ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

เผยแพร่โดย   ฺBuffettCode

 

เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

 

ถ้าคุณใช้เงิน 1 ล้านบาทซื้อกระเป๋า Hermès ในปี 2010 คุณจะได้กระเป๋าประมาณ 3 ใบ (ตีราคาใบละประมาณ 330,000 ละกันครับ) แต่ถ้าคุณเอาเงินไปซื้อหุ้น Hermès ก่อนแล้วรอจนถึงวันนี้คุณจะสามารถซื้อกระเป๋า Hermès ได้ถึง 12 ใบเลยทีเดียว อ่าวทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ? งงเด้! งงเด้!

 

ก็ถ้าคุณซื้อหุ้น RMS (Hermès) ในปี 2010 ที่ราคา 99.65 ยูโร ถ้าเราถือมาถึงวันนี้หุ้น RMS จะมีมูลค่าถึง 435.30 ยูโรเลยทีเดียวใช้เวลา 6 ปีขึ้นมาถึง 336% นอกจากนั้นระหว่างทางยังมีปันผลทุกๆปีอีกด้วยเรียกได้ว่างานนี้ได้ทั้งกระเป๋าแถมเอาปันผลไปจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินพร้อมโรงแรมและอาหารเพื่อบินไปซื้อถึงที่ได้อีกด้วย สุดยอดมั้ยล่ะ?

 

ผมเองได้ยินชื่อเสียงมานานว่า Hermès เป็นกระเป๋าที่ใฝ่ฝันสำหรับคุณสุภาพสตรีไม่ว่าจะวัยไหน ทำงานอะไร อายุเท่าไหร่ ถือว่าใครๆก็อยากได้ล่ะ แต่วันนี้พอผมมาเห็นราคาหุ้นของ Hermès แล้ว โอโหนี่มันสุดยอดยิ่งกว่ากระเป๋าซะอีก จะมีอะไรดีไปกว่าการได้เป็นเจ้าของบริษัทระดับตำนานขาใหญ่อุตสาหกรรม 3 แสนล้านเหรียญอย่าง Hermès ที่ให้ผลตอบแทนดีขนาดนี้อีกล่ะครับ? แต่เบื้องหลังของผลตอบแทนดีๆแบบนี้มันมีอะไรกันแน่นะ?

 

เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

 

ปัจจุบัน Hermès มีพนักงานกว่า 12,244 คนมีร้านอยู่ 307 ร้านโดยเป็นคนดำเนินงานเองถึง 210 ร้าน Hermès ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ 177 ปีที่แล้วโดยช่างทำบังเหียนม้า (ที่เป็นเชือกเอาไว้บังคับม้าอ่ะครับ) ชื่อว่า Thierry Hermès จริงๆแล้วโรงงาน Hermès ที่ก่อตั้งขึ้นมาเนี่ยไม่ได้จะเอามาผลิตกระเป๋าขายแต่แรกนะ ก็ตามอาชีพเค้าเลยครับคือตอนแรกเค้าจะผลิตบังเหียนขายแต่แล้วธุรกิจก็ไปได้สวย พอมาถึงรุ่นลูกก็เลยขยายไปทำอานม้าด้วย(ที่นั่งบนม้า) โดยขายให้กับชนชั้นสูงไปทั่วโลก

 

แต่แล้วในปี 1918 รถยนต์เริ่มเข้ามาแทนที่ม้าทำให้หลานของ Thierry Hermès ชื่อ Emile Hermès ก็เริ่มคิดแล้วว่าถ้ายังทำบังเหียนม้าขายวันนึงคงโตต่อไปไม่ได้แน่ๆเผลอๆอาจจะเจ๊งไปเลยด้วยซั้า ดังนั้นเขาจึงพลิกธุรกิจที่ทำมาตั้งแต่รุ่นปู่ โดยมาริเริ่มทำเครื่องหนังและกระเป๋าเดินทางจนประสบความสำเร็จ พอมาถึงรุ่นลูกเขยของ Emile ที่เข้ามาพัฒนาต่อก็มีทำสินค้าเพิ่ม เริ่มทำผ้าพันคอ, เสื้อโค้ท, ไดอารี่, นาฬิกาและเครื่องประดับกลายมาเป็น Hermès ที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้

 

เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน      เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

 

สินค้าที่ขายดีที่สุดใน Hermès ก็คงเดากันได้คือ เครื่องหนังนั่นเองครับโดยมีสัดส่วนรายได้ที่ 45% รองลงมาคือเสื้อผ้าที่ 23% สัดส่วนไม่ค่อยเปลี่ยนเท่าไหร่นักจากในปี 2006 แต่สิ่งที่น่าสนใจคือรายได้และกำไรที่เพิ่มสูงขึ้นมาใน 10 ปีที่ผ่านมาครับ

ในปี 2006 RMS มีรายได้ที่ 1,514 ล้านยูโร กำไร 268 ล้านยูโร และพนักงานทั้งสิ้น 6,825 คน หรือคิดเป็นยอดขายต่อพนง. 1 คนที่ 0.22 ล้านยูโร ในปี 2015 ปัจจุบันรายได้ของ RMS อยู่ที่ 4,841 ล้านยูโร กำไร 972 ล้านยูโรและพนักงาน 12,244 คนคิดเป็นยอดขาย 0.39 ล้านยูโร นอกจากยอดขาย,กำไรที่เพิ่มขึ้นแล้ว ประสิทธิภาพของพนักงานเองก็สูงขึ้นด้วย

โดยประมาณตั้งแต่ปี 2006 กำไรโต 1 เท่าตัวทุกๆ 4-5 ปีจากการขยายสาขา, การจัดการที่มีประสิทธิภาพ, แบรนด์อันแข็งแกร่งและความต้องการสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นมาก (ขนาดขายแพงขนาดนี้นะ -_-;)  และในปี 2006 ลูกค้าเบอร์ 1 ของ Hermès คือประเทศญี่ปุ่นที่ 27% รองลองมาคือประเทศต้นกำเนิดของ Hermès ฝรั่งเศสนี่เอง 19% เท่ากับยอดขายในทวีปยุโรปและอันดับ 4 คือ Asia ex. Japan ที่ 17% จากปี 2006 – 2010 ราคาหุ้น RMS ขึ้นมาจากประมาณ 60 ยูโรเป็น 100 ยูโร ขึ้นมาประมาณ 60% โดยใช้เวลา 4 ปี

เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

ถ้าจำกันได้ช่วงนั้นเป็นช่วงฟื้นตัวจาก Hamburger crisis พอดีแม้จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหนักแต่รายได้ของ RMS ไม่มีตกเลยนะครับกำไรก็บวกตลอดๆเบาๆจนมาบวกเยอะในช่วงปี 2010 (หุ้นโรงพยาบาลที่ว่าแน่เจอ RMS เข้าไปยังต้องอายครับ ไม่ defensive เฉยๆยังโตสวนได้ด้วย)

ซึ่งผู้บริหารก็ได้กล่าวถึงผลประกอบการปี 2009 ไว้ว่าเป็น “การหลบหลีกอันงดงาม” จากผลประกอบการที่ยังเติบโตได้แม้สภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย และในปีนั้นเองก็ได้ทำการขยายสาขาเข้าไปในประเทศอย่างบราซิล, ตุรกีและฟิลิปปินส์ โดยได้มีแง้มๆไว้ว่าปี 2010 จะเป็นปีที่เป็น “ตำนานที่ต้องเล่าขาน” ในปีนั้นยอดขายของ Asia ex. Japan เริ่มสูงขึ้นมาเป็น 22% ของทั้งหมดโดยโตมาถึง 29% นำโดยจีน, มาเก๊าและฮ่องกง

ในรายงานประจำปี 2009 อธิบายไว้ชัดมากๆว่า กำลังซื้อมีเกินกำลังผลิตมากทำให้ Hermès ต้องเปิดโรงงานเพิ่ม (ฮือออออ…..เราเจอกันช้าไป) และในปัจจุบัน Asia ex. Japan เป็นยอดขายสัดส่วนถึง 35% มากกว่ายุโรปรวมกับฝรั่งเศษที่เป็นประเทศต้นกำเนิดซะอีก อะไรทำให้เหล่าเศรษฐีใหม่เอเซีย  Crazy ได้ขนาดนั้น? เป็นเพราะ Brand อย่างเดียวเลยมั้ยที่ทำให้สำเร็จ ผลสำเร็จขนาดนี้มาได้ยังไง คำตอบก็คือ Premium business model ที่ยอดเยี่ยมครับ

 

เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

Premium business model ของ Hermès มีจุดเด่นใน 3 องค์ประกอบหลักด้วยกันคือ Supply chain, Innovation และ Human Resources

1.  Supply chain – คำถามคือคุณคิดว่าต้องใช้เวลาเท่าไหร่ในการผลิตกระเป๋าหนึ่งใบของ Hermès? คำตอบ 15 ชั่วโมง!!! และประมาณ 15 ใบต่อเดือนต่อช่าง 1 คน ไม่เยอะเลยเพราะต้องใช้ฝีมือจากช่างในการทำมือกระเป๋าทั้งใบ Hermes เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการทำ Vertical integration มากที่สุดบริษัทหนึ่งเพื่อให้มั่นใจว่า “ดีที่สุด” ในแต่ละขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่างๆ

Hermès ยังควบคุมการผลิตของสินค้ากว่า 80% ที่ขายทั้งยังไม่มีการขาย License ออกไปให้ใครผลิตทั้งสิ้น อารมณ์ถ้า Hermès ไม่ทำรองเท้ากีฬาอาจจะ License แบรนด์ให้บริษัทอื่นทำขายได้เพราะแบรนด์ Hermès ทรงพลังมากยังไงก็ขายได้จะได้ Utilize สินทรัพย์ที่พวกเขามีซึ่งก็คือแบรนด์เพิ่มได้ด้วย แต่พวกเขาก็เลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้นเพื่อการควบคุมคุณภาพของสินค้าและบริการที่จะนำไปสู่การควบคุมคุณภาพของแบรนด์อย่างเบ็ดเสร็จด้วยเช่นกัน

ในด้านการจัดจำหน่าย Hermès จัดจำหน่ายผ่านร้านค้าและแฟรนไชส์ของบริษัทเท่านั้น เราจะไม่เห็นกระเป๋า Hermès ขายใน Duty free หรือเป็นบู้ทเล็กๆถ้าขายต้องเป็น Stand alone shop เพื่อที่ Hermès จะสามารถควบคุมคุณภาพของการบริการลูกค้าได้

Business model นี้ทำให้ Hermès มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรสูงที่ 22% มากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 19% นอกจากนั้นยังมีการลงทุน (Capex) เพื่อพัฒนาการผลิตและเครือข่ายจัดจำหน่ายมากกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมด้วย

 

เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

2.  Innovation – นวัตกรรมไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำให้กระเป๋าชาร์จมือถือได้หรือมี 4G รู้หรือไม่ว่ากระเป๋าที่เราเห็นว่ามันเรียบๆ ไม่มีอะไร ขายโคตรแพงเนี่ยมันสุดยอดแห่งนวัตกรรมนะครับ Hermès ซึ่งอายุอานามก็จัดไป 177 ปีแล้วเรียกได้ว่าเป็นรุ่นทวด แต่เป็นบริษัทที่ฟอร์ฟ(Forbes) จัดอันดับให้เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมสูงสุดอันดับที่ 13 ของโลกสูงกว่าบริษัทใหม่ๆอย่าง Netflix, Priceline หรือ Starbuck ซะอีก

ทุกๆ 6 เดือน Hermès จะปรับเปลี่ยน 1/3 ของสินค้าของพวกเขาที่มีกว่า 50,000 sku และแม้ Hermès จะคุม Supply chain ของพวกเขาอย่างเข้มงวดแต่นักออกแบบของ Hermès นั้นเป็น Freelance ถึง 60% Freelance designer จะไม่ถูกยึดติดอยู่กับวัฒนธรรมหรือวิธีคิดแบบ Hermès ทำให้มี Idea และ Concept ใหม่ๆมาทำสินค้าตลอดเวลาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะการทำสินค้าใหม่ๆ ด้วยกระบวนการที่ไม่มีใครทำได้ นอกจากจะได้สินค้าใหม่ๆแล้วยังทำให้การ “ก๊อปเกรด A” นั้นทำได้ยากขึ้นด้วย

ล่าสุด Hermès ได้เริ่มต้น Project ใหม่ชื่อ “Petit H” เป็นการนำเอาของที่มีตำหนิขายไม่ได้หรือถูกส่งคืนของ Hermès มาใช้ใหม่ ทำสินค้ากุ๊กกิ๊กน่ารักมาขายดูดเงินในกระเป๋าลูกค้าเพิ่มเติมอีกด้วยแทนที่จะนำไปทำลายแบบเดิม และแน่นอนว่าถึงแม้จะเป็น recycle แต่มันเป็น Hermès ดังนั้นราคาไม่มีตํ่ากว่า 3-4 หมื่นบาท

เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่ฉลาดมากๆและ Utilize คุณค่าของแบรนด์และวัตถุดิบชั้นดี ซึ่งหายากได้อย่างโหดสัสฝรั่งเศสจริงๆ


เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

3.  Human resource – HR เนี่ยเป็นหลักของ Business model ของ Hermès เลยนะครับ เช่น การจัดหาช่างฝีมือมาทำกระเป๋าระดับ Hermès เนี่ยไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ดังนั้น Hermès จึงเลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับโรงเรียนเพื่อผลักดันความเป็น Hermes เข้าไปกันตั้งแต่เรียนเลย

Axel Dumas รุ่นที่ 6 ของตระกูล Hermes CEO คนปัจจุบันได้กล่าวไว้ว่า “จุดแข็งของ Hermès คือความหลงไหลในงานฝีมือ(Craftmanship), เราเห็นตัวเราเองเป็นช่างฝีมือ(Craftman)” ปัจจุบัน Hermès มีช่างอยู่ประมาณ 3,000 คน มี Turnover rate ค่อนข้างตํ่า ประมาณ 1/3 ของพนักงานทั้งหมดอยู่กับ Hermès มามากกว่า 10 ปี มีค่าเฉลี่ยของอายุงานอยู่ที่ 9 ปี 60% ของพนักงานทั้งหมดเป็นคนฝรั่งเศส

ลองคำนวณเล่นๆช่าง 3,000 คนทำได้เดือนละ 15 ใบ 12 เดือนแปลว่า Hermès จะผลิตกระเป๋าได้ปีละประมาณ 540,000 ใบต่อปี 35% หรือประมาณ 189,000 ใบ มาที่ Asia ex. Japan ไม่เยอะเลยนะครับแค่เศรษฐีชาวจีนก็หมดแล้วมั้ง?

แต่สิ่งที่น่าตกใจในเรื่องของช่างฝีมือของ Hermès คือแม้สินค้าของ Hermès จะมีคุณภาพขั้นสูงสุด แต่จริงๆ แล้ว Hermès ไม่มีแม้แต่ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ (QC) ด้วยซํ้าไป ! คำตอบของคุณภาพระดับสุดยอดคือช่างทุกคนเป็นฝ่ายตรวจสอบของตนเอง !

และนี่คือผลของความเข้มข้นในการให้ความสำคัญกับ HR ของ Hermès

ไม่ใช่แค่นั้น ! ได้มีการไปสัมภาษณ์ CEO มาเขาบอกว่า Hermès ไม่มีฝ่ายการตลาด เพราะการตลาดคือธุรกิจหลักของบริษัทอยู่แล้ว ดังนั้นทุกคนจึงคิดเรื่องการตลาดกันอยู่แล้วก็เหมือน Mckinsey ที่ไม่มีแผนกที่ปรึกษาและ Microsoft ที่ไม่มีแผนก Software

 

เรื่องเล่าของ Hermès ตำนานที่ต้องเล่าขาน

เคล็ดลับของ Hermès จริงๆแล้วก็ไม่ได้เริ่มที่ตัวสินค้าที่มีคุณภาพหรือแบรนด์อันแข็งแกร่งเพียง แต่จุดสำคัญคือคุณภาพของสายตาและมือของช่างฝีมือเหล่านี้ที่เป็นรากฐานให้ Hermès เติบโตมาได้ถึง 177 ปีนับว่าเป็นธุรกิจที่ Build to last ด้วยมือและหัวใจของคนที่เปี่ยมด้วยความรักที่จะสืบสานให้งานฝีมือมีชีวิตอยู่รอดต่อไปอย่างแท้จริง

ส่วนเรื่องก๊อปเกรด A ที่มักจะกังวลกันเราจะเห็นว่าบริษัทเทพๆเค้าไม่ได้กลัวเลย ก็จัดการด้วยการ Innovation และการทำสินค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง ฝีมือช่างมากประสบการณ์,

ใครว่าบริษัทอายุเยอะเป็น family business ต้องติดอยู่กับเรื่องเก่าๆวัฒนธรรมเดิมๆก็ต้องยํ้าอีกทีว่า Hermès เองก็ 177 ปี ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังเป็นคนในครอบครัวซะด้วยและยังควบคุมทุกส่วนกันจนคนใน องค์กรบอกว่าถ้ามีคนในครอบครัว Say yes แล้วใครจะกล้า Say no ถือว่าครอบครัวมีส่วนอย่างมากในการบริหารแต่ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร,

ใครบอกโลกยุคใหม่แล้วต้องมีหุ่นยนต์ออโต้เมท แอ๊ดเห็น Hermès มีแต่ออโต้มือ, ใครบอกบริษัทเล็กต้องแพ้บริษัทใหญ่ RMS(Market cap 46,000 ล้านยูโร) โดน LVMH(หลุยส์วิตตองค์ Market cap 100,000 ล้านยูโร) แอบเข้ามาถือหุ้นหวังเทคโอเวอร์บริษัทก็เจอคนในครอบครัวกลับมาร่วมมือกันจน LVMH เงิบมาแล้ว จะเป็น family business,

บริษัทเล็กหรือใหญ่ จะสร้างมากี่ปีก็ไม่เห็นจะมีนัยยะอะไรเลย เรื่องของเรื่องคือจริงๆมันไม่มีอะไรหรอกคือเค้านอกจากจะมีจุดยืนที่ชัดเจน, เป้าหมายที่แน่นอน, กลยุทธที่เน้นความยั่งยืนในระยะยาวและที่ชัดๆ คือ “เก่ง” อ่ะจบป่ะ

 

ต่อไปใครมาถามผมว่า Hermès นี่คือชื่อกระเป๋าป่ะ? ผมคงต้องบอกว่าไม่ใช่ครับ Hermès มันชื่อ “เทพ” ชัดๆ  ………ว่าแล้วก็ไปสูดอากาศใน Shop Hermès แปร๊ป กระเป๋าคงต้องรอไปก่อนนะ 555 ยังไงรอชมเรื่องราวของ Hermès กันต่อนะครับมีตอนต่อไปแน่ๆ ลงเพิ่มในเว็บไซต์และเพจเร็วๆนี้ครับ  

ไปติดตามกันที่ -> http://www.fb.com/buffettcode

 

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




แฟชั่น / Fashion

สศท. จัดงาน SACIT Craft Power 2025 : Symposium วิเคราะห์แนวโน้มหัตถกรรมปี 68 ผลักดันหัตถกรรมไทยสู่ตลาดโลก
ผู้เชี่ยวชาญชี้ เทรนด์แฟชั่นมาแรงในปี 2025 เน้น "ฮีลใจ" และ “ทัชใจ”
Pranda Group โชว์ความเป็นผู้นำการผลิตเครื่องประดับสู่ความยั่งยืน
'ดีพร้อม' นำทัพบุกไอคอนสยาม ปลุกพลังสร้างสรรค์ ดันกระแสแฟชั่นไทย นำร่อง Fashion Powerhouse
PAD space artisan ร่วมเปลี่ยนวิถีชีวิต
Luxellence Center จัดสัมมนาอัพเดทเทรนด์สินค้าแบรนด์หรู
เจาะลึกแนวโน้มสินค้าลักชัวรี่ในยุคมิลเลนเนียล
LOUIS VUITTON TIME CAPSULE BANGKOK EXHIBITION 2017
The many shapes and sizes of Catwalk.
The “Youth Tonic” Fashion Show & Design Exhibition 2017.
ของดีเมืองแพร่...สู่ธุรกิจสร้างสรรค์
ชุดเจ้าสาวจาก Bridal Fashion Week / Spring 2018
กางเกงยีนส์ Trend 2017
Gucci Fall Winter 2017/2018
เปลี่ยนปฏิทินโป๊ ให้เป็นภาพเอ็กซเรย์
แฟชั่นมรณะ
เพชรพิ้งก์สตาร์ ทุบสถิติโลกทำราคาประมูลสูงสุด
TCDC-Trend 2017
น้ำหอมราคาแพงที่สุดในโลก
แต่งตาแฟนซี
ผมทรงไหนเหมาะกับใบหน้าคุณ
Fall-Winter 2016/2017 (Vogue Paris-Fashion Inspiration)
VOGUE-Spring Summer Trend 2016 article
การแต่งกายอาเซียน article
ทรงผมในรอบ 100 ปี โดย Nina article
IN TOUCH/THE NIGHT CIRCUS



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM