ร้องเรียน...นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ รองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ
เมืองประวัติศาสตร์ต้องมีคนอยู่อาศัย...หยุดไล่คนออกจากป้อมมหากาฬ
โดย Naty Chaowanno ไทย
หากใครยังไม่เคยเห็นกรุงเทพฯ ครั้งที่ยังมีเสน่ห์ และชีวิตยังเนิบช้าเมื่อเกือบศตวรรษที่แล้ว ลองไปยืนริมถนนมหาไชยฝั่งวัดราชนัดนา แล้วเงยหน้าสูงๆ เพื่อมองไปที่ยอดกำแพงที่มีใบเสมาและหมู่ยอดไม้ใหญ่สูงลิ่วเป็นทิวแถวด้านหลังกำแพง หากเป็นยามเย็นลมจะพัดจนยอดไม้ใหญ่เอนไหวพลิ้วตามแรงลม ทำจิตสงบนิ่งสักพักก็คงระลึกชาติได้
บริเวณนี้อีกเช่นกัน พวกเราคนกรุงเทพฯ เกือบจะเป็นพยานให้เกิดการทำลายพื้นที่ชานพระนคร พื้นที่อยู่อาศัยและย่านประวัติศาสตร์สำคัญของคนกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นสนามหญ้าเสียแล้ว และคงจะเรียกทุกอย่างให้กลับคืนไม่ได้ตลอดกาล
กลายเป็นการต่อสู้ของชาวบ้านที่อยู่หลังกำแพงนั่นเอง พวกเขาช่วยกันเก็บพื้นที่สำคัญเหล่านี้ไว้ให้พวกเรา นับแต่พระราชกฤษฎีกาเวนคืนตั้งแต่ ๒๕๓๕ ถึงวันนี้ก็ ๒๓ ปี รัฐท้องถิ่น ผู้จัดการพื้นที่ ยังไม่สามารถทำให้บริเวณริมน้ำตรงนี้กลายเป็นสนามหญ้า เป็นสวนสาธารณะเหมือนที่อื่นๆ ตามแนวทางการออกแบบของคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์ได้ พวกเราก็เลยยังคงได้เห็นภาพและชื่นชมชีวิตและสภาพเป็นพระนครแบบเดิมๆ ของเราจากบริเวณส่วนที่ถูกเรียกว่า “ชุมชนป้อมมหากาฬคนในป้อมกล่าวว่า คนที่นี่รวมน้ำใจเป็นหนึ่งเดียวกันไปนานแล้ว ทุกวันนี้ยังคงมีการจัดเวรยามเฝ้าในช่วงหลังเที่ยงคืนทุกคืน คนเข้าเวรทั้งชายและหญิง ทำแบบนี้มานานแล้ว
ความเป็นชุมชนแบบเป็นทางการของที่นี่ไม่มีในสารบบของเขตพระนคร ไม่มีการสนับสนุนทางเงินงบประมาณจากรัฐทุกรัฐราชการทุกหน่วยงาน การปรับปรุงพื้นที่ลอกท่อ ปลูกต้นไม้ ทำสาธารณูปโภคบ้างเคยมีอยู่เดิม แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้เงินของชุมชน จากการออมทรพย์ที่จัดตั้งขึ้น และแรงงานของชุมชนทำกันเองทั้งหมด หากคนเสียชีวิตไปแล้วไม่มีสิทธิตั้งคนเป็นเจ้าบ้านใหม่ ถูกคุมจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการไปในตัวการกระทำเช่นนี้สร้างข้อเปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน คนหลังกำแพงก็กลายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งชัดเจน มีผู้นำโดยธรรมชาติ มีคนอาสาสมัครและแบ่งเวรยามโดยไม่ต้องใช้เงินจ้างจนทุกวันนี้ผู้คนที่ป้อมมหากาฬ ปรับตัวเอง พัฒนาตนเอง แทบไม่ได้การสนับสนุนอย่างจริงจังจากที่ใดหรือองค์กรใดๆ หลายคนพัฒนาตัวเองกลายเป็นองค์กรชาวบ้านที่เป็นเครือข่ายเรื่องที่อยู่อาศัยที่ถูกไล่รื้อจากทั่วประเทศ ที่เผชิญปัญหาเดียวกันทั้งประเทศและขยายไปสู่เครือข่ายในประเทศอื่นๆ ด้วย ประสบการณ์จากปัญหาของตนเองถูกนำไปใช้กับสถานการณ์อื่นๆที่กำลังบีบคนจนให้อยู่ยากขึ้น แย่ขึ้นไปจากที่เป็นอยู่และจะทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้นเอง
ชุมชนป้อมมหากาฬ ซึ่งที่จริงก็คือตรอกพระยาเพ็ชรปราณี ในบ้านที่เป็นสมบัติตกทอดมาจากรุ่นคุณทวดแหล่งกำเนิดลิเกตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ที่เหลือเป็นเพียงความทรงจำที่ยังต่อติดเพียงแห่งเดียวในย่านชานพระนครนี้ แต่ถูกกำหนดเพื่อจัดการบนแผ่นกระดาษของสถาปนิกจัดทำเมืองประวัติศาสตร์ยุคหนึ่งว่า ควรใช้ยางลบลบออกไปเสียเพื่อให้เป็นสวนสาธารณะของคนเมือง
เมืองประวัติศาสตร์ต้องมีคนอยู่อาศัย....หยุดไล่คนออกจากกรุงเทพฯ