ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


“จุรินทร์” ถกผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เวที APEC ขอ US ปลดไทยจากบัญชี WLฯ
“จุรินทร์” ถกผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เวที APEC ขอ US ปลดไทยจากบัญชี WL
และให้หนุนไทยเป็นแหล่งผลิตและแหล่งลงทุนผลิตวัตถุดิบป้อนสหรัฐฯ
ตามนโยบาย Supply America
 
20 พฤษภาคม 2565, กรุงเทพฯ : นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการหารือทวิภาคี (Bilateral discussions) กับนางแคทเธอรีน ไท ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ณ โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
 
“จุรินทร์” ถกผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เวที APEC ขอ US ปลดไทยจากบัญชี WL
 
นายจุรินทร์ กล่าวว่า มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ปี 2564 มีมูลค่าการค้าระหว่างกัน 56,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 1.77 ล้านล้านบาท ถือเป็นคู่ค้าลำดับสำคัญลำดับที่ 3 ของไทย รองจากจีน และญี่ปุ่น โดยไทยได้ดุลสหรัฐอเมริกา และสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกลำดับ 1 ของไทยโดยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐ 41,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 1.31 ล้านล้านบาท สินค้าส่วนใหญ่ที่ส่งไปสหรัฐฯ เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ยาง อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์และอุปกรณ์ยานยนต์ เป็นต้น
 
ประเด็นที่ไทยหารือกับท่านรัฐมนตรีผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ มี 3 ประเด็นสำคัญ
 
ประเด็นที่หนึ่ง ขอให้สหรัฐฯ พิจารณาถอดไทยออกจากบัญชีจับตามอง หรือ WL(Watch List) ด้านทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งจะมีการพิจารณาอีกครั้งหนึ่งในเดือนกันยายนปีนี้ เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่า มีความคืบหน้าอย่างยิ่งในการดำเนินการจัดการการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีกฎหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความทันสมัย และมีรายงานจากผู้แทนของสหรัฐฯ ที่มาติดตามความคืบหน้าการดูแลด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทย รายงานไปในทางบวกที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมแล้ว
 
ประการที่สอง ไทยขอให้สหรัฐฯ สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบและแหล่งลงทุนด้านการผลิตวัตถุดิบทั้งขั้นต้นและขั้นกลางให้กับสหรัฐอเมริกา ตามนโยบายของประธานาธิบดีไบเดน ที่ชื่อว่า “ซัพพลายอเมริกา” ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ โดยวัตถุดิบที่จะเป็นวัตถุดิบขั้นกลางในการสนับสนุนการผลิตขั้นต่อไปในสหรัฐฯ ไทยได้เชิญชวนมาลงทุนที่เมืองไทย เช่น การผลิตแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า  การลงทุนด้านวัตถุดิบเกี่ยวกับอาหาร ยา และการลงทุนด้านเซมิคอนดักเตอร์ เป็นต้น
 
ประการที่สาม เนื่องจากปีนี้เราเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยไทยเป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีเขตเศรษฐกิจการค้า 21 เขตเศรษฐกิจ ขอให้สหรัฐฯ ช่วยสนับสนุนการออกแถลงการณ์ร่วมที่เป็นผลจากการประชุมครั้งนี้ ซึ่งสหรัฐฯ ไม่มีประเด็นขัดข้อง

สำหรับประเด็นที่สหรัฐฯ หยิบยกมาคุยกับไทยมีด้วยกัน 3 ประเด็นหลัก 
 
ประเด็นที่หนึ่ง สหรัฐฯ แจ้งว่าสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพเอเปคของประเทศไทยในปีนี้ และสนับสนุนการทำหน้าที่ประธานการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าของเอเปค และที่สำคัญปีหน้าสหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคต่อจากประเทศไทย ขอให้ช่วยสนับสนุนด้วยเช่นเดียวกัน และขอเชิญผู้แทนจากประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมกับสหรัฐอเมริกาต่อไปในปีหน้า
 
ประเด็นที่สอง เรื่องการประชุมองค์การการค้าโลก หรือ WTO (World Trade Organization) ขึ้นมาหารือมีความเห็นที่สอดคล้องกันในภาพรวมทั้ง 2 ประเทศ ต่างล้วนประสงค์ผลักดันให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกหรือที่เรียกว่า MC 12 (Ministerial Conference) เกิดขึ้น ประเด็นสำคัญ เช่น การปฏิรูป WTO การจัดตั้งองค์กรอุทธรณ์ของ WTO ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพราะมีความสำคัญสำหรับกรณีข้อพิพาทที่เกิดขึ้น เนื่องจากเมื่อองค์กรพิจารณาข้อพิพาทขั้นต้นได้มีคำตัดสินแล้ว ยังสามารถอุทธรณ์ไปยังองค์กรอุทธรณ์ได้ แต่ขณะนี้องค์กรอุทธรณ์ยังไม่มีการจัดตั้งขึ้น ต้องรอผลการประชุมร่วม WTO ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีความสำคัญในการช่วยยุติข้อพิพาทระหว่างสมาชิก เห็นควรให้จัดตั้งองค์กรนี้โดยเร็ว
 
ประเด็นที่สาม เรื่องกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก และแจ้งให้ประเทศไทยรับทราบ และเชิญประเทศไทยเข้าร่วมในการประกาศเจตนารมณ์จัดตั้งกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก ขึ้นที่กรุงปารีสในช่วงประมาณวันที่ 11 มิถุนายน 2565 ซึ่งไทยแจ้งว่าคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แจ้งความประสงค์ในการเข้าร่วมการแสดงเจตนารมณ์เจรจาต่อไป  สำหรับการเชิญรัฐมนตรีพาณิชย์เข้าร่วมประชุมในช่วงที่ปารีสนั้นตนรับทราบเป็นการเบื้องต้น
 
อย่างไรก็ตามในวันพรุ่งนี้และวันมะรืนนี้ (21-22 พ.ค.65)จะมีการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าเอเปคซึ่งสหรัฐฯจะเข้าร่วมการประชุมด้วยตลอด 2 วัน ถ้ามีประเด็นอะไรเพิ่มเติมก็จะหยิบยกขึ้นมาหารือกันในที่ประชุมได้เพิ่มเติมอีกครั้ง

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




APEC2022

โอกาส ความก้าวหน้า และการเจรจาที่เกิดขึ้น ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทย หลังการประชุม APEC CEO Summit 2022
MSMEs – หัวใจเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก... เท่าเทียมแล้วหรือยังเพื่อการเจริญเติบโตทั่วทั้งระบบนิเวศ?
นับถอยหลัง “APEC CEO Summit 2022” ภาคเอกชนและภาคประชาชน ประกาศความพร้อม
นับถอยหลังเวทีประชุมด้านธุรกิจและการค้าครั้งประวัติศาสตร์ “APEC CEO Summit 2022”
นับถอยหลัง APEC CEO Summit 2022 เวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผู้นำธุรกิจแห่งเอเชียแปซิฟิก
ภาคเอกชนไทยเดินหน้าเต็มกำลังสู่การเป็นเจ้าภาพ APEC CEO Summit 2022
จับตาเอเปค!! “จุรินทร์” กุมบังเหียนประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเปค อภิมหาอำนาจ จีน-รัสเซีย-อเมริกา พร้อมหน้า !!!
เอเปค 2022 “จุรินทร์” นำ BCG Model โชว์นานาชาติ ตั้งเป้าดันเอสเอ็มอี ไมโครเอสเอ็มอี สู่ตลาดโลก
"จุรินทร์" เดินหน้าตลาดอาหาร-ผลไม้พรีเมียม-ดิจิทัลคอนเทนต์ไทย "บุก" ฮ่องกง
จุรินทร์ "นำร่องขยายโอกาสประเทศไทย" ใช้เวที APEC เจรจาเน้นทำ FTAAP



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM