ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


หายนะทางธุรกิจของโตชิบา สาเหตุจากความ “ดื้อ”

หายนะทางธุรกิจของโตชิบา สาเหตุจากความ “ดื้อ”

เผยแพร่โดย  Anngle.org

หายนะทางธุรกิจของโตชิบา สาเหตุจากความ “ดื้อ"

 

ข่าวคราวความเคลื่อนไหวในแวดวงธุรกิจระดับประเทศของญี่ปุ่นตอนนี้ หนีไม่พ้นกระแส “ความพินาศแบบโดมิโน” ปรากฏการณ์ที่บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าใหญ่ๆ อายุอานามเก่าแก่ของญี่ปุ่นต่างก็ประสบภาวะขาดทุนหลายพันล้านดอลลาร์ติดๆกัน เริ่มตั้งแต่พานาโซนิค โซนี่ ไปจนถึงจวนเจียนจะล้มละลายจนต้องขายธุรกิจให้ต่างชาติอย่างบริษัทชาร์ป

ข่าวไม่สู้ดีเหล่านี้ทำเอาคนญี่ปุ่นอกสั่นขวัญแขวน เพราะไม่เชื่อว่าบริษัทที่เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจและอยู่คู่ประเทศมาเป็นร้อยปีจะต้องมาประสบกับความล้มเหลวในสเกลใหญ่ เกิดอะไรขึ้นกับญี่ปุ่นกันแน่?  

และเป็นอันต้องก่ายหน้าผากอีกรอบ เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ที่อยู่คู่ญี่ปุ่นมากว่า 140 ปี อย่างโตชิบา ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่คนไทยคุ้นเคยเป็นอย่างดี ต้องออกมาเร่ขายหุ้นเพราะแบกรับสภาวะขาดทุนไม่ไหว แผนกผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของโตชิบาในวันนี้ได้ตกเป็นของเครือมิเดีย กรุ๊ป จากประเทศจีนเป็นที่เรียบร้อย โดยมิเดียได้เข้ามาซื้อหุ้นไว้ถึง 80.1% ด้วยมูลค่าเพียง 437 ล้านดอลลาร์ แลกกับสิทธิ์ที่จะได้ถือครองการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในนามโตชิบา 40 ปี

นี่คือความพินาศอย่างแท้จริง เพราะไม่เพียงบริษัทเก่าแก่ต้องตกเป็นของคู่รักคู่แค้นอย่างจีน แต่โตชิบาต้องจำใจปรับลดพนักงานถึง 6,800 ตำแหน่ง ปิดโรงงานและเปลี่ยนมือโรงงานในเอเชียหลายประเทศไปให้กับจีน โตชิบาเองออกมายิ้มรับทั้งน้ำตาว่า บริษัทของตนแม้จะสะสมความรู้ทางนวัตกรรมไว้มากมาย มีสุดยอดเทคโนโลยีไว้ในมือ แต่ล้มเหลวในแง่ของการต่อยอดทุนรอน ล้มเหลวด้านการบริหารและการเงินจนไม่อาจยืนอยู่ได้ด้วยตัวเองอีกแล้ว

 

หายนะทางธุรกิจของโตชิบา สาเหตุจากความ “ดื้อ”    หายนะทางธุรกิจของโตชิบา สาเหตุจากความ “ดื้อ”

สาเหตุของความพังพินาศครั้งนี้ เป็นเพราะ “ความดื้อ”

ดื้อ 1: มองไกลนักมักหลงทาง

ว่ากันว่าตอนนี้เป็นยุค “อิ่มตัว” ของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น สำหรับประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่น เครื่องใช้ไฟฟ้ากลายเป็นอุตสาหกรรม “ล้าหลัง” ไปแล้ว ญี่ปุ่นไม่อาจจะลงมาสู้ในสนามเครื่องใช้ไฟฟ้ากับเกาหลีหรือจีนได้ด้วยการลดสเป็กสินค้าแล้วหั่นราคา หรือจะลงไปสู่กับอเมริกาในแง่ของนวัตกรรมไอทีก็ดูเหมือนญี่ปุ่นจะเดินหมากช้าเกินไป

ทางแก้ของผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่น ณ วินาทีนี้คือ ลุยผลิตสินค้าอินฟราสตรัคเจอร์ขนาดใหญ่ เช่นรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ การผลิตพลังงาน ที่กำลังเป็นที่ต้องการของประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างอินเดีย จีน รวมไปถึงพี่ไทยด้วย

โตชิบาก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่เห็นดีเห็นงามกับแผนนี้ เลยทำอัตวินิตบากกรรม “ทุบหม้อข้าวตัวเอง” ด้วยการปิดโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศ ลดกำลังในไลน์การผลิตพีซีและมือถือด้วยการหันไปเกี่ยวก้อยกับโซนี่ และนำเงินลงทุนไปซื้อกิจการเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของบริษัทอเมริกาอย่างเวสติ้งเฮ้าส์ด้วยมูลค่ามหาศาล

ปรากฏว่าเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์นั้นขายฝืดกว่าที่คิด จากที่ตั้งเป้าไว้ 39 เตาปฏิกรณ์ทั่วโลก โตชิบาติดตั้งไปเพียง 8 เตาเท่านั้น และเมื่อเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุคุชิม่าในปี 2011 ภาพลักษณ์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในหมู่ประชาชนติดลบ

โตชิบาก็ยังดื้อแพ่งไม่แก้ไขแผนการของตัวเอง ยังคงเดินหน้าหวังจะเป็นจ้าวการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ของโลก และไม่หวนกลับมาเพิ่มขนาดการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ผลลัพธ์คือโตชิบาขาดทุนย่อยยับกว่า 6,400 ล้านดอลล่าร์

บางคนกล่าวว่าความดื้อที่เกิดจากความเชื่อมั่นในตัวเอง มุ่งไปข้างหน้าอย่างมั่นใจจะนำมาซึ่งความสำเร็จ แต่ในกรณีของโตชิบา ดูเหมือนความดื้อที่เกิดจากการมองไกลเกินไปโดยไม่ดูบริบทในปัจจุบันของโลก นำมาซึ่งการเสียส่วนแบ่งตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นับว่าใกล้ชิดกับชีวิตคนทั่วไปมากกว่านิวเคลียร์ ทำให้โตชิบาตกอยู่ในสภาพคนหลงทาง

และก็ยิ่งดื้อหนักเพราะดูเหมือนว่าผู้บริหารของโตชิบายังไม่ทิ้งแผนการลุยตลาดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ยังคงกำหุ้นในส่วนของพลังงานนิวเคลียร์ไว้ไม่ยอมปล่อย การตัดสินใจเช่นนี้ของโตชิบาอาจจะทำให้ยิ่งหลงทางหนักขึ้นไปอีกในอนาคต

 

 หายนะทางธุรกิจของโตชิบา สาเหตุจากความ “ดื้อ”

ดื้อ 2: ข้างนอกสดใส ข้างในเป็นโพรง

บางครั้งคนที่หลงทางมักทำอะไรผิดๆที่ยิ่งทำให้ตัวเองถลำลึกจนกู่ไม่กลับ ด้วยความที่ขาดทุนย่อยยับมาหลายปีติดต่อกัน แทนที่จะแก้ไขด้วยการปรับโครงสร้าง ลดขนาด เปลี่ยนยุทธศาสตร์ และออกมายอมรับความล้มเหลวต่อสาธารณชนด้วยความโปร่งใส กลับกลายเป็นว่าฝ่ายในของโตชิบาตั้งแต่ผู้บริหารยันลูกน้อง ต่างก็ร่วมมือร่วมใจกันทำการตบแต่งบัญชี หลอกตาลูกค้าและผู้ถือหุ้นด้วยการปรับลดตัวเลขการขาดทุนและเพิ่มตัวเลขล่องหนเข้าไปในบัญชีมากกว่าห้าแสนล้านเยน

เมื่อความแตกเพราะไม่อาจปกปิดสภาพร่อแร่ทางการเงินได้อีกต่อไป ภาพลักษณ์ทางจรรยาบรรณของโตชิบาก็เสียหายจนไม่อาจฟื้นคืนได้ เป็นเหตุให้ผู้บริหารใหญ่ต้องออกมาโก้งโค้งขอโทษพร้อมลาออก และริเริ่มการปฏิรูปโครงสร้างภายในซึ่งดูเหมือนจะสายเกินไปเสียแล้ว

 

หายนะทางธุรกิจของโตชิบา สาเหตุจากความ “ดื้อ”

ดื้อ 3: ไม่ปรับตัวตามโลก

ก่อนที่โตชิบาจะหันหัวเรือไปสู่เส้นทางของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ บริษัทได้ประสบกับปัญหาเริ่มต้น ซึ่งก็คือยอดขายของพีซีที่เคยเป็นพระเอกของบริษัทตกต่ำลงหลายปีติดกันเพราะเสื่อมความนิยม ถูกแทนที่ด้วยการมาของแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟน และแม้จะยังมั่นอกมั่นใจกับคุณภาพของพีซี แต่โตชิบาไม่ปรับดีไซน์ให้ทันกับกระแสจนยอดขายตก จนท้ายที่สุดโตชิบาต้องกระจายความเสี่ยงไลน์การผลิตพีซีด้วยการร่วมหุ้นกับโซนี่ 

ไม่เพียงเท่านี้ ความผิดพลาดที่นับเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น คือการตามไม่ทันกระแสการเติบโตของชนชั้นกลางในเอเชีย ดื้อแพ่งไม่ปรับทัศนคติว่าเอเชียคือตลาดที่สำคัญไม่แพ้ตลาดภายในประเทศญี่ปุ่น โตชิบายังคงยึดติดกับความคิดที่ว่าเอเชียเป็นเพียง “แหล่งผลิต” เพื่อป้อนตลาดในญี่ปุ่นเท่านั้น และไม่ปรับรูปลักษณ์ รูปแบบของสินค้า รวมถึงราคาให้ตรงกับความต้องการของตลาดในเอเชีย และยังคงยัดเยียดที่จะขายอะไรเดิมๆ สินค้าเดิมๆ ที่ตกยุคไปแล้ว โดยลืมไปว่าทุกวันนี้กระแสการบริโภคของเอเชียนั้นก็ล้ำไม่แพ้ใคร

ผลลัพธ์ก็คือชื่อของโตชิบาค่อยๆหายไปจากความนิยมของผู้บริโภค แทนที่ด้วยเจ้าใหม่ๆอย่างซัมซุงและแอลจีของเกาหลี หรือไฮ่เออร์ของจีนที่เริ่มตั้งตัวจากการที่ตลาดในประเทศไม่เข้มแข็ง จึงต้องรู้จักการปรับตัวเพื่อเอาใจตลาดนอกประเทศ ไม่เหมือนผู้ผลิตญี่ปุ่นที่ยึดติดกับตลาดภายในประเทศที่ตอนนี้อ่อนแอลงเรื่อยๆ

 

หายนะทางธุรกิจของโตชิบา สาเหตุจากความ “ดื้อ”

ความดื้อบางครั้งให้คุณ แต่หลายต่อหลายครั้งความดื้อกลับให้โทษมากกว่า บทเรียนจากหายนะทางการเงินของโตชิบาในครั้งนี้ก็คือ อย่าดื้อหรือหัวแข็งจนเกินไป ที่จริงแล้วการประสบกับความผิดพลาดนั้นย่อมเกิดขึ้นได้

แต่การดื้อแพ่งไม่ยอมปรับตัว ไม่ยอมแก้ไขให้ทันควันในยุคของการผลิตและการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ อาจทำให้สิ่งที่สร้างมาอย่างยาวนานพังลงกับตาในไม่กี่อึดใจ

 

 

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




รวมข่าว / News Link

ทอท.เร่งเครื่องรถไฟฟ้าในสนามบินดอนเมือง มูลค่า 5พันล้าน หวังเปิดประมูลปีหน้า
“ฐากร” ยัน ยกเลิกมาตรการเยียวยาคลื่นให้ดีแทค
จองพื้นที่วันแรกคึกคัก ค่ายรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ แห่จองพื้นที่งาน มหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 35
จ่อขยายอายุการใช้งานหนังสือเดินทางจาก 5 ปี เป็น 10 ปี
Google เริ่มงานวิจัย ใช้ข้อมูล 46,000 ล้าน Data Point ทำนายว่าผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้อย่างแม่นยำ
เศรษฐีแห่ซื้อเพนต์เฮาส์แพงเว่อร์!
หวั่นพิษเลือกตั้งในยุโรป ปั่นเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลกป่วน
โละขายสถานทูตออสเตรเลีย 7 ไร่ 6 พันล้าน ไข่แดงย่านสาทร
กฎหมาย การเมือง คนจน ความเหลื่อมล้ำและการพัฒนา
หยุดไล่คนออกจากป้อมมหากาฬ
โครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยาพบชุมชนเขตบางซื่อเตรียมทำแผนฯ
โครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยาพบชุมชนเขตดุสิตเตรียมทำแผนฯ
ทางพิเศษสายศรีรัชฯ คาดเปิดใช้กลางปีนี้
เร็วฝ่าหิมะ! จองทดลองนั่ง “ฮอกไกโดชินคันเซน” ล้นหลาม
จุดตัดรถไฟฟ้าทำเลทองใหม่ 5 สถานีหลัก ราคาคอนโดฯ จ่อขยับเพิ่ม



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM