ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


ทำไมความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นดีของบางคู่กลับไม่ยืนยาว?

ทำไมความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นดีของบางคู่กลับไม่ยืนยาว?

เผยแพร่โดย The Momentum , 20-10-2016

เรื่อง : แครธริน ทรงพัฒนะโยธิน 

ภาพ : Eddy Chang

 

ทำไมความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นดีของบางคู่กลับไม่ยืนยาว?

 

HIGHLIGHTS: 

  • 10 ปี คือค่าเฉลี่ยระยะเวลาที่คู่รักใช้ชีวิตร่วมกันในการสมรสก่อนการหย่าในหลายประเทศ เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส อเมริกา เม็กซิโก และญี่ปุ่น 
  • คนที่อยู่ในห้วงรักระยะแรก มีพฤติกรรมคล้ายคนติดยาคือ ตื่นตัว สมาธิจดจ่อ เรี่ยวแรงเยอะ ไม่หิว ไม่ง่วง มีอารมณ์ที่พลุ่งพล่าน รุนแรง บางคนอาจถึงกับแต่งเพลงและเขียนอธิบายความรู้สึก 
  • หากความสัมพันธ์ระยะแรกเปรียบเหมือนเกมการไล่ล่าที่มีฝ่ายชายเป็นผู้ล่า ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล และฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายเลือกผู้ล่า ความสัมพันธ์ระยะต่อมาก็เปรียบเหมือนเกมปลูกผักที่ต้องใช้การวางแผน การคิดเชิงตรรกะ โดยคนสองคนต้องช่วยกันขุดดิน หว่านเมล็ด ใส่ปุ๋ย รอผักโต เก็บผักไปขาย แล้วช่วยกันสร้างกระต๊อบ
  • วิธีลดความเสี่ยงจากการผิดหวังในระยะยาวคือ ให้ ‘ชะลอ’ การตัดสินใจเรื่องใหญ่ในชีวิต 2 เรื่อง คือการแต่งงาน และมีลูก จนกระทั่งอารมณ์ที่พลุ่งพล่านและสมองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 8 เดือน ถึง 2 ปี

  

ตามสถิติ ระยะเวลาที่คู่รักใช้ชีวิตร่วมกันในการสมรสก่อนการหย่าในหลายประเทศ

เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส อเมริกา เม็กซิโก และญี่ปุ่น จะมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงอยู่ที่ 10 ปี


     ปี 1995 โกฮยอนจอง นักแสดงหญิงชาวเกาหลี เข้าพิธีแต่งงานกับ จงยงจิน หลานผู้ก่อตั้งบริษัทซัมซุง ทั้งคู่แยกทางกัน 8 ปีหลังจากพิธีแต่งงาน

     ข้ามไปฝั่งอเมริกา ปี 2000 แบรด พิตต์ และเจนนิเฟอร์ อนิสตัน เปิดตัวเป็นคู่รักได้ 2 ปี ก่อนจะจัดงานแต่งงานและประกาศแยกทางกันภายใน 5 ปี

     อีกคู่ที่ดังไม่แพ้กัน ทอม ครูซ และเคที โฮล์มส์ ตัดสินใจมีลูกร่วมกันหลังจากคบกันได้ 7 เดือน งานวิวาห์ถูกจัดขึ้น ก่อนตามด้วยการแยกทางใน 6 ปีต่อมา  

     นี่เป็นเรื่องราวน่าเศร้าของคู่รักเพียง 3 คู่ จากจำนวนคู่รักหลายล้านคู่ที่มั่นใจในความสัมพันธ์ของตนจนยอมจดทะเบียนสมรสขึ้นทุกปี สถิติการหย่าร้างที่เพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น แคนาดา อินเดีย เกาหลีใต้ หรือไทยของเราเอง ทำให้เราเห็นว่าทุกปีมีคู่รักจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยความมั่นใจ แต่สุดท้ายต้องผิดหวังจากคำมั่นสัญญาที่ให้กัน

     ตามสถิติ ระยะเวลาที่คู่รักใช้ชีวิตร่วมกันในการสมรสก่อนการหย่าในหลายประเทศ เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส อเมริกา เม็กซิโก และญี่ปุ่น จะมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงอยู่ที่ 10 ปี

สงสัยไหมคะว่าวิทยาศาสตร์สามารถบอกอะไรเราได้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นดี แต่กลับอยู่ไม่เกิน 10 ปี ของคนจำนวนมาก?

     จากการศึกษาคู่รัก นักวิทยาศาสตร์พบว่า ความสัมพันธ์ในช่วงเริ่มต้น และความสัมพันธ์ในระยะยาว เป็นความสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน เนื่องจากสมองทำงานในสภาวะที่ต่างกัน และมีเป้าหมายทางชีววิทยาที่ไม่เหมือนกัน การจะขยับเขยื้อนออกจากสภาวะแรก ไปเข้าสู่สภาวะที่สอง และสร้างสัมพันธ์ที่มั่นคงยาวนาน แม้ว่าจะเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติกับคนหลายกลุ่ม แต่ก็เป็นอุปสรรคของคู่รักหลายคู่เช่นเดียวกัน

     ความสัมพันธ์ระยะแรกและระยะหลังต่างกันอย่างไร?

  

คนที่อยู่ในห้วงรักระยะแรกมีพฤติกรรมคล้ายคนติดยา 

นั่นคือ ตื่นตัว สมาธิจดจ่อ เรี่ยวแรงเยอะ ไม่หิว ไม่ง่วง

ในขณะเดียวกันอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นอารมณ์ที่รุนแรง

บางคนถึงกับแต่งเพลงและเขียนอธิบายถึงความรู้สึกว่าเป็น

เหตุการณ์ความเป็นความตาย อยู่ไม่ได้หากขาดคนรัก


ความรักระยะแรก

     ผลการสแกนสมองของคนที่อยู่ในห้วงความรักระยะเริ่มต้น แสดงให้เห็นว่าสมองของคนกลุ่มนี้มีภาวะอารมณ์ที่ต่างจากปกติมาก เป็นผลเนื่องมาจากการทำงานที่เพิ่มขึ้นของสมอง 3 ส่วน

     ส่วนที่หนึ่งคือ สารสื่อประสาทนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งมีผลกับการตื่นตัวและระบบทางเดินอาหาร ส่วนที่สองคือ บริเวณที่มีชื่อว่า Ventral Tegmental Area ทำหน้าที่สร้างสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine) และส่วนที่สามคือ วงจรโดปามีน ทำงานเกี่ยวกับการสร้างความสุขประเภทแรงขับ กระตุ้นให้คนทำกิจกรรมเพื่อการอยู่รอด

     จากความเปลี่ยนแปลงของสมอง 3 ส่วนนี้ ทำให้คนที่อยู่ในห้วงรักระยะแรกมีพฤติกรรมคล้ายคนติดยา นั่นคือ ตื่นตัว สมาธิจดจ่อ เรี่ยวแรงเยอะ ไม่หิว ไม่ง่วง ในขณะเดียวกันอารมณ์ที่เกิดขึ้นก็เป็นอารมณ์ที่รุนแรง บางคนถึงกับแต่งเพลงและเขียนอธิบายถึงความรู้สึกว่าเป็นเหตุการณ์ความเป็นความตาย อยู่ไม่ได้หากขาดคนรัก

     ในขณะที่สมอง 3 ส่วนนี้มีการทำงานพลุ่งพล่านเพิ่มขึ้น สมองอีก 2 ส่วนก็สวนทางโดยการทำงานลดลง ส่วนที่หนึ่งคือ สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) เป็นสมองส่วนเหตุผลและการวางแผน เมื่อทำงานลดลง จะส่งผลให้คนที่อยู่ในห้วงรัก แม้ในภาวะปกติจะเป็นคนที่มีเหตุผลและรอบคอบ ก็อาจเปลี่ยนนิสัยเป็นคนกล้าเสี่ยง และไม่ใช้เหตุผลกับความรัก ส่วนที่สองคือ สารสื่อประสาทเซโรโทนิน (Serotonin) การที่สารนี้ลดลง ทำให้คนมีสภาพคล้ายกับผู้ป่วยโรค OCD หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ มีพฤติกรรมหมกมุ่นและไม่สามารถหยุดคิดเรื่องของคนรักได้

     จากการศึกษาคู่รักหลายคู่พบว่าภาวะนี้จะดำเนินไปโดยเฉลี่ยประมาณ 8 เดือน ถึง 2 ปี ระหว่างนี้เพศชายจะมีพฤติกรรมเป็นฝ่ายบุก ขอความรักด้วยการตามจีบและอุทิศตน ในขณะที่เพศหญิงจะหมกมุ่นวิเคราะห์ทุกคำพูดและการกระทำของฝ่ายชาย จุดประสงค์ของภาวะพิเศษนี้คือ แรงขับอันมหาศาลและความสามารถในการมองข้ามข้อด้อยในตัวคนรักและอุปสรรคทั้งปวง เพิ่มโอกาสความสำเร็จของการจับคู่สืบพันธ์ุ ป้องกันไม่ให้เผ่าพันธ์ุมนุษย์สูญสลายไป

 

ความสัมพันธ์ระยะแรกเปรียบเหมือนเกมการไล่ล่าที่มีฝ่ายชายเป็นผู้ล่า   

และฝ่ายหญิงเป็นผู้มีกลยุทธ์ในการหลบเลี่ยงและเลือกผู้ล่า

ส่วนความสัมพันธ์ระยะต่อมาเปรียบเหมือน

เกมปลูกผักที่คนสองคนต้องช่วยกันขุดดิน

หว่านเมล็ด ใส่ปุ๋ย รอผักโต เก็บผักไปขาย แล้วช่วยกันสร้างกระต๊อบ


ความรักระยะยาว

     เมื่อนำคนรักที่ครองคู่กันโดยเฉลี่ย 2.3 ปี มาสแกนสมอง สิ่งที่พบก็คือ การทำงานของสมองเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ สมอง 3 ส่วนที่ทำงานเพิ่มขึ้นในช่วงแรกไม่ตอบสนองรุนแรงเหมือนเดิมในช่วงนี้ ขณะเดียวกันสมองส่วนหน้าก็กลับมาตอกบัตรเข้าทำงาน และพฤติกรรมหมกมุ่นก็จางหายไป

     ถ้าเลือกได้ หลายคนคงอยากให้ภาวะรักแบบหมกมุ่นคงไว้ตลอดไป แต่ธรรมชาติมีเหตุผลที่ออกแบบให้ภาวะนี้ลดลง

  

สถิติการหย่าร้างของสำมะโนประชากรไทย พบว่า

สถิติการหย่าในปี พ.ศ. 2557 

อยู่ที่ 37.74% ของคู่ที่จดทะเบียนสมรส 

 

 

     เพราะภาวะรักระยะแรกมีข้อเสียทำให้คนไม่สามารถคิดโดยใช้เหตุผลและเพ่งสมาธิไปยังสิ่งสำคัญรอบตัวได้ตามปกติ ความบกพร่องนี้ลดประสิทธิภาพการออกหาอาหาร และการเลี้ยงครอบครัวให้อยู่รอด ดังนั้นวงจรความสัมพันธ์จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ตามสภาวะการทำงานของสมอง ความรักระยะเริ่มต้นมีหน้าที่จับคู่ส่งต่อพันธุกรรม

     เมื่อผ่านไป 2 ปี (ซึ่งนักวิจัยบางคนตั้งข้อสังเกตว่าเป็นระยะเวลาที่เพียงพอต่อการจับคู่สืบพันธุ์ในมนุษย์พอดี) จะเข้าสู่ความรักระยะที่สอง ความรักระยะนี้มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือการร่วมสร้างชีวิตที่ปลอดภัย แบ่งหน้าที่กันเลี้ยงดูลูกอ่อน โดยเพศชายกลับไปไล่ล่า หาอาหาร และเพศหญิงให้น้ำนมและเลี้ยงลูกอ่อน การทำหน้าที่เหล่านี้ให้สำเร็จล้วนต้องพึ่งพาตรรกะ การวางแผน การเก็บออมพลัง และแบ่งจ่ายในเรื่องที่เหมาะสม แทนที่จะนำไปเสี่ยงและใช้หมดไปกับการย้ำคิดถึงคนเพียงคนเดียว และนี่จึงเป็นคำอธิบายถึงเป้าหมายและภาวะที่ต่างกันในรักระยะเริ่มแรกและรักระยะยาว

     ถ้าเทียบความสัมพันธ์ระยะแรกและระยะที่สองเป็นเกม ความสัมพันธ์ระยะแรกเปรียบเหมือนเกมการไล่ล่าที่มีฝ่ายชายเป็นผู้ล่า และฝ่ายหญิงเป็นผู้มีกลยุทธ์ในการหลบเลี่ยงและเลือกผู้ล่า ส่วนความสัมพันธ์ระยะต่อมาเปรียบเหมือนเกมปลูกผักที่คนสองคนต้องช่วยกันขุดดิน หว่านเมล็ด ใส่ปุ๋ย รอผักโต เก็บผักไปขาย แล้วช่วยกันสร้างกระต๊อบ

     จากสถิติการหย่าร้างของสำมะโนประชากรไทย พบว่าสถิติการหย่าในปี พ.ศ. 2557 อยู่ที่ 37.74% ของคู่ที่จดทะเบียนสมรส แปลว่าในจำนวนคู่รัก 3 คู่ที่ประสบความสำเร็จจากการหาคู่และจับคู่ในระยะต้น เมื่อสภาพเกมเปลี่ยนไป คู่สมรสอาจพบว่าความต้องการในชีวิตของแต่ละฝ่าย และวิธีการสร้างกระต๊อบที่ต่างคนมีนั้นต่างกันเกินไป และแยกทาง

     สำหรับตัวแคท การแยกทางกับคนรักไม่ใช่เรื่องเสียหาย ชีวิตที่ยืนยาวของมนุษย์ยุคปัจจุบันหมายความว่า เรามีโอกาสพบคู่และสร้างความรักที่ดีหลายครั้ง แต่คำถามที่น่าคิดคือ หากต้องการลดความเสี่ยงจากการผิดหวังในระยะยาว มีอะไรบ้างไหมที่เราทำได้?

     มีค่ะ นั่นคือ ให้ ‘ชะลอ’ การตัดสินใจเรื่องใหญ่ในชีวิต 2 เรื่อง คือ การแต่งงาน และการมีลูก จนกระทั่งอารมณ์ที่พลุ่งพล่านและสมองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งใช้เวลาโดยเฉลี่ยเพียง 8 เดือน ถึง 2 ปี

  

ความไม่เข้าใจถึงวัฏจักรความรัก    

อาจเพิ่มความเสี่ยงในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ในชีวิตคู่

และนำไปสู่การเลิกรา

 

     การชะลอไม่ได้หมายความว่าห้ามเราวางแผน เรายังคงวางแผน พูดคุย ปรึกษา และฝันถึงสิ่งเหล่านี้กับคนที่เรารักได้ แต่ในทางปฏิบัติ ให้รอจนเมื่อตัวเราและคู่รักออกจากภาวะคล้ายคนติดยา แล้วค่อยลงมือทำตามแผนที่วางไว้ก็ยังไม่มีอะไรสายไป การรอจนสมองส่วนเหตุผลกลับมาทำงานได้ตามปกติ จะช่วยให้เราวิเคราะห์ทิศทางและความต้องการของตนเองได้ชัดเจนขึ้น

     สรุปแล้ว คำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นดีของบางคู่กลับอยู่ไม่ยาว นั่นเพราะความรักที่ก่อตัวขึ้นในระยะแรก และความรักที่ทำให้คนสองคนครองคู่กันในระยะยาว เป็นความสัมพันธ์ที่มีการใช้ภาวะสมองแตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายของธรรมชาติที่ต่างกัน การจะขับเคลื่อนตัวจากภาวะแรกเข้าสู่ภาวะที่สอง และประคองความสัมพันธ์ให้อยู่อย่างมั่นคง จำเป็นต้องใช้เหตุผลและวินัยช่วยบริหาร

     ความไม่เข้าใจถึงวัฏจักรความรัก อาจเพิ่มความเสี่ยงในการตัดสินใจเรื่องใหญ่ในชีวิตคู่ และนำไปสู่การเลิกรานั่นเอง


 

ABOUT THE AUTHOR

แครธริน ทรงพัฒนะโยธิน ผู้เขียนหนังสือ Genius ทางอารมณ์ เจ้าของรางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันงานเขียน Non-Fiction และ Children's Literature ในประเทศสิงคโปร์ เรียนจบปริญญาโทเกียรตินิยมจาก University College London, U.K. ด้าน Cognitive and Decision Sciences หรือการตัดสินใจที่คำนึงถึงจิตวิทยาของมนุษย์ซึ่งมีอารมณ์เป็นส่วนประกอบสำคัญ ติดตามความเคลื่อนไหวของเธอได้ทางแฟนเพจ Hi Catherine www.facebook.com/CatherineBooks

 

 

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




มีสุขใจ / Wellness

กรุงไทยชี้ การแพทย์จีโนมิกส์ จะนำไทยสู่ Medical Hub เต็มรูปแบบ
เรื่องเล่าของดอกไม้
อวลกลิ่นบุปผามาลี
เลี้ยงลูกสไตล์ "บิลล์ เกตส์"
ความรัก 6 แบบ...คุณเป็นแบบไหน
“หลง” ไม่ใช่ “รัก”



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM