ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ค้นหาบทความ / Article Search

dot


The45thBIMS2024
WorkshopPhotography
UranusV-Reflection
Thainess Capital
Comme c’est bon
nawarat
IconM
THE THAI REAL ESTATE ASSOCIATION
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
AREA
ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
สมาคมการผังเมืองไทย
icons
Realist
Smart Living
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมาคมธนาคารไทย
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
ธนาคารแห่งประเทศไทย
TAT
ATTA
Tourism Council of Thailand (TCT)
The Royal Automobile Association of Thailand under Royal Patronage
The Thailand Automotive Institute (TAI)
MotorExpo2023
BIMS2023
MotorExpo2022
BIMS2022
Motor Show 2019
MotorExpo2020
MotorExpo2019
MotorExpo2018
Food4Change
มูลนิธิสุขภาพไทย
Thaicityfarm
Thai Green Market
Center Market
Sustainable Agriculture
Agri-nature Foundation
Sustainable Agriculture Foundation (Thailand)
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กรมหม่อนไหม
กรมส่งเสริมอุสาหกรรม
Thai Textile
SACICT
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มูลนิธิก้าวไกลในเอเชีย
IconM
IconM News : G+
Oknation-lumnamsiam
Tarot Life Coach


ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ จากพระมหาชนก

ถอดรหัส ๙ วิธีฟื้นฟูชาติ จากพระมหาชนก

โดย อาจารย์ยักษ์ มหาลัยคอกหมู

(เครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง

http://www.agrinature.or.th/

1 กันยายน 2010 เวลา 16:11 น.

คอลัมน์  “พอ” แล้วรวย, หนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" : พฤศจิกายน 2552

 

ถอดรหัส 9 วิธีฟื้นฟูชาติ

 

“นับแต่อุปราช จนถึงคนรักษาช้างรักษาม้า และนับแต่คนรักษาม้าจนถึงอุปราช

และโดยเฉพาะเหล่าอมาตย์ ล้วนจารึกในโมหภูมิทั้งนั้น

พวกนี้ขาดทั้งความรู้วิชาการ ทั้งความรู้ทั่วไป คือความสำนึกธรรมดา

พวกนี้ไม่รู้แม้แต่ประโยชน์ส่วนตน พวกนี้ชอบผลมะม่วง แต่ก็ทำลายต้นมะม่วง...”

ข้อความตอนหนึ่งจากบทพระราชนิพนธ์พระมหาชนกที่เปรียบเสมือน “เสียงเตือนสติ” ให้กับสังคมไทยว่า การหลงอยู่ใน “โมหภูมิ” ที่ไม่รู้แม้แต่ประโยชน์ที่ตนได้จากทรัพยากร และการแก่งแย่งดูดกลืนทรัพยากรจนขาดสติถึงขั้นถอนราก ตัดโค่น ทำลาย ทั้งต้นไม้ ดิน น้ำ อากาศ ที่เปรียบดังต้นมะม่วงนั้น ที่สุดคือการ ทำลายตนเอง

 

ข้อคิดที่ทรงคุณค่าอีกประการหนึ่งจากบทเรียน ต้นมะม่วงที่ให้ไว้กับพสกนิกร คือ ทรัพย์สินที่มีค่า หากอยู่ท่ามกลางคนเขลา เบาปัญญา ก็มีสิทธิ์หมดไป หรือ ถูกทำลายไปในที่สุด

หากต้นมะม่วงเปรียบเสมือนสังคมไทย ณ ขณะนี้ ก็เป็นต้นมะม่วงที่กำลังถูกถอนราก

ผู้คนพากันรุมกินรุมทึ้ง ดอกผลที่มีอยู่เกือบหมด

และกำลังจะกลายเป็นซากต้นมะม่วงที่ไม่สามารถให้ดอกผลได้อีกต่อไป

การจะทำให้ต้นมะม่วงกลับมามีชีวิตใหม่ไม่เพียงแต่ต้องรู้วิทยาการในการฟื้นฟู แต่ยังต้องเป็นหน้าที่ เป็นสำนึกของทุก ๆ คนในสังคม

ดังพระราชดำรัสของพระมหาชนกที่กล่าวเพิ่มเติมว่า

“ทุกบุคคลจะเป็นพ่อค้าวาณิชย์ เกษตรกร กษัตริย์ หรือสมณะ ต้องทำหน้าที่ทั้งนั้น ก่อนอื่นเราต้องฟื้นฟูต้นมะม่วงที่มีผล”

พร้อมทั้งเสนอ ๙ วิธีในการฟื้นฟูต้นมะม่วง ดังนี้ 

๑ เพาะเมล็ดมะม่วง

๒ ถนอมรากที่ยังมีอยู่ให้งอกรากใหม่

๓ ปักชำกิ่งที่เหมาะแก่การปักชำ

๔ เอากิ่งดีมาเสียบยอดของต้นไม้ที่ยังไม่มีผลให้มีผล

๕ เอาตามาต่อกิ่งของอีกต้น

๖ เอากิ่งมาทาบกิ่ง

๗ ตอนกิ่งให้ออกราก

๘ รมควันต้นที่ไม่มีผลให้ออกผล

๙ ทำชีวาณูสงเคราะห์

  

๙ วิธีดังกล่าวในการฟื้นฟูมะม่วงนอกจากจะใช้ได้ ในเชิงมิติที่เป็น “กายภาพ” ที่หมายถึงการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม ต้นหมากรากไม้แล้วยังสามารถนำเอามาประยุกต์ได้อย่างยอดเยี่ยมในมิติของการฟื้นฟู “สังคม” และ “คน” ดังนี้

 

๑. เพาะเมล็ด คือการนำเมล็ดแต่ละเมล็ดมาเพาะให้เติบโตเป็นต้นกล้า จากต้นกล้าเติบโตเป็นต้นไม้ที่แข็งแรงต่อไป เปรียบเสมือนการเอาสมาชิกรุ่นเยาว์แต่ละคนมาอบรมบ่มเพาะให้การศึกษา ใส่ปัญญา ใส่ความรู้ คุณธรรมตั้งแต่เยาว์วัย ให้สามารถเติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่รู้ผิดชอบชั่วดี สามารถยืนหยัดท่ามกลางกระแสมิจฉาทิฐิได้อย่างมั่นคง

ใน ๙ วิธีของการฟื้นฟูต้นมะม่วง การเพาะเมล็ดถือเป็นวิธีที่ ๑ ที่ถือว่ามีความสำคัญที่สุด เพราะเมล็ดที่แข็งแรงสามารถถูกขยายให้เป็นพันธุ์ที่แข็งแรงได้ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบเสมือน เยาวชนต้นกล้า ของสังคม หากแข็งแร็ง ได้รับการปลูกฝัง คุณธรรมความรู้จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ก็จะสามารถขยายผล ผลิต เยาวชน ที่เป็น ต้นกล้าแห่งความดีงามได้ไม่มีที่สิ้นสุด 

และผู้ใหญ่ที่เติบโตจากเมล็ดพันธุ์แต่ละเม็ดก็จะขยายรากเป็น “รากแก้ว” เป็นฐานยึดที่แข็งแรง ให้ร่มเงาแห่งความร่มเย็นแก่สังคมได้อย่างมั่นคง ถาวร

 

๒. ถนอมรากที่ยังมีอยู่ให้งอกรากใหม่ ในมิติของการฟื้นฟูสังคม คือ การรักษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา คุณค่าอันดีงามที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษให้คงอยู่ เป็นสายใยยึดโยงเกาะเกี่ยวผู้คนในสังคมเข้าด้วยกัน

สังคมที่ขาดประวัติศาสตร์ ไร้วัฒนธรรม เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไร้ราก ไม่อาจ ต้านทานกระแสลมที่กรรโชก การกัดเซาะ และกัดแทะจากภายนอกได้

หากรากดียังมีอยู่ จำเป็นที่ต้องถนอมรากให้ดีและให้เร็ว เพื่อให้รากนั้นทำหน้าที่เป็นฐานปกป้องไม่ให้ต้นไม้ล้มครืนได้ง่าย ๆ

รากดี ๆ ของสังคมไทยที่จำเป็นต้องได้รับการถนอมอย่างเร่งด่วน คือ รากของ การแบ่งปัน การให้ การไม่เบียดเบียน

หากรากนี้ถูกถอนโค่นและแทนที่ด้วยจิตสำนึกของการ ล่า มือใครยาวสาวได้สาวเอา แห่งทุนนิยมได้ เมื่อไหร่ เราคงเห็นต้นไม้ “ประเทศไทย” ล้มครืนไป

เมื่อนั้น

 

๓. ปักชำกิ่งที่เหมาะแก่การปักชำ ต้นไม้มีกิ่งที่ดีแข็งแรงเหมาะแก่การปักชำให้เป็นต้นใหม่ และมีกิ่งที่ไม่เหมาะแก่การปักชำ สังคมก็เช่นกันมีทั้งที่เป็นคนดี และคนไม่ดี กิ่งดีสมควรนำเอามาปักชำใหม่เช่นไร คนดีก็ควรได้รับการทำนุบำรุง ส่งเสริม เพื่อให้สามารถสร้างประโยชน์ในที่ต่าง ๆ ได้เช่นนั้น สำหรับกิ่ง หรือ “คน” ที่ไร้ประโยชน์ ก็ไม่ควรถูกนำมาปักชำขยายผลต่อ เพราะรังแต่จะสูบกิน ดูดใช้ แย่งชิงอาหารของ ต้นไม้ดี ทำให้ต้นไม้ “ดี” ต้องอ่อนแรง หรือต้อง “ตาย” ไปในที่สุด

 

๔. เอากิ่งดีมาเสียบยอดของต้นไม้ที่ยังไม่มีผลให้มีผล คือการ เสริม คนดี ให้มีอำนาจเหนือคนโง่ คนไร้ปัญญา จนสามารถ แผ่อิทธิพลคุณธรรม ปกครองคนโง่เขลา และเปลี่ยนแปลงขัดเกลาคนโง่ได้

 

๕. เอาตามาต่อกิ่งของอีกต้น คือการเอา ความรู้ใหม่ ๆ โลกทัศน์ วิธีคิดใหม่ ๆ ความคิดดี ๆ ที่เป็นประโยชน์มาให้กับคนที่ยังงมงาย คนที่ยังอยู่ในอบาย โดยหวังว่า “ตา” ดีที่ติดใหม่นั้นจะ “สร้าง” “ต่อยอด” “เปลี่ยนแปลง” เอาความคิดเก่า ๆ ที่ไร้ประโยชน์ออกไปได้ เมื่อได้ตาที่ดีก็หวังได้ว่าจะมียอดที่ดีเกิดขึ้นตามมา

 

๖. เอากิ่งมาทาบกิ่ง หรือหลักการ assimilation คือการประสานเชื่อมร้อยพลังของ “คนดี” เข้าด้วยกัน เอา “เรื่องดี ๆ” มาผูกโยงเข้าด้วยกัน องค์กรดี ๆ คนดี ๆ เข้ามาอยู่เป็นเครือเดียวกัน มาเป็นพวกกันที่สามารถ ก่อพลัง เป็นต้นแบบ รวมทั้งเป็นพลังที่สามารถ สยบ ความไม่ดีได้

 

๗. ตอนกิ่งให้ออกราก คือการนำเอากิ่งที่ยังแข็งแร็งอยู่มาตอน รอให้ออกรากจึงนำไปปลูกใหม่ เสมือนการสร้างเสริม “คนดี” ให้มีความมั่นคงแข็งแรงพอ เพื่อที่จะสามารถขยับขยายไป สร้างรากฐานในที่ ๆ ใหม่ได้ด้วยตัวของตัวเอง

 

๘.รมควันต้นไม้ที่ไม่มีผลให้ออกผล โดยธรรมชาติของต้นไม้ เมื่อมันอยู่ในสภาวะที่ถูกบีบบังคับ หรือถูกทำให้เครียด เช่น ถูกรมควัน หรือ ไม่ให้น้ำ มันจะออกดอกออกผลเพื่อรักษาเผ่าพันธุ์ให้ดำรงอยู่ ในทางสังคมก็เช่นเดียวกัน กลุ่มคนบางกลุ่มจำเป็นต้องใช้วิธี “บีบบังคับ” เพื่อให้กระทำในสิ่งที่ควรกระทำ การเปลี่ยนแปลงนำพาสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ในบางสถานการณ์ก็ต้องใช้วิธี “ปฏิวัติ” เพราะการปฏิรูป อาจมิทันการ และคนบางคน กลุ่มคนบางกลุ่มก็ชอบ “ไม้เรียว” มากกว่า

 

๙. ทำชีวาณูสงเคราะห์ ในความหมายทางพืชพันธุ์หมายถึงการเพาะเนื้อเยื่อ คือการนำเอาเซลเนื้อเยื่อของต้นไม้ออกมาเพาะใหม่ซึ่งวิธีการนี้เราจะได้ กล้าใหม่ ในปริมาณทีละมาก ๆ ในทางสังคม ชีวาณูสงเคราะห์คือการเปลี่ยนแปลง การสร้างใหม่ ที่สามารถก่อผลสะเทือนได้ทีละมาก ๆ ซึ่งหมายถึงการใช้ “สื่อสารมวลชน” เพื่อเปลี่ยนจิตสำนึกในระดับ DNA เป็นที่ยอมรับอย่างไม่มีข้อสงสัยว่า “สื่อ” เป็นเครื่องมือที่ทรงอิทธิพลในการสร้าง ลบล้าง หรือเปลี่ยนแปลงวิธีคิด พฤติกรรมของคนได้อย่างมีพลัง จะให้คนเชื่อ หรือไม่เชื่อ คล้อยตามหรือไม่คล้อยตาม เอาแบบอย่างหรือไม่เอาแบบอย่าง สื่อ เป็นวิธีการ เพาะเนื้อเยื่อ ที่เร็ว แรง และในปริมาณที่มากที่สุด มากกว่าวิธีใด ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด

 

อิทธิพลของวัฒนธรรมเกาหลีผ่าน “แดจังกึม” ที่กำลังฝังรากอยู่ในสังคมไทย คงเป็นบทพิสูจน์อันดียิ่งของผลพวงการทำชีวาณูสงเคราะห์ การสร้าง DNA เนื้อเยื่อใหม่แห่งคุณธรรม ปัญญา จึงไม่อาจปฏิเสธอิทธิพลของสื่อได้ วิธีเดียวที่จะขจัด “สื่อโมหจริต” ที่กำลังแพร่เชื้อมะเร็งร้ายในสังคม คือการเร่งสร้าง “สื่อคุณธรรม” ให้เข้ามาแทนที่ให้เร็วที่สุด

 

 

 

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




Farm2Food

แม็คโคร บุกสวนทั่วไทย รับซื้อผลไม้ฤดูกาล กว่า 7,750 ตัน
กระทรวงศึกษาธิการจับมือ สคช. ยกระดับเกษตรกรไทยผ่านอาชีวะเกษตร
รองนายกวิษณุ คุณหญิงกัลยา เปิดงาน “จากศาสตร์พระราชา ผสานศาสตร์สากล สู่การพัฒนาชีวิตยั่งยืน”
“ครูกัลยา” ปล่อยคาราวานแจกกล้าไม้ ๔๗,๐๐๐ กล้า ๔๗ วิทยาลัยเกษตรฯ ทั่วประเทศ
‘พาณิชย์’ ระดมความเห็นการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
‘กรมเจรจาฯ’ เผย เอฟทีเอช่วยดันส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไทย
‘วีรศักดิ์’ เตรียมทัพพาณิชย์ลงพื้นที่อีสานใต้ ช่วยเกษตรกร SME
แม็คโครร่วมมือกับสถาบันโภชนาการมหิดล
แทรกเตอร์อัจฉริยะขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ
ปลื้มเกษตรกรภาคเหนือตอนล่างใช้ประโยชน์จาก FTA
ขยายตลาดสินค้าเกษตรไทยสู่ตลาดโลกด้วยเอฟทีเอ
ผนึกกำลังพันธมิตร บุกแม่ฮ่องสอน เสริมเกษตรกร เตรียมตลาดการค้าเสรี
เชิญประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา สู่ โคก หนอง นาโมเดล ภาคอีสานอย่างยั่งยืน
CITY FARM @SHENZHEN
596 ACRES : PLATFORM ต้นแบบ LAND SHARING กลางนครนิวยอร์ก
เทศกาลสวนผักคนเมือง 2019 ครั้งที่ 5
‘กรมเจรจาฯ’ จัดให้ความรู้เกษตรกรใช้ประโยชน์จาก FTA ประสบความสำเร็จ
เปิดศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ จ.กำแพงเพชร เรียนรู้ "โคกหนองนาโมเดล"
‘บิ๊กตู่’สาธุ! ‘แซมดิน-โพธิรักษ์’ ขอให้แข็งแรง เป็นนายกฯอีก 2-3 สมัย
10 ปีเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด กับการรวมตัวครั้งสำคัญ
เศรษฐกิจพอเพียง มุมมองจากฐานรากที่ต่างกัน



email : iconminfo@gmail.com / Copyright © 2016 All Rights Reserved.
IconM