ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


CITY FARM @SHENZHEN

CITY FARM @SHENZHEN

ที่มา : thaicityfarm.com

ในอดีต เมืองเซินเจิ้นที่ครั้งหนึ่งเป็นเพียงพื้นที่ทำเกษตรกรรมของเกษตรกรรายย่อย ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วหลังจากรัฐบาลจีนประกาศให้เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้พื้นที่เพาะปลูกที่มีอยู่แต่เดิมได้ถูกเปลี่ยนไปเป็นอาคารและสิ่งก่อสร้างแทน เนื่องจากคนเมืองได้เข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองอย่างหนาแน่นและมีแนวโน้มที่จะมีคนเข้ามาอาศัยในเมืองกันมากขึ้น รัฐบาลจีนก็เล็งเห็นถึงความสำคัญและสนับสนุนให้เมืองสามารถพึ่งพาตนเองในด้านอาหารได้มากขึ้น และเกษตรในเมืองก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ตอบโจทย์การพัฒนาเมืองให้น่าอยู่และพึ่งพาตนเองมากขึ้นได้
 
CITY FARM @SHENZHEN
 
ในบทความนี้จะมีแปลงผักในเซินเจิ้นอยู่ 2 ตัวอย่าง ได้แก่ Value Farm และ Landgrab City ซึ่งทั้ง 2 โครงการได้รับการผลักดันโดยมูลนิธิ Biennale สำนักงานเซินเจิ้นและฮ่องกง ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้การสนับสนุนงานด้านศิลปะ การออกแบบและสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างให้เมืองมีความน่าอยู่ น่าเรียนรู้และนำมาใช้ประโยชน์มากขึ้น

มาเริ่มที่ Value Farm เป็นโครงการเกษตรในเมืองจีนที่น่าสนใจ พื้นที่เกษตรแห่งนี้ริเริ่มโดยคุณ Thomas Chung ที่เปลี่ยนพื้นที่โรงงานมาเป็นแปลงเกษตรแบบผสมผสานที่มีขนาด  2,100 ตารางเมตร ความโดนเด่นของพื้นที่สีเขียวแห่งนี้ คือ สวนผักที่ทำมาจากพื้นที่โรงงานเดิมที่ถูกทิ้งร่าง กำแพงห้องเก่าๆ ของโรงงานก็เปลี่ยนเป็นแปลงปลูกผัก อิฐที่เหลือจากอาคารก็นำมาก่อให้เป็นแปลงปลูกผัก โดยแปลงปลูกผักแต่ละแปลงจะมีความสูงที่แตกต่างกันเพื่อสร้างความลึกของชั้นดินให้แตกต่างกันเพื่อให้สวนผักแห่งนี้ดูมีมิติและชวนให้คนเมืองอยากเข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่ ผักที่ปลูกในพื้นที่แห่งนี้จึงมีความหลากหลายเป็นพิเศษ ระบบน้ำในโรงงานก็นำมาดัดแปลงเป็นระบบให้น้ำในฟาร์ม อย่างเช่น ท่อน้ำประปาของโรงงานก็ถูกวางอยู่ใต้ดินและปรับเป็นระบบให้น้ำแบบสปริงเกอร์ เป็นต้น

การมี Value Farm ในพื้นที่ช่วยให้พื้นที่เมืองที่เต็มไปด้วยอาคารและสิ่งปลูกสร้างมีชีวิตชีวามากขึ้น นอกจากการเป็นแหล่งอาหารแล้ว พื้นที่แห่งนี้ยังเปิดให้คนเมืองเข้ามาใช้ประโยชน์และเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจ Value Farm ยังช่วยให้คนเมืองเข้ามาพบปะและทำกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ อาทิ การปลูกผัก ชิมอาหาร กิจกรรมพบปะพูดคุยร่วมกัน หรือการจัดงานเทศกาลต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยให้คนเมืองเข้ามาพบปะและสร้างปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

เช่นเดียวกับ Value Farm ก็มี Landgrab City ที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิ Bi-city Biennale เช่นกัน พื้นที่เกษตรแห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเซินเจิ้นที่เป็นแหล่งซ๊อปปิ้ง และเป็นพื้นที่ที่มีความหนาแน่นของผู้คนมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองนี้ พื้นที่สีเขียวแห่งนี้ได้ถูกออกแบบโดยสถาปนิก Joseph Grima, Jeffrey Johnson และ Jose Esparza โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเกษตรให้แก่คนเมือง โดย Landgrab City สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ แผนที่ย่านดาวน์ทาวน์ที่แสดงความหนาแน่นของอาคารและสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นที่อยู่ของคนเมืองถึง 4.5 ล้านคน  ส่วนที่สองคือ สวนผักที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ส่วนกลางของเมือง โดยแบ่งพื้นที่เป็นแปลงๆ โดยแบ่งตามชนิดของอาหารการกิน อาทิ ผัก ผลไม้ ซีเรียล และปศุสัตว์ ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนจีนต้องกินอยู่เป็นกิจวัตร
ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการออกแบบพื้นที่นี้ คือ ศักยภาพการผลิตอาหารต่อพื้นที่ โดยใช้แปลงผักแห่งนี้จำลองว่าให้ผลผลิต(ผัก)ต่อพื้นที่ได้เท่าไร สามารถป้อนผลผลิตให้คนเมืองเซินเจิ้นได้กี่คน และถ้าหากต้องการป้อนผลผลิตให้คนเซินเจิ้นทั้งหมด 4.5 ล้านคน จะต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกเท่าไร ซึ่งสถาปนิกยังได้ออกแบบภาพปริมาณพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเลี้ยงคนเมืองในอนาคตไปอีก 10 ปีข้างหน้า นิทรรศการนี้ทำขึ้นเพื่อสื่อสารให้คนเมืองรับรู้และตระหนักถึงปัญหาระบบการผลิตอาหารในเมืองที่ไม่สมดุลกับประชากรในเมือง ซึ่งเมืองหลายแห่งไม่เพียงเฉพาะเซินเจิ้น ต่างต้องพึ่งพาผลผลิตทางเกษตรจากพื้นที่เกษตรกรรมที่อยู่ห่างไกลจากเมือง ทำให้ค่าอาหารของคนเมืองมีราคาแพงจากค่าขนส่งจากฟาร์มในพื้นที่ชนบทนั้นเอง การฉายภาพพื้นที่เกษตรในเมืองในอนาคตจึงช่วยให้คนเมืองหันกลับมาฉุดคิดและตระหนักถึงความสำคัญของการทำเกษตรในเมืองกันมากขึ้น เพื่อให้เมืองลดการพึ่งพาแหล่งอาหารจากพื้นที่ชนบทลง ซึ่งรูปแบบการสื่อสารของ Landgrab City ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในหลายพื้นที่ ไม่เพียงเฉพาะในจีน แต่ยังได้ขยายไปสู่แอฟริกา ลาตินอเมริกา ไปจนถึงยุโรปตะวันออก ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เป็นที่ตั้งของประเทศกำลังพัฒนา และหลายเมืองของประเทศเหล่านี้ก็กำลังเผชิญปัญหาคล้ายกับที่เซินเจิ้นกำลังเผชิญอยู่นั้นเอง

นอกจากการเป็นพื้นที่ต้นแบบการพึ่งพาตนเองในด้านอาหารแล้ว ที่ Landgrab City เองก็เป็นพื้นที่ให้ผู้คนเข้ามาพบปะและมาทำกิจกรรมของครอบครัวร่วมกันในพื้นที่ ทุกๆ เดือน พืชผัก เช่น มะเขือยาว พริก ข้าวโพด และผักชนิดอื่นๆ ก็จะออกผลผลิตให้พ่อแม่นำลูกหลานมาเก็บผลผลิตร่วมกัน วิธีการเก็บเกี่ยวก็จะได้รับการสอนโดยทีมงานของมูลนิธิ Biennale ซึ่งเด็กๆ ก็จะได้รับประสบการณ์จากการทำสวนผักกลับไป หากเด็กๆ สามารถตอบคำถามของทีมงานได้ถูกต้องก็จะได้รับผักสดจากแปลงผักที่พวกเขาเก็บเกี่ยวกลับไปทำอาหารที่บ้านอีกด้วย

การเติบโตของเมืองและการพัฒนาทางเศรษฐกิจก็ส่งผลให้พื้นที่เกษตรกรรมดังเดิมลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และทำให้คนเมืองมีวิถีชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่และตัดขาดจากพื้นที่ชนบทโดยสิ้นเชิง การมีสวนผักในใจกลางเมืองจึงช่วยเมืองสามารถพึ่งพาตนเองในด้านอาหารมากขึ้น เข้ามาพบปะพูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น ดังนั้น สวนผักในเมืองจึงเป็นหนึ่งในพื้นที่สีเขียวที่ไม่สามารถละเลยได้ ในปัจจุบัน พื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่รกร้างของเมืองในหลายแห่งเองก็ยังไม่ถูกทำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพ และหากนำพื้นที่เหล่านี้มาพัฒนาเป็นพื้นที่เกษตรในเมืองเช่น Value Farm และ Landgrab City ก็จะช่วยให้เมืองกลับมีชีวิตชีวาได้มากขึ้น

References
https://yourlearningorganisation.com/2014/03/04/conversions-factory-into-urban-farm/
https://inhabitat.com/an-urban-farm-sprouts-in-the-heart-of-shenzhen/
http://cityfarmer.info/landgrab-city-farm-in-urban-square-in-shenzhen-china/#more-3452
https://landcom/landgrab-city-urban-farm/
https://www.scmp.com/property/hong-kong-china/article/1866954/rusted-out-shenzhen-factory-reborn-thriving-urban-farm
 
CITY FARM @SHENZHEN    CITY FARM @SHENZHEN
 
CITY FARM @SHENZHEN    CITY FARM @SHENZHEN
   
CITY FARM @SHENZHEN    CITY FARM @SHENZHEN
 
 
 
 
 
 
 
 


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




Farm2Food

แม็คโคร บุกสวนทั่วไทย รับซื้อผลไม้ฤดูกาล กว่า 7,750 ตัน
กระทรวงศึกษาธิการจับมือ สคช. ยกระดับเกษตรกรไทยผ่านอาชีวะเกษตร
รองนายกวิษณุ คุณหญิงกัลยา เปิดงาน “จากศาสตร์พระราชา ผสานศาสตร์สากล สู่การพัฒนาชีวิตยั่งยืน”
“ครูกัลยา” ปล่อยคาราวานแจกกล้าไม้ ๔๗,๐๐๐ กล้า ๔๗ วิทยาลัยเกษตรฯ ทั่วประเทศ
‘พาณิชย์’ ระดมความเห็นการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
‘กรมเจรจาฯ’ เผย เอฟทีเอช่วยดันส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทย
‘วีรศักดิ์’ เตรียมทัพพาณิชย์ลงพื้นที่อีสานใต้ ช่วยเกษตรกร SME
แม็คโครร่วมมือกับสถาบันโภชนาการมหิดล
แทรกเตอร์อัจฉริยะขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ
ปลื้มเกษตรกรภาคเหนือตอนล่างใช้ประโยชน์จาก FTA
ขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยสู่ตลาดโลกด้วยเอฟทีเอ
ผนึกกำลังพันธมิตร บุกแม่ฮ่องสอน เสริมเกษตรกร เตรียมตลาดการค้าเสรี
เชิญประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา สู่ โคก หนอง นาโมเดล ภาคอีสานอย่างยั่งยืน
596 ACRES : PLATFORM ต้นแบบ LAND SHARING กลางนครนิวยอร์ก
เทศกาลสวนผักคนเมือง 2019 ครั้งที่ 5
‘กรมเจรจาฯ’ จัดให้ความรู้เกษตรกรใช้ประโยชน์จาก FTA ประสบความสำเร็จ
เปิดศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จ.กำแพงเพชร เรียนรู้ "โคกหนองนาโมเดล"
‘บิ๊กตู่’สาธุ! ‘แซมดิน-โพธิรักษ์’ ขอให้แข็งแรง เป็นนายกฯอีก 2-3 สมัย
10 ปีเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด กับการรวมตัวครั้งสำคัญ
ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ จากพระมหาชนก
เศรษฐกิจพอเพียง มุมมองจากฐานรากที่ต่างกัน



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM