ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


MotorExpo2023
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
The45thBIMS2024
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


โอกาส ความก้าวหน้า และการเจรจาที่เกิดขึ้น ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย หลังการประชุม APEC CEO Summit 2022
โอกาส ความก้าวหน้า และการเจรจาที่เกิดขึ้น ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หลังการประชุม APEC CEO Summit 2022

แม้การประชุมสุดยอดผู้นำเอเปคที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 ได้จบลงแล้ว ทว่าโอกาสทางการค้าการลงทุนของไทยในเวทีโลกจะเป็นอย่างไรต่อไป ในการนี้ ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์, ประธาน ประธาน APEC CEO Summit 2022 และสมาชิกสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปคไทย ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษ ในหัวข้อ “โอกาส ความก้าวหน้า และการเจรจาที่เกิดขึ้น หลังการประชุม APEC CEO Summit 2022 ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย” เมื่อวันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เวลา 10.30 – 11.30 น. ณ ห้องประชุม 3305 ชั้น 3 อาคารบรรเจิด ชลวิจารณ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (ถนน ราชบพิธ) กรุงเทพฯ

โอกาส ความก้าวหน้า และการเจรจาที่เกิดขึ้น ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย หลังการประชุม APEC CEO Summit 2022

โอกาส ความก้าวหน้า และการเจรจาที่เกิดขึ้น ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย หลังการประชุม APEC CEO Summit 2022หัวข้อที่ 1: Highlight ที่เกิดขึ้นภายในงาน APEC CEO Summit 2022
 
เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ประเทศไทยเราได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุม APEC CEO Summit 2022 โดยได้ต้อนรับผู้นำประเทศต่างๆ เข้าร่วมกล่าวปาฐกถาและร่วมเสวนาจำนวน 8 ท่าน อาทิ 
 
-พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประเทศไทย ขึ้นกล่าวปาฐกถาเปิดการประชุม    
-นางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ปาฐกถาย้ำถึงพันธสัญญาของสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความเป็นหุ้นส่วนอย่างทั่วถึงในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก  
-นายเอมานูว์แอล มาครง  ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ปาฐกถาในหัวข้อ “ทิศทางวิกฤตการณ์โลก”
-นางจาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ “การส่งเสริมการเติบโตอย่างครอบคลุมและการพัฒนาร่วมกันในเอเปค”
-นายกาบริเอล โบริก ประธานาธิบดีสาธารณรัฐชิลี ร่วมเสวนาในหัวข้อ“การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และสังคม”
-นายเหวียน ซวน ฟุก ประธานาธิบดีเวียดนาม ปาฐกถาในหัวข้อ “อนาคตของการค้าและการลงทุนในเอเชียแปซิฟิก”
-นายแฟร์ดินันด์ โรมูอัลเดซ มาร์โคส จูเนีย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ร่วมเสวนาในหัวข้อ“เศรษฐกิจโลกและอนาคตของเอเปค”
-นางดินา เอร์ซิเลีย โบลัวร์เต เซการ์รา รองประธานาธิบดีคนที่ 1 สาธารณรัฐเปรู ร่วมเสวนาในหัวข้อ “การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และสังคม”

รวมผู้นำจากทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชนจำนวน 38 ท่าน ที่ร่วมเวทีในการอภิปรายในหัวข้อต่างๆ จำนวน 16 หัวข้อ

หัวข้อที่ 2: ความโดดเด่นของประเทศไทยบนเวที APEC CEO Summit 2022 ตลอดจนภาพรวมการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต 
 
-การประชุมในวันแรกได้รับเกียรติจาก พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเปิดการประชุม ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปีนี้ประเทศไทยเรามีการเสนอแนวคิด BCG Model เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในองค์รวม โดย พล.อ. ประยุทธ์ได้เน้นย้ำว่า ภาคเอกชนมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG)  
-นอกจากนี้ นายกฯ ยังได้ประกาศว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคตอันใกล้ 
-เน้นให้เห็นถึงความสำคัญในการลงทุนเพื่อช่วยเหลือ MSMEs ไทย ตลอดจนกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคม ให้ได้รับความเป็นธรรมและการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียม รวมถึงผลักดันให้กลุ่มสตรีมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างแท้จริง 
-ท่านนายกยังเน้นว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะเป็นมิติใหม่ของการสร้างอาชีพ และการเจริญเติบโตในภูมิภาคเอเปค จึงเน้นให้การมุ่งไปสู่ดิจิทัลเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญในปีนี้ เพราะจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจทั้งในและนอกภูมิภาค

หัวข้อที่ 3: สรุป 3 ประเด็นสำคัญที่ผู้นำและผู้ร่วมอภิปรายกล่าวถึง 
 
(1) การพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) 
(2) การเติบโตอย่างครอบคลุม (inclusive growth) 
(3) ความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาค (regional partnership)

ในประเด็นแรก (1) การพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development)
- ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัญหาด้านสาธารณสุขและสุขภาพ ตลอดจนปัญหาความมั่นคงทางอาหารและการขาดแคลนน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกัน และมีความจำเป็นที่ผู้กำหนดนโยบายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต้องเข้ามาร่วมระดมความคิดในการแก้ปัญหาเหล่านี้   โดยความร่วมมือ (Engagement and partnership) และพหุภาคี (Multilateralism) จะมีความสำคัญยิ่งในการแก้ปัญหาวิฤตการ์โลกที่เศรษฐกิจต้องการการฟื้นตัว รวมทั้งผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อและการแพร่ระบาดจากโควิด  ผู้นำรัฐบาลและภาคเอกชนควรออกแบบนโยบายที่ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
- Environment: การเปลี่ยนผ่านของพลังงานสู่พลังงานสีเขียว และการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) โดยลดการปล่อยมลพิษและคาร์บอนไดออกไซด์ให้ป็นศูนย์ในอนาคต ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายทั้งผู้ผลิตและลูกค้า   ดังนั้น การพัฒนาสีเขียวที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยให้ความสำคัญต่อ ESG หรือ environment, social and corporate (สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล) เป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ รวมถึงการกระตุ้นให้เกิดการนำ BCG model ไปใช้กับภาคธุรกิจและบริการ สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด อาทิ การสนับสนุนการเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle - EV) 
- Sustainable Finance: การเงินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การออก green bond เพื่อระดมทุนมาสนับสนุนธุรกิจหรือโครงการสอดคล้องกับความยั่งยื่นของโลก 
- Sustainable Tourism: การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยผนึกกำลังร่วมกับ Meta นำเสนอแคมเปญ Rediscover Thailand โปรโมตการท่องเที่ยวครบทั้ง 4 ภาคของไทยในรูปแบบ Augmented Reality ซึ่งจะเน้นการท่องเที่ยวที่เชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ
- Food Security: ความมั่นคงทางอาหาร เช่น การดึงเอาเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ อย่าง AG Tech (agricultural technology) เข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต 

ประเด็นที่สอง (2) เรื่องการเติบโตอย่างครอบคลุม (inclusive growth)
- มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ไม่ใช่ในแง่ตัวเลขทางเศรษฐกิจ แต่ต้องรวมถึงสุขภาพจิตของประชาชน ความเป็นอยู่ของเด็กเยาวชน ความเท่าเทียมทางเพศ รวมถึงการคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ทั้งนี้ ภาครัฐและเอกชนจะต้องร่วมมือกันสนับสนุนการค้าเสรีระหว่างประเทศ อีกทั้งควรมีกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศ โครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศน์ที่เอื้อแก่การเติบโตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMES) รวมถึงต้องมีแรงงานที่มีทักษะ 
- การสนับสนุนกลุ่ม MSMEs ให้ปรับตัวสู่การวางเป้าหมายทางธุรกิจที่สอดคล้องกับหลัก ESG (Environmental, Social, and Governance) จะทำให้ธุรกิจขนาดย่อมเหล่านี้มีแต้มต่อในการแข่งขันทางการค้าระยะยาว พร้อมสนับสนุนการก้าวเข้าสู่ธุรกิจดิจิทัล (Digitalization) ซึ่งจะเพิ่มโอกาสและความเท่าเทียมทางการค้าให้ธุรกิจขนาดย่อมได้ แต่การจะผลักดัน MSMEs ในการก้าวสู่การเป็นบริษัทที่มี ESG และธุรกิจดิจิทัล (Digitalization) ได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีในการสอดรับ รวมถึงการกำหนดนโยบายและมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber security) เพื่อป้องการการทุจริตบนโลกออนไลน์ 
- ทั้งนี้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโลโนยีและมาตรการความปลอดภัยทางไซเบอร์ จะเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้าง Digital economy e-commerce ให้เกิดขึ้น
- นอกเหนือจากนี้ การพัฒนาทักษะแรงงานและการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ ในการดำเนินธุรกิจยังเป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ในอนาคตเราอยากเห็นผู้หญิงก้าวขึ้นมามีบทบาททางสังคมมากยิ่งขึ้น ได้เห็นกลุ่มผู้หญิงในกลุ่มอาชีพที่มีความต้องการในตลาดสูงอย่าง STEM (science-technology-engineering-mathematics) ด้วยเล็งเห็นว่าการพัฒนาความสามารถทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้หญิงจะช่วยแก้ปัญหาความยากจน และก่อให้เกิดการพัฒนาทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน โดยภาคธุรกิจควรร่วมกันหาทางแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมด้านค่าแรงระหว่างเพศชายและเพศหญิงรวมถึงความไม่เท่าเทียมด้านตำแหน่งงานระดับสูง  

ประเด็นที่สาม (3) ความเป็นหุ้นส่วนในภูมิภาค (regional partnership)
- ประเทศต่าง ๆ ควรกลับมาเคารพกฎระเบียบระหว่างประเทศ (International Rules) และสนับสนุนกลไกพหุภาคี (Multilateralism) เพื่อสันติภาพและเสถียรภาพของโลก เพราะหากเรายังเพิกเฉยกับสิ่งเหล่านี้ ในอนาคตเราต้องเผชิญผลกระทบต่างๆ เช่น  วิกฤติอาหารและพลังงาน สงครามแบ่งแยกและความร้าวฉานในทั่วทุกภูมิภาค   ดังนั้นเราต้องเผชิญหน้าสู้กับปัญหาและวิกฤตการณ์โลกที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้  ด้วยการร่วมมือกันสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือในกลุ่มสมาชิกและเชื่อมโยงไปยังความร่วมมือนอกกลุ่มสมาชิก เพื่อแก้ปัญหาความถดถอยทางเศรษฐกิจปี 2023-2024 (Economic Recession)  
- ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อกำหนดนโยบายที่เอื้อให้ทุกเขตเศรษฐกิจสามารถก้าวข้ามปัญหาและความท้าทายต่างๆ ไปได้ เสริมสภาพคล่อง ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมสร้างความยืดหยุนและความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้
- ยิ่งไปกว่านั้นผู้นำยังได้พูดถึงเรื่องของการสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือในกลุ่ม ASEAN และเชื่อมโยงไปยังความร่วมมือนอกกลุ่ม ASEAN อีกด้วย 

หัวข้อที่ 4: การสรุปว่าประเทศไทยได้อะไรจากการเป็นเจ้าภาพการประชุม APEC และ APEC CEO Summit 2022
 
- การประชุม APEC ครั้งนี้ ได้ส่งเสริมภาพลักษณ์และความเข้าใจในประเทศไทยอย่างมาก Soft Power ของไทยถูกถ่ายทอดไปยังต่างประเทศ ซึ่งคาดการณ์ว่าส่งผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วง 3-5 ปีข้างหน้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 5-6 แสนล้านบาท และทำให้เกิดผลประโยชน์สำคัญ 2 ประการคือ 
 
1. ประการแรก – การท่องเที่ยว: เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยซึ่งน่าจะช่วยให้ไทยมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 1-2 แสนคนโดยจะสร้างรายได้ให้ประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทั้งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องประมาณ 10,000 ล้านบาทในระยะสั้น   
 
2. ประการที่สอง – โอกาสในการดึงนักลงทุนมาที่ไทย: ภาพลักษณ์และความเข้าใจที่มาขึ้นของนักลงทุนต่างประเทศที่เห็นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG  พลังงานยานยนต์ไฟฟ้า EV  เศรษฐกิจดิจิทัล  และอุตสาหกรรมบริการ เช่น การท่องเที่ยว และธุรกิจบริการสุขภาพ เป็นต้นโดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)  ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ได้ง่ายขึ้นในอนาคต 

- ผลกระทบจากการลงทุน FDI 600,000 ล้านบาท ภายใน 3-5 ปี ดังนี้ 

1. การค้าและการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน   ทั้งนี้ ในช่วงการประชุม APEC 2022 ไทยและจีนเห็นพ้องกันในการเพิ่มพูนมูลค่า และอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและผลไม้ พร้อมทั้งส่งเสริมการลงทุนซึ่งกันและกันในอุตสาหกรรมดิจิทัล ยานยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมสีเขียวเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จีน-ไทยจะใช้ประโยชน์จากความตกลง RCEP และส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงทางราง รวมถึงการดำเนินการโครงการรถไฟไทย-จีน  ซึ่งคาดว่าการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับจีนจะเพิ่มขึ้นประมาณ  ประมาณ 1-2 แสนล้านบาท

2. การค้าและการลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอารเบียและกลุ่มประเทศอ่าวอาหรับ 6 ประเทศ (GCC) ที่ประกอบด้วย ซาอุดิอาระเบีย คูเวต การ์ตา โอมาน บาเรนและยูเออี โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย 12 อุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมพลังงาน ปิโตรเคมี เกษตร เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพและบริการ ในพื้นที่ EEC ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าโดยรวมประมาณ 1-3 แสนล้านบาท
 
3. การลงทุนในอุตสาหกรรม BCG Economy  ยานยนต์ไฟฟ้า และพลังงานทดแทนที่มาจากประเทศอื่นนอกจากจีนและซาอุดิอารเบีย ประมาณ 50,000-100,000 ล้านบาท

4. การลงทุนในเศรษฐกิจดิจิทัล  E-commerce และ Robot ที่มาจากประเทศอื่นนอกจากจีนและซาอุดิอารเบีย ประมาณ 50,000-100,000 ล้านบาท

5. การลงทุนในธุรกิจบริการอื่นๆ เช่นการท่องเที่ยว  การบริการสุขภาพและความงาม และโลจิสติกส์ ที่มาจากประเทศอื่นนอกจากจีนและซาอุดิอารเบีย ประมาณ 50,000-100,000 ล้านบาท
 
โอกาส ความก้าวหน้า และการเจรจาที่เกิดขึ้น ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย หลังการประชุม APEC CEO Summit 2022
 
 
 
 
 


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




APEC2022

MSMEs – หัวใจเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก... เท่าเทียมแล้วหรือยังเพื่อการเจริญเติบโตทั่วทั้งระบบนิเวศ?
นับถอยหลัง “APEC CEO Summit 2022” ภาคเอกชนและภาคประชาชน ประกาศความพร้อม
นับถอยหลังเวทีประชุมด้านธุรกิจและการค้าครั้งประวัติศาสตร์ “APEC CEO Summit 2022”
นับถอยหลัง APEC CEO Summit 2022 เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้นำธุรกิจแห่งเอเชียแปซิฟิก
ภาคเอกชนไทยเดินหน้าเต็มกำลังสู่การเป็นเจ้าภาพ APEC CEO Summit 2022
จับตาเอเปค!! “จุรินทร์” กุมบังเหียนประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเปค อภิมหาอำนาจ จีน-รัสเซีย-อเมริกา พร้อมหน้า !!!
เอเปค 2022 “จุรินทร์” นำ BCG Model โชว์นานาชาติ ตั้งเป้าดันเอสเอ็มอี ไมโครเอสเอ็มอี สู่ตลาดโลก
“จุรินทร์” ถกผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เวที APEC ขอ US ปลดไทยจากบัญชี WLฯ
"จุรินทร์" เดินหน้าตลาดอาหาร-ผลไม้พรีเมียม-ดิจิทัลคอนเทนต์ไทย "บุก" ฮ่องกง
จุรินทร์ "นำร่องขยายโอกาสประเทศไทย" ใช้เวที APEC เจรจาเน้นทำ FTAAP



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM