดินในอาคารด้วยประตูกันไฟ สถาปนิกที่ไม่ใคร่มักชอบการแยกส่วนปิดกั้นก็ต้องไปเร่งให้วิศวกรไฟฟ้าคิดหาวิธีควบคุมการปิดเปิดประตูด้วยระบบสัญญาณต่างๆ การปิดแยกส่วนช่องเปิดโล่งภายในอาคารที่เคยพยายามคิดกันจนหัวหมุนกับเพื่อนสถาปนิกบางคนเพื่อไม่ให้อาคารดูกลายเป็นกล่องทึบ ปัจจุบันก็มีผู้ค้นคิดม่านปิดกันควันและไฟที่สามารถใช้กับช่องเปิดขนาดใหญ่ได้มากขึ้น 

ปัจจุบันในอาคารสาธารณะทุกประเภทในแคลิฟอร์เนียและบางรัฐในอเมริกาน่าจะมีการบังคับให้แยก Elevator Lobby ออกจากทางเดินในอาคาร และอาจรวมไปถึงอาคารสูงที่เป็นที่พักอาศัยด้วย แต่ในไทยเมื่อผมไปเยี่ยมลูกชายมาเที่ยวพักร้อนจากอเมริกากับเพื่อนบนที่พักชั้นเกือบสูงสุดของโรงแรมหรูแถวถนนสีลมก็ยังไม่พบการแยก Elevator Lobby และเมื่อหลายปีมาแล้วเคยจะไปฟังการประชุมเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยในอาคารที่จัดโดยหน่วยงานแห่งหนึ่ง ไปพบห้องประชุมอยู่บนชั้นสูงสุดของอาคารที่มีประตูกระจกเปิดเข้าถึงได้โดยตรงจากโถงลิฟต์ก็เลยต้องรีบลากลับ

OCCUPANCY / PEDESTRIAN EVACUATION ในห้องหรืออาคารที่มีคนเข้าไปอยู่น้อยกว่า 50 คนก็อาจมีทางออกเพียงประตูเดียวได้ตามกฎหมายการก่อสร้างอาคาร แต่ตามกฎแห่งความปลอดภัยทางออกจากพื้นที่ใดๆควรมีอย่างน้อยสองช่องทาง ห้องพักอาศัยที่มีประตูเข้าออกบานเดียวก็อาจใช้หน้าต่างเป็นทางออกในกรณีฉุกเฉิน ประเด็นพิจารณาของทางเข้าออกมี 2 เรื่องหลักคือจำนวน ขนาดความกว้าง ความสามารถกันควันและไฟของประตูทางออกนั้นอยู่ในหมวดของส่วนองค์ประกอบอาคารและวัสดุก่อสร้าง มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าคนเรามักจะใช้เส้นทางเดิมในการเข้าและออกจากห้องแม้ว่าพื้นที่นั้นจะมีหลายประตูก็ตาม 

ในเหตุฉุกเฉินที่คนจำนวนมากอยู่ในภาวะตื่นตระหนกการอพยพหนีออกจากพื้นที่อาจทำให้เกิดอันตรายจากการถูกเบียดอัดหรือเหยียบย่ำกันในเส้นทางไปสู่ประตูทางออก ซึ่งได้เคยเกิดเป็นโศกนาฏกรรมขึ้นหลายกรณี เคยอ่านพบในรายงานการศึกษาหนึ่ง(ยังไม่พบแหล่งข้อมูลที่นำมาอ้างถึงนี้) ว่าสิ่งที่อาจช่วยความปลอดภัยคือเสาแข็งแรงที่ติดตั้งเป็นระยะอยู่กลางเส้นทางอพยพ สามารถช่วยป้องกันไม่ให้ผู้อยู่ตรงกลางและอาจล้มลงไปถูกเหยียบย่ำโดยคนที่โถมดันมาจากด้านหลัง ซึ่งอาจจะดูขัดแย้งจากมุมมองทั่วไป รายงานการศึกษา Dual effects of guide-based guidance on pedestrian evacuation https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S037596011730333X แสดงให้เห็นว่าการตั้งหลักขวางไว้ในเส้นทางอพยพที่มาตัดข้ามกันและที่ประตูทางออกนั้นช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อย่างมีนัยสำคัญ

ฝูงคนที่แตกตื่นนั้นเป็นสิ่งน่ากลัวอย่างยิ่ง มีกรณีโศกนาฏกรรมมากมายที่บันทึกจำนวนคนหลักร้อยถึงพันที่ถูกเหยียบย่ำหรือบีบอัดจนเสียชีวิต จากการทำแบบจำลองพบว่าจุดวิกฤติอยู่ที่บริเวณใกล้จะถึงทางออก ซึ่งหากมีคนใดคนหนึ่งเริ่มล้มลงไปเนื่องจากไม่สามารถต้านแรงดันมหาศาลที่มาจากด้านหลังก็จะพาคนข้างๆล้มตามกันไปด้วย แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นก็จะยิ่งทำให้คนด้านหลังที่มองไม่เห็นยิ่งเกิดความแตกตื่นและยิ่งพยายามผลักดันไปข้างหน้าแรงขึ้น 

อาจเป็นความชราที่กำลังมาถึงหรืออะไรก็ตาม ปัจจุบันผมมักจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในสถานที่ชุมนุมคนจำนวนมาก และถ้าต้องเข้าไปก็จะพยายามเลือกอยู่ใกล้ทางออกมากที่สุด บางพื้นที่แออัดคับแคบและค่อนข้างอับแสงอย่างเช่นตามตลาดนัดบางแห่งนั้น ถ้าเพียงมีใครตะโกนขึ้นว่า”ไฟไหม้” ความแตกตื่นโกลาหลก็จะเกิดขึ้นโดยฉับพลันทันทีแม้ไม่ได้เห็นเปลวเพลิงหรือกลิ่นควันเมื่อทุกคนพยายามวิ่งกรูเบียดเสียดกันไปสู่ทางออก

ไปพบบทแนะนำการบริหารความปลอดภัยสำหรับฝูงชน https://www.mpi.org/docs/default-source/content-offers/mpisafety_security-best-practices-guide.pdf ซึ่งหากนักจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับฝูงชนนำมาศึกษาเตรียมความพร้อมไว้ก่อนก็คงจะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงความวิบัติที่อาจจะตามมาหรือทุเลาลงได้บ้างไม่มากก็น้อย

Terrorism in Building and Built Environment อันตรายอย่างใหม่ในอาคารและพื้นที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นคือการถูกบุกเข้ากราดยิง ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศที่เคยคิดกันว่าศิวิไลซ์อย่างอเมริกา และบัดนี้ความศิวิไลซ์นั้นก็ได้มาถึงประเทศไทยบ้างแล้ว อย่างเช่นกรณีที่โคราชที่เพิ่งเกิดขึ้น ที่น่าเป็นห่วงคือกรณีลัทธิเอาอย่างซึ่งในอเมริกามีสถิติว่ามักจะเกิดขึ้นซ้ำภายในเวลาไม่ถึงสองสัปดาห์หลังจากเหตุร้าย 

ในข้อเขียนของ David Riedman กล่าวถึงกรณีที่คำแนะนำ RUN. HIDE. FIGHT. อาจไม่สามารถนำไปใช้ได้ หากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอาคารที่มีทางเข้าออกจำกัดและมีผังแบบเปิดโล่ง โดยยกประเด็นตัวอย่างของ เวทีแสดงภายนอก ไนต์คลับหรือร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ โบสถ์ ศูนย์การค้า สถานีรถไฟใต้ดิน(รวมทั้งบนดิน) และสำนักงานแบบเปิดโล่ง 

ความจำกัดของช่องทางออกเกิดขึ้นเพื่อควบคุมคนจำนวนมากให้อยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อสะดวกต่อการเก็บเงินรายได้และป้องกันผู้ที่จะลักลอบเข้าไปโดยไม่จ่ายเงิน นักออกแบบมือเก๋ารายหนึ่งเคยบอกผมว่าเขาจงใจออกแบบทำศูนย์การค้าให้คนเข้าไปเดินวนหลงอยู่ในนั้น พยายามลากให้ผ่านทุกร้านเพื่อให้เกิดความอยากได้สินค้าที่วางล่อตาล่อใจ อีกอย่างที่ต้องไม่มีคือนาฬิกาและไม่ให้เห็นโลกภายนอก จะได้เพริดอยู่ในศูนย์การค้าได้นานที่สุด 

ความเปิดโล่งมองเห็นกันได้จากชั้นต่างๆของศูนย์การค้ากลายเป็นความเสี่ยงเมื่อมือปืนอยู่ในตำแหน่งสูง ในสถานที่แสดงดนตรีที่มีเสียงดังและแสงสลัวประกอบสีสันชวนให้ลุ่มหลงรวมทั้งมีเครื่องดื่มอัลกอฮอล์ทำให้ความเสี่ยงต่ออุบัติภัยมีมากขึ้น การแสดงสดที่ใช้ไฟประกอบเป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่งเช่นในกรณีไนต์คลับ Santika ในบ้านเราและในบาร์อีกหลายแห่งที่บางครั้งนักดนตรีผู้ชอบเล่นกับไฟต้องถึงแก่ชีวิต 

พื้นที่อับแสงและทางออกจำกัดยังอำนวยให้มือปืนที่บุกเข้าไปสร้างความเสียหายได้มากเช่นกรณีบาร์เกย์ที่ฟลอริด้า อันตรายในโบสถ์มีมากขึ้นเมื่อมือปืนบุกเข้าไปขณะที่คนส่วนใหญ่หันหลังให้ประตู การหลบหนีในโรงภาพยนตร์ทำได้ยากเมื่อผู้ก่อการร้ายถืออาวุธเข้าไปยืนกราดยิงลงมาจากบนเวที พื้นที่เสี่ยงในสถานีรถไฟใต้ดินและบนดินคือบริเวณบันไดเลื่อนที่มักมีความยาวและไร้ที่หลบภัยสำหรับทุกคนที่อยู่บนบันได สำนักงานแบบเปิดโล่งที่นิยมในปัจจุบันก็นับว่าเป็นพื้นที่ยากต่อการหลบไม่ให้ผู้อื่นเห็น

อเมริกานับว่าเป็นผู้นำโลกในกรณีกราดยิงในพื้นที่สาธารณะ ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1966 เมื่ออดีตทหารนาวิกโยธินที่ได้รับทุนให้มาศึกษาต่อในคณะสถาปัตย์ที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสในเมืองออสติน เกิดอาการคลั่งใช้มีดฆ่าแม่และภรรยาของตนแล้วหอบปืนและกระสุนขึ้นไปบนหอสูงในมหาวิทยาลัย แล้วซุ่มยิงลงมายังผู้คนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ที่เดินผ่านไปมาบนลานโล่งด้านล่าง มีคนเสียชีวิตไป 14 คนนับเป็นเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ Mass Shooting ของอเมริกาจนกระทั่งเกิดกรณีการบุกเข้าไปยิงคนตาย 21 ศพในร้าน McDonald’s ที่เมือง San Ysidora เมื่อปี 1984 ซึ่งในปีนั้นผมยังอยู่ในโหมดนักขับรถทำงานทางไกลจากบ้านที่อยู่ในเมือง Redlands ไปสำนักงานที่ Newport Beach และกำลังวางแผนว่าจะเดินทางไปติดต่องานที่เมืองนั้นในวันรุ่งขึ้น ในสมัยของประธานาธิบดีทรัมป์มหาวิทยาลัยในเท็กซัสและอีกหลายรัฐได้มีการอนุญาตให้นักศึกษาพกพาอาวุธได้ นัยว่าเพื่อเอาไว้ต่อสู้ป้องกันตัว

ปี 2019 ที่ผ่านมามีข้อมูลว่าอเมริกาได้มีเหตุการณ์ยิงกราดเกิดขึ้นแล้ว 255 ครั้งมากกว่าจำนวนวันที่ผ่านไปในปีนั้น อย่างไรก็ตามจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ Mass Shooting ก็มีเพียง 2% ของผู้ที่ต้องตายจากอาวุธปืนทั่วประเทศ และก่อนที่จะปริวิตกกันให้มากไปในเรื่องนี้ก็อยากให้ลองฟังที่ Yuval Noah Harari พูดว่า “ความกลัวนั้นมีอันตรายยิ่งกว่าผู้ก่อการร้าย” https://www.bbc.co.uk/programmes/p04z2b7c

ข้อสรุปสำหรับผมที่ทำได้และควรทำคือการพึงมีสติรู้ตนอยู่เสมอเมื่อออกไปอยู่ในที่สาธารณะแหล่งชุมนุมของผู้คน หลีกเลี่ยงการพาตนเข้าไปอยู่ในสถานที่อโคจรอันจะพาตนไปสู่สภาวะคับขัน และคอยมองหาประตูทางออกเอาไว้
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments
 
 
ความปลอดภัยในสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น Safety in Built Environments


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




เมืองงาม / Urban

ตลาดยิ่งเจริญ ครบรอบ 67 ปี เดินหน้าพัฒนาธุรกิจมุ่งสร้าง “ศูนย์กลางชุมชน” ภายใต้แนวคิด “สะพานใหม่ แลนด์มาร์ค” ตามนโยบาย “Y Together”
“สมาคมธนาคารไทย” หนุน “กทม.” ขับเคลื่อนสู่เมืองเศรษฐกิจสีเขียว สร้างการเติบโตยั่งยืน
แนวทางการร่วมบูรณาการเพื่อพัฒนา “อีอีซี” สู่เมืองน่าอยู่อัจฉริยะ ความท้าทายของทุกภาคส่วน ในการเป็น ‘สมาร์ทซิตี้’
“กรุงไทย” ยกระดับฉะเชิงเทราสู่เมืองอัจฉริยะ 5 Smart ครอบคลุมวิถีชีวิตยุคใหม่
ยกระดับฉะเชิงเทราสู่ Smart City
สมาคมเพื่อนชุมชนรับโล่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ 4
MQDC ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายการสร้างเมือง Smart City
Beautiful Bangkok : Smartphone Photo Contest
ทิศทางอนาคตโมเดลจัดการน้ำประเทศไทย 4.0
แก้ปัญหา "น้ำท่วม-ฝนแล้ง" ในระยะยาว...ได้หรือไม่ ?
อุสเบกิสถาน..เมืองประวัติศาสตร์โลก
ภูเก็ตพัฒนาเมือง...เปิดตัวบริษัทในเครือ ปี 2017
คลองดำเนินสะดวกปี พ.ศ.2513
มนต์เสน่ห์..อิตาลี
ศสช. เผย 5 “จังหวัดที่มีคนจนมากที่สุด”ในประเทศไทย
เที่ยวเมืองงาม-SaintPetersburg Russia
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร
จักรยาน (น้ำ) คืนชีวิตให้คลองบางลำพู
การผังเมืองไทยจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติ
แนวคิดปรับปรุงการสัญจรบริเวณซอยอารีย์ ถนนพหลโยธิน
ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองของกรุงปารีส
แผนที่การใช้ที่ดิน กทม.
Urban Geography: Why We Live Where We Do
การพัฒนาพื้นที่บริเวณถนนสาทร
การพัฒนาโครงข่ายพื้นที่สีเขียวกรุงเทพมหานคร
พระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM