ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??

Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??

“ประเทศไทยมีขยะในทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยมีการปล่อยขยะลงสู่ท้องทะเลถึงกว่า 1 ล้านตันต่อปี ส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก ที่ผ่านมามีเต่าทะเลกว่า 100 ตัวต้องตายลงเพราะกินขยะพลาสติกเข้าไป เวลานี้จะเห็นแมงกะพรุนจำนวนมากในหลายพื้นที่ เพราะเต่าทะเลเป็นสัตว์เพียงไม่กี่ชนิดที่กินแมงกะพรุนเป็นอาหาร” นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง กล่าว

Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??

  • นอกจากตัวเลขจีดีพี สะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและความสามารถของแต่ละประเทศแล้ว
  • อีกหนึ่งตัวเลขที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือการทำลาย ทรัพยากรธรรมชาติในขณะที่เราดำรงชีวิตอยู่
  • เร็วๆ นี้จะถึง วันสิ่งแวดล้อมโลก, วันอนุรักษ์ท้องทะเล ฯลฯ ซึ่งทั่วโลกให้ความสำคัญ
  • ประเทศไทยมีพื้นที่ทางทะเลรวม 323,488.32 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 60% ของพื้นที่ทางบก ความยาวชายฝั่งทะเลเท่ากับ 3,151.13 กิโลเมตร  ขณะที่สุขภาพของทะเลไทย ตอนนี้อยู่ในขั้นโคม่า เพราะติดอันดับ 6 เรื่องปล่อยขยะลงสู่มหาสมุทรมากที่สุด
  • เรามีประชากรเพียง 65 ล้านคน แต่ขยะกลับเยอะ แซงหน้าอินเดีย, อเมริกา ฯลฯ ที่มีประชากรกว่าพันล้านคน  
  • มีแก้ปัญหา ต้นทาง  กลางทาง แต่ที่สุดแล้วต้องขอร้อง ปลายทาง ให้ช่วยกัน  ท้องทะเลที่สมบูรณ์จะได้ไม่กลายเป็นแค่ตำนาน 
  • “พลาสติก” คือ “เพชรฆาต” ของสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล หลังผ่าพิสูจน์พบเศษพลาสติกในท้องของมันจำนวนมาก (คร่าชีวิต “เต่าทะเล”  ไปแล้วหลายร้อยตัว ทั้งที่พวกมันอาจมีวงจรชีวิตยืนยาวถึง 150 ปี) 

ออกทะเล-ของดีมีอยู่ที่ด้ามขวาน  

ทะเลและมหาสมุทรกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกถึง 2 ใน 3 ครอบคลุมพื้นที่โลกประมาณ 71% เป็นส่วนประกอบหลักของอุทกภาคของโลก ดังนั้นมหาสมุทรจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เป็นส่วนหนึ่งในวัฏจักรคาร์บอน และมีอิทธิพลต่อภูมิอากาศและลมฟ้าอากาศ มหาสมุทรเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตกว่า 230,000 สปีชีส์  

ท้องทะเลอาเซียนถูกจัดอันดับให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด  ซึ่งสมาชิกในประชาคมอาเซียนทั้ง 9 ชาติล้วนมีชายฝั่งติดทะเล คิดเป็นระยะทางรวมกันประมาณ 110,000 กิโลเมตร ยาวกว่าเส้นรอบวงโลกเกือบ 3 เท่า

ในจำนวนนี้ ประเทศอินโดนีเซียมีชายฝั่งยาวไกลมากที่สุด (55,000 กิโลเมตร ถือเป็นอันดับ 2 ของโลก) รองลงมาคือประเทศฟิลิปปินส์ (36,000 กิโลเมตร อันดับ 4) ประเทศมาเลเซีย (4,675 กิโลเมตร อันดับ 29)ประเทศเวียดนาม (3,400 กิโลเมตร อันดับ 33) ประเทศไทย (3,200 กิโลเมตร อันดับ 34) และประเทศเมียนมาร์ (1,900 กิโลเมตร อันดับ 54) 

ตามหลักทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ทะเลเขตร้อนเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตสูงกว่าทะเลเขตอบอุ่นและทะเลเขตหนาวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ทะเลอาเซียนยังอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า “เขตอินโด-แปซิฟิก” หรือเขตเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าทะเลเขตนี้มีความหลากหลายสูงที่สุดในโลก สูงกว่าทะเลเขตร้อนในภูมิภาคอื่นใด ทำให้ทะเลของอาเซียนไม่เพียงใหญ่โตมโหฬาร ที่นี่ยังเป็นทะเลที่อุดมสมบูรณ์เป็นอันดับหนึ่ง 


วิกฤติทะเลไทย

“ประเทศไทยมีขยะในทะเลมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยมีการปล่อยขยะลงสู่ท้องทะเลถึงกว่า 1 ล้านตันต่อปี ส่งผลต่อระบบนิเวศอย่างมาก ส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก ที่ผ่านมามีเต่าทะเลกว่า 100 ตัวต้องตายลงเพราะกินขยะพลาสติกเข้าไป เวลานี้จะเห็นแมงกะพรุนจำนวนมากในหลายพื้นที่ เพราะเต่าทะเลเป็นสัตว์เพียงไม่กี่ชนิดที่กินแมงกะพรุนเป็นอาหาร”

ข้อมูลจากนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ให้สัมภาษณ์ก่อนหาแนวทางกำจัดขยะกว่า 80% ที่ไหลลงทะเล การแก้ปัญหาแยกเป็นสามส่วน ได้แก่

  • ต้นทาง ผู้ผลิต ผู้นำเข้า,
  • กลางทาง การจัดการ ภาครัฐบาล เอกชน ภาคองค์กรส่วนท้องถิ่น,
  • ปลายทาง การจัดการขยะ เช่น ฝังกลบ นำไปสู่การทำเป็นพลังงาน ฯลฯ 

ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบันยังไม่มีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซนต์ ท้ายที่สุดแล้วถ้าจะดีขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของคนทุกคน ต้องตระหนักว่าท้องทะเลเป็นของคนทุกคนในโลกนี้ ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง เราทุกคนต้องช่วยกัน


ปัญหาพลาสติก-ยัยตัวร้าย 

ขยะพลาสติกที่หลุดออกสู่สิ่งแวดล้อม สร้างผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล สถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2559ขยะมูลฝอยชุมชนเกิดขึ้นทั่วประเทศ  27.06 ล้านตัน, เราสร้างขยะ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน, คิดเป็น 74,130 ตันต่อวัน  จำนวนมากถึง 43% (11.68 ล้านตันต่อปี) รวมกับที่ขยะที่ยังตกค้างอยู่ในพื้นที่อีกจำนวนมาก  ซึ่งขยะเหล่านี้มีโอกาสสูงมากที่จะไปปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม และก่อให้เกิดปัญหาทางทางด้านสุขอนามัย เศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่มีการย่อยสลายในธรรมชาติได้ช้ามาก ๆ อาจต้องใช้เวลาหลายร้อยปี ในการย่อยสลาย

การจัดการขยะมูลฝอยตกค้าง ปี 2559 ขยะมูลฝอยตกค้าง 30.49 ล้านตัน จัดการแล้ว 20.36 ล้านตันเหลือขยะมูลฝอยตกค้าง 10.13 ล้านตัน

ขยะที่เหลือไปไหน ??? สถานการณ์ขยะและขยะพลาสติกประเทศไทย…ปัญหาขยะได้ถูกบรรจุไว้ในแผนชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ปี 2559: ขยะในพื้นที่จังหวัดชายฝั่งประเทศไทยมีทั้งหมดประมาณ 2.83 ล้านตัน จำนวน 339,600 ตัน เป็นขยะพลาสติก 15% เป็นขยะที่ยังไม่มีการจัดการที่ถูกต้อง ขยะพลาสติก 51,000 ตัน ถูกปล่อยลงสู่พื้นที่ชายฝั่ง ระบบการจัดการขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของปัญหาขยะทะเล


สถานการณ์ขยะพลาสติกในทะเล-อันดับที่น่าอับอาย 

ประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลกที่ปล่อยขยะพลาสติกลงสู่ทะเล  และเป็น 8 ประเทศในเอเชียติดอยู่ใน  10 อันดับแรกทำไมประเทศไทยถึงติดอยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดของโลก ?????

ก็เนื่องด้วยประเทศไทยยังมีขยะจำนวนมากที่ยังมีการบริหารจัดการไม่ดี มีขยะตกค้างจำนวนมาก และปล่อยให้เกิดการปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยแหล่งที่มาของขยะทะเล 1.กิจกรรมบนฝั่ง (80%) ชุมชน, แหล่งทิ้งขยะบนฝั่ง, บริเวณท่าเรือ, การท่องเที่ยวชายหาด 2. กิจกรรมในทะเล (20%) การขนส่งทางทะเล, การประมง, การท่องเที่ยวทางทะเล  ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาทางทะเล

ขยะพลาสติกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีขยะพลาสติกเกิดขึ้นมากประมาณ 12% ของปริมาณขยะทั้งหมด หรือประมาณปีละ 2 ล้านตัน  สามารนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้ปีละ  0.5 ล้านตัน ขวดพลาสติกน้ำดื่ม ประมาณ 4,400 ล้านขวดต่อปี

โดยมีสัดส่วนการใช้พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (Cap seal) ร้อยละ 60 หรือประมาณ 2,600 ล้านขวด ขยะพลาสติกหุ้มฝาขวด (Cap seal) 2,600 ล้านชิ้นต่อปี คิดเป็น 520 ตันต่อปี (ความยาว 260,000 กม. หรือคิดเป็นความยาวรอบโลก 6.5 รอบ)ถุงพลาสติกหูหิ้ว 45,000 ล้านใบต่อปี

นอกจากผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยแล้ว ที่จัดการไม่ได้ ไหลลงทะเล โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ ผลกระทบต่อสัตว์ทะเลหายาก จากการกินแล้วเกยตื้น, จากการพันยึดภายนอก ทั้ง เต่าทะเล, โลมาและวาฬ,พะยูน ฯลฯ รวมทั้งหมดแล้วกว่า 518 ตัว (ข้อมูล สรุปจำนวนสัตว์ทะเลหายากในที่ได้รับผลกระทบจากขยะทะเล (2559 - 2560) 

 

เสียงครวญจากท้องทะเล เหล่าเพชรฆาตดาวรุ่ง “ไมโครพลาสติก-นาโนพลาสติก” ซ้ำอ่วม  

นอกจากขยะมูลฝอยที่เห็นในรูปของสสารทั่วไป จับต้องได้ เช่น กระป๋อง, ถุงก็อบแก๊บ แล้ว ปัจจุบันท้องทะเลไทยยังมากมายไปด้วยพร๊อพที่ไม่ได้รับเชิญอย่าง พลาสติกขนาดเล็ก (เล็กกว่า 5 มิลลิเมตร) หรือ ไมโครพลาสติก ซึ่งแหล่งที่มา ได้แก่

1. ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม และในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น ยาสีฟัน สครัปหน้า ยากันแดด โฟม อาบน้ำ และ ผงซักฟอก เป็นต้น (ปัจจุบันได้ห้ามใช้ในหลาย ๆ ประเทศ)

2. เกิดมาจากการย่อยสลายหรือแตกตัวของพลาสติกขนาดใหญ่พลาสติกที่มีขนาดใหญ่เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำและทะเลแล้ว จะเกิดการสลายตัวหรือการแตกเป็นชิ้นเล็กเกิดขึ้นเมื่อได้รับอิทธิพลจากแสงอุลตราไวโอเล็ต และอุณหภูมิที่สูงจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจนทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของพลาสติก และเกิดการแตกตัวเกิดขึ้น

พบการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกที่ไหนบ้างในทะเล

1. ในชายหาดและตะกอนดินพื้นที่ (มีพบทั่วโลก)

2. ทะเลอันดามัน (ฤดูแล้ง)

3. ค่าเฉลี่ยไมโครพลาสติกที่พบในชายหาด: บริเวณน้ำขึ้นสูงสุด (High tide) =  1,860 ±533.84  บริเวณเขตน้ำขึ้นและลง (Intertidal) =  1,842 ±587.57 (จำนวนชิ้นต่อตารางเมตร) 

4. พบในทะเลลึก ไมโครพลาสติกมีการพบไปทุกพื้นที่ของทะเลและมหาสมุทร พบไมโครพลาสติกในสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลลึกที่มีความลึกมาก 10 กิโลเมตร (By Stephanie Pappas, Live Science Contributor | November 16, 2017 01:31pm ET)

ถามว่า ไมโครพลาสติกมีผลกระทบอย่างไรต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล?? พลาสติกมีส่วนผสมทางเคมีที่ใช้ในการกำหนดคุณสมบัติ (additive chemicals) ที่จะถูกปล่อยออกมาเมื่อเกิดการย่อยสลาย ที่อาจสะสมและเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตที่รับไมโครพลาสติกเข้าไป

ซึ่งจากการศึกษาในสัตว์หลายชนิด พบมีการสะสมของสารพิษที่มาจากพลาสติกเกือบทั่วโลก, พื้นที่ผิวของไมโครพลาสติกจะเป็นพื้นที่ให้สารมลพิษหรือแบคทีเรียมายึดเกาะและสะสมได้ เมื่อสิ่งมีชีวิตรับเข้าไปจะส่งผลกระทบได้ต่อสิ่งมีชีวิตนั้น, ไมโครพลาสติกส่งผลกระทบต่อทางกายะภาพ หรือทางชีววิทยาต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น การพบว่ามีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของแพลงตอนสัตว์บางชนิด รวมทั้งมีผลกระทบที่อาจเกิดกับมนุษย์ที่เป็นผู้บริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์จากทะเล

ถ้ามองทุกอย่างเป็น วงกลม, วงจร ฯลฯ นี่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และถ้ามองตามหลักศาสนา เรากำลังได้รับผลกระทบนี้จากการกระทำของเราเองแล้ว 


ปลายทางต้องช่วยกัน

ปัจจุบัน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  รับผิดชอบดูแลทรัพยากรทางทะเลได้ร่วมดำเนินการกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการและลดปริมาณขยะทะเล เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และการปนเปื้อนในอาหารทะเล โดยกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” 

ที่ผ่านมาทำโครงการ ประชารัฐขจัดขยะทะเล หลักการ 3Rs-ประชารัฐ Reduce – การลดปริมาณการผลิตขยะจากการบริโภคน้อยลง Reuse  – การใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่อย่างคุ้มค่า Recycle – การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความยั่งยืน ยึดหลักการการมีส่วนร่วมตามการดำเนินงานแบบ ”ประชารัฐ” ได้แก่ ภาคราชการ, ภาคเอกชน, ภาคการศึกษา, ภาคศาสนา, ภาคประชาชน/ประชาสังคม, ลด คัดแยก ใช้ประโยชน์ขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทาง

พร้อมทั้ง การจัดเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญ  ด้วย ทุ่นกักเก็บขยะ ดำเนินโครงการศึกษาปริมาณขยะลอยน้บริเวณปากแม่น้ำอ่าวไทยตอนบนโดยทุ่นกักขยะ ใน 2 พื้นที่ แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน โดยสถานีติดตั้งอยู่ระหว่างพิจารณาความเหมาะสมกับหน่วยงานในพื้นที่

โดยประเด็นปัญหาขยะมูลฝอยจากแผ่นดินจะเป็นแหล่งกำเนิดของขยะลงสู่ทะเลผ่านทางแม่น้ำ การศึกษาปริมาณขยะใน 5 ปากแม่น้ำอ่าวไทยตอนบน ในปี 58-60 พบขยะทะเลลอยน้ำช่วงน้ำลงรวม 79,427 ชิ้น (1,308 กก.) และช่วงน้ำขึ้นรวม 55,824 ชิ้น (737 กก.) แสดงให้เห็นถึงบริเวณปากแม่น้ำเป็นทางออกของมวลขยะส่วนหนึ่งลงสู่ทะเล ซึ่งจะส่งผลกระทบกับทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งได้ 

การจัดเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญ เทศบาลทะเล เพื่อการบูรณาการความร่วมมือในระดับพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เกิดการมีส่วนร่วมและความยั่งยืนในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ของตนอย่างมีประสิทธิภาพโดยดำเนินการในพื้นที่ 24 จังหวัดชายฝั่งทะเลไปแล้วกว่า40 ครั้ง และยังมีแผนดำเนินการต่อเนื่อง  

แต่เนื่องด้วยขยะทะเลโดยเฉพาะขยะพลาสติกที่มีอายุการย่อยสลายนานถึงหลายร้อยปี จึงสามารถที่จะตกค้างอยู่ในทะเลได้เป็นระยะเวลานานรวมถึงการแตกตัวเป็นพลาสติกขนาดเล็กหรือที่เรียกว่าไมโครพลาสติก 

โดยในระยะแรกนั้นพลาสติกส่วนใหญ่จะมีความหนาแน่นที่น้อยกว่าน้ำทะเลสามรถร่องลอยไปกักระแสน้ำได้ จะทำให้ขยะทะเลสามรถเคลื่อนย้ายจากน่านน้ำประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้  การบริหารจัดการขยะทะเลจึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือระดับนานาชาติในภูมิภาค และระดับโลก 

 

8 มิ.ย. วันทะเลโลก   

นายจตุพร กล่าวว่า เนื่องจากวันที่ 8 มิ.ย. เป็นวันทะเลโลกปี 2018 (2561) ซึ่งทั่วโลกตระหนักให้ความสำคัญกับทรัพยากรทางทะเล โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลที่ช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติ นับป็นภารกิจร่วมกัน (โลกใบนี้ มีพื้นที่ทะเลมากกว่าผืนดินหลายเท่านัก) ของคนยุคนี้ ในการรักษาและส่งต่อท้องทะเลที่สมบูรณ์ให้กับคนรุ่นหลัง 

กรมทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง  มีพันธกิจในเรื่องดังกล่าว พร้อมถือโอกาสงานวันทะเลโลกจัดงานแถลงข่าวเพื่อสร้างการรับรู้ พร้อมจัดทำภาพยนตร์เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ท้องทะเลไทย ภายใต้คอนเซปต์ (Healthy Oceans Healthy Lives : ทะเลดี ชีวีมีสุข)  สู่สาธารณะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าภาพยนตร์ชุดดังกล่าว จะสร้างจิตสำนึกในการหวงแหน และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เป็นสำคัญ โดยหลังจากนี้สามารถติดตามภาพยนตร์และกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทะเลได้ที่เวบไซด์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง www.dmcr.go.th 

Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??    Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??
 
Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??    Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??
 
Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??    Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??
 
Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??    Thai Sea : เราทำอะไรกับ “ท้องทะเลไทย” บ้าง??
 
.................................................... 

พลาสติกผลิตมาจากอะไร ?
วัตถุดิบที่สำคัญ ที่ใช้สำหรับการผลิตพลาสติกคือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่ธาตุต่างๆ เป็น ส่วนใหญ่ นอกจากนี้อาจผลิตจากน้ำมันพืช และส่วนต่าง ๆ ของพืช(เซลลูโลส เชลแล็ก และกรดไขมันต่างๆ)
 
ย้อนกลับไป พลาสติกผลิตขึ้นมาใช้ในโลกครั้งแรก  ปี พ.ศ. 2450 นักเคมีชื่อ นายลีโอ เบคแลนด์ (Leo Baekeland) ได้ค้นพบวิธีการผลิตเบคเคอไลต์ Bekelite  ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นพลาสติกสังเคราะห์ชนิดแรกของโลกขึ้นเป็นครั้งแรกจากสารอินทรีย์โมเลกุลเล็กๆ ซึ่งเกิดจากการกระทำปฏิกิริยาระหว่างฟอร์มัลดีไฮด์และฟีนอล เบคเคอไลต์ เป็นพลาสติกแข็ง ทนความร้อนได้ดี และสามารถขึ้นรูปให้มีรูปร่างต่าง ๆ ได้ตามแม่พิมพ์โดยใช้ความร้อน ทำให้มีสีสันสวยงามได้และมีราคาไม่แพง
 
ในช่วงแรกเบเคอไลต์ถูกนำมาทำเป็นฉนวนเคลือบสายไฟและชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า ต่อมาใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ของใช้ และเครื่องประดับต่าง ๆ มากมายที่มีสีสันสวย

การพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกในประเทศไทย
  • พ.ศ. ๒๕๐๐ ในระยะแรกมีการนำเข้าพลาสติกเรซินจากต่างประเทศ มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกกันประปราย
  • พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้มีการก่อตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงต้องนำเข้าเรซินจากต่างประเทศ
  • พ.ศ. ๒๕๑๔ ประเทศไทยจึงสามารถผลิตพลาสติกเรซินคือ พีวีซี ได้เองเป็นชนิดแรก ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตพลาสติกได้อีกหลายชนิด เช่น พอลิเอทิลีน พอลิโพรไพลีน พอลิสไตรีน และพอลิเอสเทอร์
 
มูลค่าทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ
  • มูลค่าจากผลผลิตภัณฑ์พลาสติกมีผลต่อเศรษฐกิจและสังคมในประเทศ คือ สร้างรายได้ จ้างงาน ผลิตภัณพ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ปริมาณพลาสติกทั้งที่ผลิตได้ในประเทศไทย รวมกับที่นำเข้าและส่งออกแล้ว ได้ใช้เป็นพลาสติกในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในประเทศไทยทั้งหมดประมาณ 4.6 ล้านตัน (ข้อมูลในปี 2558)
  • แนวโน้มการผลิต การส่ง และการบริโภคในประเทศจะมากขึ้น ในขณะที่การนำเข้ามีแนวโน้มคงที่ ประเทศไทยจึงมีแนวโน้มที่มีกำลังผลิตเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับการผลิตของโลกที่การพยากรณ์ว่าจะมีการผลิตเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว





 


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




ทูตวัฒนธรรม / Cultural Ambassador

พบกับสุดยอดผลงาน การกลับมาของพระเอกเบอร์ 1 ตลอดกาล “หวังอี้ป๋อ”
Guinness เติมสีสันให้ชาวไอริชช่วงเทศกาล “St.Patrick’s Day” เผยบรรยากาศการเฉลิมฉลองวันชาติของคอมมูนิตี้ไอริชใจกลางย่านสุขุมวิท
4 หนังชิงออสการ์ จาก “สหมงคลฟิล์ม” หลากรสคุณภาพ ได้ดูกันเต็มอิ่ม
2 สุดยอดอนิเมะระดับตำนานห้ามพลาด พร้อมทัพอนิเมะ 6 เรื่องใหม่แกะกล่อง บน iQIYI (อ้ายฉีอี้) แพลตฟอร์มที่มีอนิเมะพากย์ไทยเยอะที่สุดในโลก
“เฉินเจ๋อหย่วน” สามีแห่งชาติคนล่าสุด กับ 4 สุดยอดซีรีส์ที่คุณไม่ควรพลาดบน iQIYI (อ้ายฉีอี้)
คิง เพาเวอร์ เปิดเวที THE POWER BAND 2024 SEASON 4 เฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีสากลหน้าใหม่! ระดับประเทศ
“กุมภา-ราตรี-มีรัก” ที่หอภาพยนตร์ (Thai Film Archive)
ชวนออกร้านในงาน Night@Maya City 4 : กุมภา ราตรี มีรัก
Weaving Our Stories
เทศกาลภาพยนตร์จีน ณ กรุงเทพฯ ครั้งที่ 17 (2566) The 17th Chinese Film Festival in Bangkok (2023)
VARAVARNA Art and Design Gallery เปิดแล้ว แหล่งรวมงานดีไซสไตล์ ม.ล.ปรเมศ วรวรรณ
มาริโอ้ – จูเน่ พาคนดังเมืองไทยเปิดตัว Next Generation: Emerging Directors Exhibition And Hong Kong Film Gala Presentation
ผ้าฝ้ายลายพิมพ์ LIMITED EDITION สุดพิเศษ จาก 5 ศิลปิน/ดีไซเนอร์ เฉพาะในงานฝ้ายทอใจ ระหว่างวันที่ 7-13 สิงหาคม 2566
"RIFE" ถ่ายทอดอารมณ์งานโลหะให้มีจิตวิญญาณ สะท้อนเรื่องราวผ่านสีสันแนว Abstract
จวีจิ้งอี นางเอกสาวสวยจากซีรีส์ ตำนานเลือดฟินิกซ์ อ้อนแฟนๆ ชาวไทย ติดใจต้มยำกุ้ง ไก่วิงซ์แซ่บ!
จับปากกาวาดภาพออกเที่ยวไปทั่วโลกที่งาน “ART ROAD SHOWCASE”
“สหมงคลฟิล์มฯ” แถลงข่าว “ขุนพันธ์ 3” เปิดตัวภารกิจ “จับตาย 2 เสือร้าย” สุดท้าทาย พร้อมผงาด “ตัวอย่างเต็ม” สุดอลังการ
ก.การท่องเที่ยวกัมพูชา และ MTCO จะจัดงาน Mekong Tourism Forum 2023 ที่สีหนุวิลล์ 25-27 เมษายนนี้
แอนนา เคนดริก ตกหลุมรักบท "Alice, Darling หลงผัวร้าย ลืมเพื่อนรัก" ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้อ่านบท
Traveloka ฉลองครบรอบ 11 ปี กับแคมเปญ EPIC Salebrat11on
DITTO ปาฏิหาริย์ รักข้ามเวลา
อิซาแบลล์ อูแปร์ กราบการแสดงของ ฮิว แจ็กแมน ใน The Son “สะเทือนใจและชวนหวาดหวั่นที่สุด”
เปิดทริปประวัติศาสตร์ครั้งแรกของ ประเทศไทย "เส้นทางท่องเที่ยวสายหิ่งห้อยบางกะเจ้า จากพื้นพสุธาสู่สายธาราไหลริน"
'ลูกกตัญญู' งานนิทรรศการภาพถ่ายฝีมือ...ชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล
ริคกี้ คาร์ไมเคิล และ อิวาน เซร์บันเตส เข้าร่วมการทดสอบและการพัฒนารถจักรยานยนต์ออฟโรด ที่สำนักงานใหญ่ไทรอัมพ์
“AMAZING RACE FESTIVAL&TRIATHLON” ที่สนามกรังด์ปรีซ์ กอล์ฟ คลับ เปิดฉากความสำเร็จ พร้อมเป็นจุดหมายปลายทาง ด้านการท่องเที่ยวเชิงกีฬาแห่งใหม่ของจังหวัดกาญจนบุรี
AMAZING RACE FESTIVAL&TRIATHLON KANCHANABURI 2022
International Travel Fair-Traveloka เปิดตัวมหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ในประเทศไทย
“งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 44” จัดเต็มพื้นที่ ฟิวเจอร์พาร์ค และสเปลล์ วันนี้–22 พ.ค.65
สิงคโปร์ เปิดตัวแคมเปญ SingaporeReimagine สร้างประสบการณ์ใหม่ ชู 4 หัวใจหลัก
ททท. จับมือพันธมิตรสายการบินในประเทศ เดินหน้าสนับสนุนโครงการ “นางฟ้าพาเที่ยวทั่วไทย”
ปั้น sacit shop บนแพลตฟอร์มดิจิทัล
Amazing New Chapters @ Phra Nakhon Si Ayutthaya
“หัวหิน วินเทจคาร์ พาเหรด ครั้งที่ 19” คาราวานรถโบราณแห่งความทรงจำ
เปิดงาน “หัวหิน วินเทจคาร์ พาเหรด ครั้งที่ 18”
สมาคมรถโบราณฯ จับมือ โรงแรมอวานี จัดงาน “หัวหิน วินเทจคาร์ พาเหรด ครั้งที่ 18”
พาณิชย์ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ผ่านงาน “ศิลปาชีพทอใจ วิถีใหม่ใต้ร่มพระบารมี”
รำลึกถึง “ณภัทร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม” ผู้ล่วงลับ
ชวนไกด์แชร์ประสบการณ์ “ทุกเรื่องราวจากไกด์ ถ่ายทอดเมืองไทยสวยงาม”
Asian Dream ร่วมกับ ไมเคิล โบลตัน นักร้องและนักแต่งเพลงระดับโลก
มหัศจรรย์ในสวนลับ (The Secret Garden)
ททท. เปิดตัวโครงการ TAT GYM 2020
เปิด 3 เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนสมุทรสาคร
ชมการแข่งขัน Vietnam Grand Prix 2020 กับ Deluxe Formula1 TRIP
Finn ร่วมกับสถาบันการศึกษาไทย เปิดโปรแกรม “Top-up Degree”
ออกจากชีวิตมนุษย์เดือนชนเดือน สู่ความมั่งคั่งที่เป็นตัวเอง
ทีเส็บชู 4Ms ในตลาดไมซ์โลก เปิดตัวเวทีงานเทรดโชว์ ITCMA&CTW 2019
ทีเส็บจับมือภาคีดันภูเก็ตไมซ์ซิตี้สู่เมืองไมซ์เวิลด์คลาส
Hello! World! 2019 Panda Art Parade
เปิดประสบการณ์ท่องเมืองจีนด้วยแว่น VR
ทางออกของชีวิต ทางออกเพื่อทุกคน
งานประกวดรถโบราณ ครั้งที่ 43
ททท. ขอเชิญร่วมงานไหว้ครูมวยไทยโลกครั้งที่ 15 ประจำปี 2562
Amazing Thailand Romance Trade Meet 2019
ททท. เดินหน้าต่อยอด 5 เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล
นักท่องเที่ยวเข้าขอนแก่นทะลุเป้า 5 ล้าน รับปีใหม่
ทีมไทยโชว์ผลงาน “ปลากัด” คว้าชนะเลิศ
เปิดตัวสมาคมการท่องเที่ยวโลกเพื่อมรดกวัฒนธรรม
ย้อนรอยเล่าขาน ตำนานเมืองราชบุรี เรืองรุจี เกริกก้องปฐพี
อาเซียนชื่นมื่นร่วมชมงาน “อุ่นไอรัก คลายความหนาว สายน้ำแห่งรัตนโกสินทร์”
จัด “บุรีรัมย์ ไนท์” โปรโมท “พีทีที ไทยแลนด์ กรังด์ปรีซ์ 2018”
มิตรภาพมหัศจรรย์เกิดขึ้นแล้ว! “ซาร่า-น้องแม็กซ์เวลล์”
“GREEN BOOK”
"ทั้งมัน ทั้งม่วน" ไปกับ "หมอลำมาเนีย เขย่าลูกคอรอให้เธอมารัก"
นิทรรศการปฏิทิน ปี 2562 “มหัศจรรย์เมืองไทย เก๋ไก๋ทุกมุมมอง”
งานเปิดนิทรรศการศิลปกรรมสีน้ำโลก 2561
หนังที่ทำให้อเมริกาตาสว่างทั้งประเทศ! “Blindspotting”
การแสดง “Holding Space” โดย คณะดาน่าลอตัน (Dana Lawton) จากสหรัฐฯ
Beyond the Air We Breathe: Addressing climate change
ศิลปะการแสดงสะท้อนเสียงเยาวชน
"มจร."ลงนาม MOU ม.โปแลนด์ ปั้นหลักสูตรร่วมสาขาสันติศึกษา
"ก่อนเป็นไทย : เครื่องปั้นดินเผากับความเชื่อยุคหมู่บ้านเกษตรกรรมและกสิกรรมก่อนประวัติศาสตร์"
World Ocean Day 2018, 8 June : ทะเลดี ชีวีมีสุข
ฝากไว้ในแผ่นดิน 140 ปี บี.กริม
Amazing Muay Thai Champion 2018
ฉลอง 190 ปี วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
Clarinet Solo by Raffaele Bertolini
พระมหากษัตริย์องค์ใหม่แห่งสยาม- 5พ.ค.2493
๒๖๐๐ ปี ปฐมภิกษุณีในพุทธศาสนา
๑๔๓ ปีพิพิธภัณฑ์ไทย...๑๙ ก.ย. ๒๕๖๐
คเณศจตุรถี ครั้งที่ 10
จากบ้านนาด้วยรัก
แม่น้ำเจ้าพระยา...สู่มรดกโลก
ระลึกถึงเลดี้ไดอาน่า
Ottoman Empire Music - It's Rose, Rose
แหลม ผู้จัดกวน : ไข่จ๋า...สารสาสน์วิเทศบางบัวทอง
ประธานสภากวีโลกชาวไทย : ดร.มนตรี อุมะวิชนี
บ้านท่านทูตสหรัฐฯ ที่กรุงเทพฯ
The Winner
Amazing Oriental Music - FARAN ENSEMBLE
แหลม ผู้จัดกวน : นำ้ตาปักษ์ใต้
แหลมปรี๊ดด์ : หอมกลิ่นไอดิน



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM