ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


Krungthai COMPASS ชี้ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โตรับ BCG economyและสร้างโอกาสแก่ชุมชน
Krungthai COMPASS ชี้ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
โตรับ BCG economyและสร้างโอกาสแก่ชุมชน
 
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ ขนาดเล็กมากหรือ VSPP มีแนวโน้มเติบโตจากการสนับสนุนของภาครัฐและตามกระแส BCG economy ซึ่งจะสร้างโอกาสการลงทุนแก่วิสาหกิจชุมชน รวมถึงผู้ประกอบการกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้า หรือกลุ่มที่มีวัสดุเหลือใช้
 
Krungthai COMPASS ชี้ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โตรับ BCG economyและสร้างโอกาสแก่ชุมชน
 
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า
 
ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ มีทิศทางขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากภายหลังการประชุม COP 26 ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น นอกจากนี้วิกฤตพลังงานในปัจจุบันที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ทำให้หลายประเทศรวมถึงไทยมีความกังวลด้านความมั่นคง และราคาพลังงาน 
 
โดยเร่งทบทวนแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อทดแทนไฟฟ้าที่ผลิตจากฟอสซิล อาทิ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งในปี 2021 ทั่วโลกมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะที่ 1.4 แสนเมกะวัตต์ โดยในจำนวนนี้มาจากเอเชียมากที่สุดราว 39% ของกำลังการผลิตของโลก และในช่วงปี 2021-2025 กำลังการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะทั่วโลกมีแนวโน้มเติบโต 5.7%ต่อปี
 
“วิกฤตพลังงานโลกที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ จะกดดันให้ราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นต้นทุนหลักของการผลิตไฟฟ้าโดยรวมในไทยยืนอยู่ในระดับสูงนาน ดังนั้น การหันไปผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาต้นทุนรวมของการผลิตไฟฟ้าในไทยได้ ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติในไทยมีต้นทุนสูงถึง 3.3 บาท/หน่วย ขณะที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ อยู่ที่เพียง 0.7-2.3 บาท/หน่วย เท่านั้น”
 
นางสาวนิรัติศัย ทุมวงษา นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS  กล่าวว่า
 
สำหรับประเทศไทย ธุรกิจประเภทนี้มีแนวโน้มเติบโตดีจากการสนับสนุนของภาครัฐมาระยะหนึ่งแล้ว ซึ่งสะท้อนจากแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ ขยายตัวที่ 6% ในช่วงปี 2021-2037
 
โดยในปี 2037 ซึ่งเป็นปีที่สิ้นสุดแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ภาครัฐตั้งเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าที่ 7,077 เมกะวัตต์  เนื่องจากไทยมีศักยภาพด้านวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรซึ่งเป็นต้นทุนวัตถุดิบหลักของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ
 
“อย่างไรก็ดี ในระยะข้างหน้ามองว่า ภาครัฐจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก หรือ VSPP มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน ซึ่งริเริ่มโครงการเฟสแรกเมื่อปี 2019 เพื่อให้ตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าอย่างเต็มที่และสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ทั่วทุกพื้นที่ในไทยในระยะข้างหน้า เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังมีครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้อยู่ถึง 57,440 ครัวเรือน อีกทั้งโครงการดังกล่าวช่วยสร้างรายได้แก่ชุมชนด้วย เนื่องจากจะต้องใช้วัตถุดิบหรือวัสดุเหลือใช้จากในชุมชนเป็นหลักในการผลิตไฟฟ้า”
 
นายพงษ์ประภา นภาพฤกษ์ชาติ นักวิเคราะห์ ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS กล่าวเสริมว่า
 
จำนวนโรงไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะขนาด VSPP ในระยะ 5 ปีข้างหน้า (2021-2026) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกราว 430 แห่ง ในจำนวนนี้แบ่งเป็น ชีวมวลจำนวน 54 แห่ง ชีวภาพ 236 แห่ง และขยะ 140 แห่ง ตามลำดับ เมื่อพิจารณาศักยภาพและปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและขยะที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าหมุนเวียนแต่ละประเภทร่วมด้วย
 
พบว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยรวมมีทรัพยากรวัตถุดิบที่มากเพียงพอสำหรับผลิตไฟฟ้าตามเป้าหมายของแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ขณะที่ โรงไฟฟ้าชีวภาพและโรงไฟฟ้าขยะ ปัจจุบันมีเชื้อเพลิงที่มีศักยภาพไม่เพียงพอถึงปี 2037 ดังนั้นผู้ที่สนใจจะสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวควรเตรียมความพร้อมด้านเชื้อเพลิงจากทั้งสองกลุ่มนี้
 
“การลงทุนตั้งโรงไฟฟ้าชีวมวล-ชีวภาพ-ขยะ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับมลภาวะทางอากาศจากหลายภาคส่วน โดยเฉพาะชุมชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า เนื่องจากโรงไฟฟ้าในกลุ่มนี้มีการปล่อยฝุ่นละออง ขี้เถ้า เขม่า และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้โรงไฟฟ้าในไทยได้แก้ปัญหาดังกล่าวโดยการนำเอาเทคโนโลยีการดักจับฝุ่นละอองมาใช้ เพื่อควบคุมปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 และเขม่า ให้เป็นตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว”
 
ส่วนในระยะข้างหน้าคาดว่า กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมของทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยจะให้ความสำคัญกับการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อย่างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันที่ใช้ในโรงไฟฟ้าในไทยไม่สามารถดักจับได้ ดังนั้น อาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ อย่าง carbon capture ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าลงทุนสูงมาก จึงต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
 
Krungthai COMPASS ชี้ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน โตรับ BCG economyและสร้างโอกาสแก่ชุมชน
 
 
 
 
 
 
 
 


ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




Energy4All

EXIM BANK สนับสนุนกลุ่มเสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ
เนสท์เล่ไอศกรีม เดินหน้าสู่การผลิตด้วยพลังงานทดแทน 100% จับมือ กฟผ.ซื้อพลังงานสะอาดแบบเจาะจงแหล่งที่มา เป็นรายแรกของธุรกิจ FMCG ในไทย
ซุปเปอร์แนป (ประเทศไทย) เดินหน้าสร้างความยั่งยืน ด้วยพลังงานสะอาดจากแสงอาทิตย์
เมกาบางนา จับมือ อีโวลท์ และ ปอร์เช่ ประเทศไทย เปิดให้บริการสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า 9 ช่อง จอดในศูนย์การค้าเมกาบางนา
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค จับมือพี.เอ็ม.ไฮเทค เสริมประสิทธิภาพระบบควบคุมและป้องกันสถานีไฟฟ้า ของ PEA
โออาร์ จัดงาน Inclusive Growth Days empowered by OR
GPSC โชว์โมเดลบริหารจัดการขยะครบวงจรแห่งแรก จ.ระยอง
NPS เผยผลประกอบการ 2563 “นิวไฮ”
“ศูนย์กระจายสินค้า บางนา-ตราด” ของ เฮเฟเล่ ประเทศไทย ได้ใบรับรอง “DGNB” อาคารอนุรักษ์พลังงาน
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เริ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการผลิตรถยนต์
ร่วมเป็นเจ้าภาพในงานสวดพระอภิธรรมศพ มนูญ ศิริวรรณ
เครือข่ายสื่อมวลชนฯ ประสบความสำเร็จ พร้อมเชื่อมชุมชนมีส่วนร่วมนโยบายภาครัฐ
เครือข่ายสื่อฯ ร่วมเสียใจการจากไปของ “มนูญ ศิริวรรณ” ผู้ทรงคุณค่าต่อวงการพลังงานไทย
เปิดศูนย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุแห่งแรกของ กทม.
ตัวแทนสื่อพร้อมทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ด้านพลังงานทางเลือกจากแสงอาทิตย์และขยะ
“มนูญ ศิริวรรณ” ชี้ทิศทางพลังงานหลังวิกฤตโควิด19
เครือข่ายสื่อมวลชนเยียมชมโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม
คณะกรรมาธิการการพลังงานฯ เยี่ยมชมโรงงานกลุ่มบริษัทโชคนำชัย
เครือข่ายสื่อมวลชนฯ เยี่ยมชมกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ไทรหลวง
เครือข่ายสื่อมวลชนไทยฯ จัดประชุม ครั้งที่ 4 ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่
เครือข่ายสื่อมวลชนไทยฯ จัดประชุม ครั้งที่ 3 จังหวัดอุบลราชานี
เครือข่ายสื่อมวลชนไทยฯ จับมือเดินหน้าจัดประชุม ครั้งที่ 2 จังหวัดสงขลา
กกพ. จัดตั้งเครือข่ายสื่อมวลชนไทย เดินหน้าสร้างการมีส่วนร่วมพลังงานไฟฟ้าสะอาด
เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นพลังงาน กับ “โรงแรมไฮโดรเจน” แห่งแรกของโลก



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM